ข้อตกลง TPP คือหุ้นส่วนยุทธ์ศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นที่เอเชีย โดย TPP มีชื่อเต็มว่า Trans-Pacific Partnership แน่นอนว่าข้อตกลง TPP ที่สหรัฐอเมริกาสามารถบรรลุ ข้อตกลงการค้าเสรี ได้นั้นประกอบไปด้วย 11 ประเทศด้วยกันคือ แคนาดา เม็กซิโก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลีและเปรู ประเทศต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นทางเรื่องของการส่งออกไม่น้อยเลยทีเดียว
TPP นี้มีจุดประสงค์หลักคือการลดภาษีด้านเศรษฐกิจรวมไปถึงอุปสรรคต่างๆทางการค้าทั้ง 11 ประเทศนี้หรือพูดง่ายๆคือมีวัตถุประสงค์ในด้านเศรษฐกิจ แน่นอนว่าเมื่อมีการลดอุปสรรคทางด้านการค้า ด้านการส่งออก รวมไปถึงด้านภาษีด้วยแล้ว 11 ประเทศนี้จะสามารถเพิ่มมูลค่าระหว่างกันได้น่ากลัวมากเลยทีเดียว ซึ่งข้อตกลงทางด้านเศรษฐกิจนี้ยังมีข้อตกลงอื่นๆอีกด้วยทั้งในด้านสิทธิบัตร นโยบายการแข่งขันรวมไปถึงด้านสิ่งแวดล้อม
แน่นอนว่าสร้างด้วยแนวคิดที่ว่าจะสร้างการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา โดยเริ่มแรกนั้นเริ่มจากปี ค.ศ. 2006 ที่มีชิลี บรูไน นิวซีแลนด์และสิงคโปร์ ที่ได้ตกลงกันในนาม P4 ขึ้นมา ด้วยวัตถุประสงค์หลักคือเพิ่มความสะดวกในการค้าขายทั้งส่งออกและนำเข้า โดยเป็นการตกลงการค้าเสรีครั้งแรกที่ประเทศสมาชิกมีทั้งทวีปเอเชียและอเมริกา ความสะดวกก็คือการลดภาษีนำเข้ากว่า 90% เมื่อมีการลดภาษีเกิดขึ้น แปลว่าต้นทุนก็ถูกลงอย่างมาก จึงทำให้เกิดการส่งออกนำเข้าที่มากขึ้น หลังจากนั้นไม่นานก็ได้ขยายข้อตกลงไปสู่อเมริกาและตามด้วย แคนาดา เม็กซิโก ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย จนมาสู่ที่คำว่า TPP ในที่สุด TPP ไม่ได้เป็นเพียงการตกลงการค้าเสรีธรรมดานะแต่เป็นข้อตกลงที่มีอาณาเขตไกลถึงคาบสมุทรแปซิฟิกกันเลยทีเดียว จึงมีความเป็นการค้าเสรีที่ใหญ่มาก ที่น่ากลัวไปมากกว่านั้นคือ TPP ของ 11 ประเทศนี้รวมกันเท่ากับ 40% ของ GDP โลก และที่สำคัญที่สุด 11 ประเทศนี้มีหลายประเทศที่เป็นผู้ส่งออกหลักของสินค้าระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีหรือสิ่งของอื่นๆ
ในตอนนี้ TPP ได้บรรลุแล้วนะแต่ยังไม่ลงนามเพราะต้องให้ผู้นำแต่ละประเทศกลับไปหารืออกันก่อน รายละเอียดของ TPP ยังเป็นความลับยังไม่มีการเปิดเผยว่าจะลดภาษีของสินค้าอะไร ลดเยอะเท่าไหร่และมีเงื่อนไขอื่นๆอีกหรือไม่ แต่ในด้านสหรัฐอเมริกา TPP กลับถูกต่อต้านและคัดค้านอย่างหนักเลยทีเดียว
ความน่ากลัวของ TPP อยู่ที่การสนับสนุนกันในระหว่างประเทศสมาชิกและในตอนนี้ยังไม่มีใครกล้าฟันธงว่าจะเกิดอะไรขึ้น มาแต่พยายามที่จะเดาสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆถึงประโยชน์ระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งความสามารถในการส่งออกของประเทศออสเตรเลียที่สามารถส่งออกน้ำตาลไปยังสหรัฐหรือจะส่งเนื้อวัวไปยังญี่ปุ่นได้อย่างอิสระ การส่งสินค้าจำพวกอิเล็คทรอนิคส์จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งอย่างไรก็ตามความน่ากลัวไม่ได้อยู่ที่ภาษีที่ลดลงเพราะไม่ว่าอย่างไร ภาษีก็มีการลดตลอดอยู่แล้ว แต่ด้วยประเทศสมาชิกทางฝั่งสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ที่มีความได้เปรียบในการวางแผนด้านนี้และชิลี เปรู เวียดนามก็เก่งการผลิตสินค้าต่างๆและเพียงแต่ในด้านกลยุทธ์วางแผนหรือด้านสินค้าต่างๆเท่านั้น การท่องเที่ยวรวมไปถึงบริการต่างๆนั้นก็น่ากลัวอย่างมากเลยทีเดียว
