ช่วงนี้คุณหน่อยเตรียมตัวที่จะลงทุนอยู่ แต่ดูเหมือนว่าคุณหน่อยจะยังมีความลังเลอยู่บ้างว่าจะลงทุนในอะไรดี เพื่อนที่น่ารักอย่างคุณแมนเลยมาช่วยเตรียมความพร้อม ก่อนลงทุน ในเบื้องต้นให้กับคุณหน่อยกัน ซึ่งคุณแมนก็ได้พกพาความรู้ดีๆมาฝากคุณหน่อยกัน มีอะไรบ้างนั้นมาดูก่อนเลย
คุณแมน : ว่าไงบ้างคุณหน่อย เห็นพี่สาวของคุณหน่อยบอกว่าคุณหน่อยเตรียมจะลงทุนอยู่หรอครับ เขาบอกว่าคุณมีปัญหานิดหน่อย ผมเลยแวะเข้ามาดูเสียหน่อย
คุณหน่อย : โอย ปัญหาใหญ่เลยล่ะค่ะ ยังไม่รู้เลยค่ะว่าจะลงทุนในอะไรดี มีความความตั้งใจว่าจะลงทุนเท่านั้นแหล่ะค่ะ นี่หน่อยว่าตัวเองไม่พร้อมเลย กลัวพังไม่เป็นท่ามากกว่า ไม่รู้จะลงทุนอะไรดี แล้วจะเริ่มอย่างไรดี เฮ้อ!! คิดแล้วกลุ้มจริงๆ
คุณแมน : 555 ถ้าอย่างนั้นลองมาทำ check list เตรียมตัวให้พร้อมก่อนการลงทุนกันดีไหมครับ ง่ายๆเองแค่ 3 ข้อเท่านั้นไม่เกิน 3 นาที ซึ่งจริงๆมันก็ไม่ใช่ check list ที่เป็นกิจลักษณะอะไรหรอกครับ แต่เราต้องมีก่อนการลงทุนเท่านั้นเอง เพราะจะทำให้เราวางแผนการลงทุนได้ง่ายขึ้น แถมยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วยนะครับ
คุณหน่อย : มาเลยค่ะ อะไรช่วยหน่อยได้ตอนนี้หน่อยทำหมดเลยค่ะ ขอแค่ให้การลงทุนของหน่อยเป็รูปธรรมขึ้นมา และประสบความสำเร็จในการลงทุนก็พอ
คุณแมน : งั้นเริ่มคำถามแรกเลยนะครับ คุณหน่อยมีเงินพร้อมไหมครับ เพราะตัวทุนที่เราจะเอาไปลงทุนเนี่ยไม่ใช่ว่าแค่พอดีกับการลงทุนนะครับ แต่ต้องให้เหลือเผื่อเหตุฉุกเฉินด้านการลงทุนด้วย ยิ่งมีเงินมากเท่าไหร่โอกาสในการลงทุนของเราก็จะเปิดกว้างมากขึ้นด้วยนั่นเอง แล้วเงินที่เราเรียกว่ามันเป็นทุนที่ดีเนี่ยต้องเป็นเงินที่เราสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตทั่วไปด้วยนะครับ เงินที่มันต้องมีที่ไปใช้จ่ายเนี่ยไม่นับครับ ไม่ว่าจะเป็นรายจ่ายในปัจจุบันหรือรายจ่ายในอานคตก็ตาม หรือจะใช้เงินจากการลงทุนอื่นๆที่ไม่ได้อยากลงทุนตรงนั้นแล้วอันนี้พอได้อยู่ครับ แต่ถ้าอยากลงทุนตรงนั้นอยู่ก็ไม่แนะนำให้เอามาใช่นะครับ เอาเป็นว่าง่ายๆ เลย ตอนนี้คุณหน่อยมีเงินสำหรับการลงทุนมากน้อยเท่าไหร่เอ่ย
คุณหน่อย : อันนี้มีอยู่ค่ะ พี่สาวก็บอกมาประมาณนี้เหมือนกัน แต่ตอนแรกว่าจะดึงเงินประกันออกมา แต่ฟังคุณแมนพูดแล้วไม่ดึงออกมาดีกว่า เผื่อเจ็บป่วยจะได้มีประกันไว้ ความจริงเงินที่เตรียมไว้มันก็ไม่มากเท่าไหร่ แต่หน่อยคิดว่ามันก็น่าจะพอสำหรับการลงทุนอยู่ค่ะ
