เมื่อพูดถึง ดอกเบี้ยที่เป็นรายจ่าย ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยจากบัตรกดเงินสดหรือดอกเบี้ยจากสินเชื่อต่างๆ แน่นอนว่าล้วนมีความน่ากลัวไม่น้อยเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าจะมีโปรโมชั่นต่างๆทั้งแจกแต้ม มีของแถม มีของฝาก มีบินเที่ยวและเยอะแยะมากมายที่ออกมาให้ผู้ใช้บริการรู้สึกถึงความคุ้มค่า คุ้มราคา คุ้มเงินแล้ว แต่ไม่ว่าอย่างไรเราก็ยังคงเสียเปรียบกับทางธนาคารหรือเสียเปรียบกับสินเชื่อนั้นอยู่ดี
มีหลายคนที่รู้ซึ้งถึงความน่ากลัวของดอกเบี้ยแต่กว่าจะรู้ถึงความน่ากลัว ก็เผลอใช้บริการและปล่อยให้ความชะล่าใจสร้างพิษให้กับตัวเอง แต่ถึงไม่ว่าอย่างไรก็ตามบางครั้งสินเชื่อต่างๆ รวมถึงการกดเงินสดจากบัตรก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราได้อย่างมาก ด้วยการใช้ระบบสินเชื่อเมื่อเราจะทำการซื้อของที่มีราคาแพงและเราจะใช้เงินสดที่กดจากบัตร มาซื้อของเล็กๆน้อยหรืออาจจะมีราคาถึงปานกลางในกรณีที่เรานั้นมีเงินสดติดตัวไม่พอ เมื่อเราพูดถึงความสะดวกสบาย นับได้ว่าทั้งสองสิ่งนี้จะสามารถตอบสนองให้เราได้อย่างมากเลยทีเดียว แต่ถ้าใครที่ฟุ่มเฟือยรับรองได้เลยว่าฝันร้ายอย่างมากแน่นอน ซึ่งเรามีวิธีการคิดคำนวณดอกเบี้ยง่ายๆดังนี้
อ่านเพิ่มเติม >> วิธีคำนวณดอกเบี้ยกดเงินสดจากบัตรเครดิต <<
บัตรกดเงินสด
บัตรกดเงินสดที่กดได้จากบัตรเครดิต สร้างความสะดวกสบายให้เราเป็นอย่างมาก หลายๆครั้งที่คนส่วนใหญ่มักจะทำเงินหายหรือว่าไม่อยากพกเงินสดติดตัวไว้เยอะ การใช้บัตรกดเงินสดนั้นก็สามารถตอบสนองความสะดวกสบายตรงนี้ให้เราได้อย่างมากเลยทีเดียว แต่ไม่ว่าจะสบายแค่ไหนก็ตาม ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายนั้นมีปริมาณที่มากพอดูเลยล่ะ ยิ่งเรากดเงินสดออกจากบัตรกดเงินสดนั้นมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งปวดหัวกับเงินที่เราต้องจ่ายคืนมากขึ้นด้วยเท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าการคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัยของบัตรกดเงินสดอีกทั้งดอกเบี้ยที่สูงด้วยอัตราดอกเบี้ยที่คิดสูงสุด 20% ต่อปี มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องใช้เงินคืนมากกว่าเงินที่กดออกมาไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งเรามีวิธีการคิดง่ายๆดังนี้
หากตอนนั้นเราต้องการใช้เงินสัก 20,000 บาทซื้อตู้ที่สวยงามมาก อยากได้และหามานาน แต่เราไม่มีเงินสดติดตัวเลย แน่นอนว่าการกดเงินจากบัตรกดเงินสดคือสิ่งที่ตอบสนองในส่วนนี้ และมีดอกเบี้ย 20% ต่อปี และเราต้องการผ่อนหรือแบ่งจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เราเริ่มกดเงินวันที่ 25 มกราคม มีวิธีคิดดอกเบี้ยและเงินที่ต้องจ่ายง่ายๆดังนี้
เราจะทำการจ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 3 ของทุกเดือนถัดไป
( 3 กุมภาพันธ์) มีเงินต้น 20,000 บาท
- เดือนแรกเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 20000 x 20% x (15วัน/365) = 164.38 บาท
- ดังนั้นเราจะจ่ายเงินต้นรอบแรก 5000 + 164.38 = 5164.38 บาท
( 3 มีนาคม) เหลือเงินต้น 20,000-5,000 = 15,000 บาท
- เดือนที่สองเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 15000 x 20% x (29วัน/365) = 238.25 บาท
- ดังนั้นเราจะจ่ายเงินต้นรอบแรก 5000 + 238.25 = 5238.35 บาท
( 3 เมษายน) เหลือเงินต้น 15,000-5,000 = 10,000 บาท
- เดือนที่สามเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 10000 x 20% x (31วัน/365) = 169.86 บาท
- ดังนั้นเราจะจ่ายเงินต้นรอบแรก 5000 + 169.86 = 5169.86 บาท