ถ้าถามว่า TPP กระทบประเทศไทยเยอะหรือเปล่า
ตอบได้เลยว่ามากถึงมากๆเลยล่ะ ด้วยสินค้าส่งออกของไทยหลายๆอย่างที่สอดคล้องกับสินค้าที่กลุ่มประเทศสมาชิก TPP ได้ส่งออกมาแข่งขันนั้น ด้วยสินค้าเกษตรที่เรากำลังแข่งขันกับประเทศเวียดนามกันอยู่และที่สำคัญในตอนนี้นั้น ประเทศเวียดนามกับประเทศไทยมีการส่งออกที่ใกล้เคียงกันถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการส่งออกสินค้าทางการเกษตรบางอย่างที่สูงกว่าเวียดนาม แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ประเทศในกลุ่ม TPP หันมานิยมค้าขายกันเองหรือเมื่อมีการนำเข้าสินค้าโดยไม่รับสินค้าที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกันจากประเทศอื่น ซึ่งในกลุ่ม TPP แน่นอนว่าสินค้าจากเวียดนามย่อมถูกกว่าของไทยเมื่อเทียบกันที่ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือสินค้าทางการเกษตรที่เป็นสมาชิก TPP อยู่ จึงทำให้ไทยได้รับผลกระทบในเชิงลบอย่างหนักเพราะการนำเข้าสินค้าจากไทยจะลดลง
แต่ไทยก็ไม่ได้เพิกเฉยเท่าไหร่ มีการคิดวางแผนถึงผลกระทบเมื่อเข้าร่วมกลุ่ม TPP และถ้าไม่เข้าร่วม TPP จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเราไม่เข้าร่วม อาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยลดลงจากการเสียส่วนแบ่งในตลาด และมูลค่าการค้าขายกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้อัตราภาษีในอัตราพิเศษกับประเทศที่กำลังพัฒนาหรือที่เรียกว่า GSP โดยที่ผ่านมาไทยถูกสหภาพยุโรปและตุรกีตัดสิทธิ GSP ไปแล้ว ถ้าเกิดประเทศไทยถูกสหรัฐอเมริกาตัดสินอีกหนึ่งประเทศ ไทยคงลำบากไม่น้อยเลยทีเดียวและยิ่งไม่เข้า TPP ด้วยแล้ว เมื่อโดนสหรัฐตัด GSP เราก็จะลำบากอย่างมากเลยทีเดียว
แต่ TPP ไม่ใช่ทุกอย่าง ตอนนี้ไทยมีความสนใจที่จะเจรจาการค้าเสรีร่วมกันกับหลายๆประเทศในปัจจุบัน เช่น ปากีสถาน อิหร่านและตุรกี รวมไปถึงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภูมิภาคหรือที่เรียกกันว่า RCEP มาจากการพัฒนา ASEAN +6 โดยที่ประกอบไปด้วย 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียนและรวมไปถึง อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิซีแลนด์ ประเทศไทยอย่างเรานี้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากเพราะถ้าหาก RCEP นั้นสำเร็จ สามารถบรรลุได้แล้ว รับรองได้เลยว่า RCEP จะยิ่งใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่า TPP แน่นอน ด้วยการวัดจากขนาดของเศรษฐกิจและการครอบคลุมพื้นที่จำนวนมากรวมไปถึงประชากรที่อยู่ในประเทศสมาชิกอย่างมากเลยทีเดียว