คุณแมน : ดีครับ ร่างกายก็สำคัญครับ งั้นผมไปเรื่องที่สองเลยนะครับ เรื่องความรู้ การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงครับ หากเราเสียเวลาอีกนิดนึงเพื่ออดทนทำความเข้าใจกับการลงทุนนั้นมากขึ้นอีกนิด อาจจะลดผลเสียจากความเสี่ยงของการลงทุนได้มากเลยทีเดียว อีกอย่างความรู้พวกนี้มันไม่ตายตัวครับ มันมีการอัพเดทอยู่เรื่อยๆเราก็ต้องอัพเดทตามไปด้วย ทั้งความรู้และข่าวสารต่างๆ แถมเราต้องดูและวิเคราะห์ได้ด้วยว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่ดีและข้อมูลใดที่ไม่ดี ว่าความเสี่ยงในการลงทุนนั้นคุ้มค่าที่เราจะลงทุนหรือไม่ด้วยครับ และที่สำคัญไม่ควรนำวิธีของคนอื่นมาใช้ในการลงทุนทั้งหมด อาจจะนำมาเป็นแนวคิดได้บ้าง ส่วนวิธีการลงทุนนั้น ควรจะเริ่มที่ความถนัด และความเข้าใจจากตัวคุณหน่อยเองดีกว่า
คุณหน่อย : อันนี้หน่อยยังไม่ได้ลองเลยค่ะ เพราะหน่อยรู้จักแค่ประกันชีวิตเอง ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนอื่นๆ ยังติดลบอยู่เลย เฮ้อ แย่จัง
คุณแมน : จริงๆประกันก็มีหลายแบบนะครับ ทั้งแบบคุ้มครองสุขภาพแล้วก็ลงทุน คุณหน่อยลองไปหาข้อมูลดูนะครับ ถ้าสนใจการลงทุนอันไหนก็ลองลงทุนไปน้อยก่อนครับ เป็นการเก็บประสบการณ์คร่าวๆ เป็นบทเรียนจากการลงทุนที่ไม่มีใครถ่ายทอดให้กันได้ ฝึกทักษะในการวิเคราะห์การลงทุนและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เราสามารถพบเจอในการลงทุนด้วยตนเอง ซึ่งมันจะสร้างความแข็งแรงให้เราได้นะครับ ซึ่งคุณหน่อยยังไม่ได้ลองลงทุนอะไร ผมก็คงแนะนำได้เท่านี้แหล่ะครับ ซึ่งคุณหน่อยเองก็มีความรู้เกี่ยวกับประกันอยู่แล้ว จะลงทุนประกันก็ได้ แต่ถ้าอยากลงทุนอื่นๆ ก็แค่หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจก่อน พร้อมและชอบการลงทุนแบบไหน ก็เลือกการลงทุนนั้นได้เลย
คุณหน่อย : ขอบคุณมากค่ะ แค่นี้ก็ช่วยได้มากแล้วล่ะค่ะ ทีนี้ก็คงเป็นหน้าที่ของหน่อยแล้วสินะคะ ที่ต้องพิจารณาดูว่าจะลงทุนอะไรดี
คุณแมน : ไม่เป็นไรหรอกครับ แค่คุณหน่อยมีความตั้งใจจริงและมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน แน่นอนว่าอุปสรรคที่คุณหน่อยเจอระหว่างการลงทุนนั้นก็จะกลายเป็นเรื่องเล็กไปเลยล่ะครับ อีกอย่างการลงทุนมันมีทั้งการได้การเสียเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ผมไม่อยากให้คุณหน่อยคิดว่าการล้มเหลวไม่กี่ครั้งจะเป็นความล้มเหลวตลอดไป เพราะสิ่งที่แตกต่างของนักลงทุนแต่ละคนก็อยู่ที่ความตั้งใจของแต่ละคนเนี่ยแหล่ะครับ มีอะไรก็ลองปรึกษาพี่สาวคุณหน่อยหรือผมก็ได้ครับ ถ้าผมช่วยได้ก็จะช่วยเต็มที่เลยครับ
คุณหน่อย : ขอบคุณมากเลยค่ะ
คุณแมน : ไม่เป็นไรครับ ยินดีเสมอ
ทุกการลงทุน ควรเริ่มจากการลงทุนในสิ่งที่ตัวเองชอบและถนัด และพอมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนนั้นๆ อยู่แล้ว เพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้นๆ มากที่สุด และลดความเสี่ยงต่อการลงทุนไปด้วยนั่นเอง หรือหากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มลงทุนอย่างไรดี การทำ check list ไว้ก่อน ก็ช่วยได้มากเลยล่ะ