( 3 พฤษภาคม) เหลือเงินต้น 10,000-5,000 = 5,000 บาท
- เดือนที่สามเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 5000 x 20% x (30วัน/365) = 82.19 บาท
- ดังนั้นเราจะจ่ายเงินต้นรอบแรก 5000 + 82.19 = 5082.19 บาท
ดังนั้นเมื่อรวมทั้งหมดแล้ว ตู้ราคา 20,000 บาท เราจ่ายเงินไปทั้งหมด 20,654.78 บาท เป็นดอกเบี้ย 654.78 บาท
สินเชื่อต่างๆ
เมื่อใดก็ตามที่เราต้องการสิ่งของบางอย่างที่เราไม่สามารถใช้เงินสดซื้อได้ อีกทางเลือกหนึ่งของใครหลายๆคนคือการใช้สินเชื่อซื้อของและมักจะผ่อนด้วยราคาที่ถูกที่สุดเสมอ ด้วยดอกเบี้ยที่ไม่สูงชวนให้อยากใช้สินเชื่อซื้อของอีกทั้งยังมีโปรโมชั่นต่างๆที่ดึงดูดใจ จึงทำให้ใครหลายๆคนเลือกที่จะใช้โดยที่ไม่ลังเล บางคนนั้นผ่อนมาตั้งนานหลายปีก็ยังไม่หมดเพราะเงินที่หายไปส่วนใหญ่จ่ายให้กับดอกเบี้ย หลายคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่าดอกเบี้ยคิดยังไง ทำไมเงินที่จ่ายไปให้ทุกเดือนรู้สึกเหมือนจะไม่ค่อยไปลดในส่วยของเงินต้นเท่าไหร่ เรามีวิธีคิดง่ายๆให้ดู
เราต้องการใช้เงินสัก 20,000 บาทซื้อตู้ที่สวยงามมาก อยากได้และหามานาน แต่เราไม่มีเงินสดติดตัวเลย แน่นอนว่าการกดเงินจากบัตรกดเงินสดคือสิ่งที่ตอบสนองในส่วนนี้ และมีดอกเบี้ย 4.5% ต่อปี และเราต้องการผ่อนหรือแบ่งจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เราเริ่มกดเงินวันที่ 25 มกราคม มีวิธีคิดดอกเบี้ยและเงินที่ต้องจ่ายง่ายๆดังนี้
เราจะทำการจ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 3 ของทุกเดือนถัดไป
( 3 กุมภาพันธ์) มีเงินต้น 20,000 บาท
- เดือนแรกเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 20,000 x 4.5% x (15วัน/365) = 36.98 บาท
- เราจ่าย 5,000 จะเป็นเงินต้น 4,963.02 บาท เป็นดอกเบี้ย 36.98 บาท
( 3 มีนาคม) เหลือเงินต้น 20,000-4,963.02 = 15,036.98 บาท
- เดือนที่สองเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 15,036.98 x 4.5% x (29วัน/365) = 53.76 บาท
- เราจ่าย 5,000 จะเป็นเงินต้น 4,946.24 บาท เป็นดอกเบี้ย 53.76 บาท
( 3 เมษายน) เหลือเงินต้น 15,036.98-4,946.24 = 10090.74 บาท
- เดือนที่สามเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 10,090.74 x 4.5% x (31วัน/365) = 38.56 บาท
- เราจ่าย 5,000 จะเป็นเงินต้น 49,61.43 บาท เป็นดอกเบี้ย 38.56 บาท
( 3 พฤษภาคม) เหลือเงินต้น 10090.74 -4961.43 = 5129.31 บาท
- เดือนที่สี่เราจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 5129.31 x 4.5% x (30วัน/365) = 18.97 บาท
- เราจ่าย 5,000 จะเป็นเงินต้น 4981.02 บาท เป็นดอกเบี้ย 18.97 บาท
( 3 มิถุนายน) เหลือเงินต้น 5129.31 – 4981.02 = 148.29 บาท
- เดือนที่ห้าเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 148.29 x 4.5% x (31วัน/365) = 0.56 บาท
- เดือนสุดท้ายเราจะจ่ายเพียงแค่ 148.29+0.56 = 148.85 บาท
ดังนั้นเราจะเงินไป 20,148.85 บาท และรวมดอกเบี้ยทั้งหมด 148.85 บาท
แต่ในชีวิตจริงเราเสียเงินซื้อของที่ราคามากกว่า 20,000 บาทและเลือกผ่อนนานๆแน่นอน
จะเห็นได้ว่าเงินดอกเบี้ยนั้นเยอะไม่น้อยเลยทีเดียว สำหรับบางคนอาจจะดูเหมือนน้อยเมื่อนำเงินดอกเบี้ยเทียบกับเงินต้น แต่เมื่อใดก็ตามที่เราเลือกที่จะผ่อนน้อยๆหรือจ่ายแต่ละงวดน้อยๆนั้น เราก็จะเสียค่าดอกเบี้ยที่เยอะมากอย่างแน่นอน และที่สำคัญต้องจ่ายหลายงวดด้วย ทางที่เราดีเมื่อใดก็ตามที่เรารู้ว่าเป็นหนี้ เราควรที่จะใช้คืนให้หมดไวๆ
สนใจ สมัครบัตรกดเงินสด สักใบ >> คลิกเลย << ฟรีค่าธรรมเนียมกดเงินสด!
หรือ ต้องการเงินก้อน ผ่อนนาน ต้อง สินเชื่อส่วนบุคคล >> สมัครเลย <<