ประเทศเยอรมัน ถือเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดีอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งอย่างที่เราทราบกันดีทั้งเรื่องของ อุตสาหกรรมต่างๆในประเทศ การส่งออกที่เป็นอันดับต้นๆ สภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวสูง มีการจัดสวัสดิการต่างๆครอบคลุม มีการเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และเมื่อมีการจัดทำดัชนีต่างทางเศรษฐกิจของเยอรมันในแต่ละปีนั้นออกมาเป็นอย่างทีเราเห็นกันคือติด TOP 3 และ TOP 5 มาโดยตลอด แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าครั้งหนึ่งเมื่อเยอรมันแพ้สงครามในยุคนาซี ประเทศต้องล่มสลายถูกปกครองโดยพันธมิตรและคอมมิวนิตส์ ประเทศต้องถูกแบ่งเป็น 2 โซน กว่าจะเติบโตจนเป็นอันดับต้นๆของโลกได้นั้น เยอรมันผ่านความโหดร้ายทางเศรษฐกิจมาพอสมควรเลยทีเดียว
คงสงสัยใช่ไหมว่าทำไมถึงเขียนถึง เศรษฐกิจของเยอรมัน ?
เพราะหากมองดีๆแล้วมีหลายอย่างที่เราสามารถนำมาเป็นแนวทางกับเศรษฐกิจบ้านเราได้ สิ่งที่ไทยควรมองจากเศรษฐกิจของเยอรมันคือ การสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมันมาจากการส่งออกที่ว่ากันว่าเป็นรายได้หลักของประเทศ แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าจริงๆแล้ว ค่าแรงของประเทศเยอรมันนั้นต่ำเมื่อเทียบกับค่าครองชีพจริงๆในแต่ละวัน และแม้ว่าค่าแรงในเยอรมันจะสูงกว่าประเทศรอบข้างก็ตาม แต่ด้วยค่าครองชีพจริงๆที่ต่ำทำให้ประชากรมีรายได้พอเพียงต่อกาดำรงชีพ ทำให้สภาพเศรษฐกิจในประเทศไม่เกิดปัญหาประชาชนมีสวัสดิการที่ดี แม้จะถูกเก็บภาษีสูงแต่สิ่งที่ได้ตอบแทนมาคือสวัสดิการที่คุ้มค่าทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล การศึกษา และ แม้แต่ยามชรา แม้ว่าในช่วงประมาณปี 2008-2009 แต่ก็ฟื้นตัวได้เร็วในปี 2010 โดยรัฐบาลของเยอรมันมีมาตรการต่างๆออกมารองรับทำให้ชนชั้นแรงงานไม่มีปัญหาเรื่องตกงาน หรือ เรื่องความเป็นอยู่เหมือนอย่างในบ้านเราที่โดนออกจากงานเมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ หรือ แม้แต่เรื่องการย้ายฐานการผลิต โดยมีนักวิจัยจาก German Institute for Economic Research กล่าวถึงเยอรมันไว้ว่า
ที่กรุงเบอร์ลินนั้นประมาณ 1 ใน 5 ของแรงงานเยอรมันต้องทำงานที่ไม่มั่นคงและผลตอบแทนต่ำ ทำให้แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวดีแต่รายได้ที่นำมาใช้จ่ายได้ (Disposable Income) ของชนชั้นกลางไม่เพิ่มขึ้นเลยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (Time, March 7, 2011) หรืออาจกล่าวได้ว่าชนชั้นกลางหรือแรงงานไม่ได้ประโยชน์มากนักจากการขยายตัวของการส่งออกในช่วงที่ผ่าน และ เยอรมันเป็นประเทศเดียวในสหภาพยุโรปที่สามารถลดต้นทุนทางด้านแรงงานลงได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2005 โดยค่าจ้างแรงงาน (เชิงสัมพัทธ์) ที่ต่ำเป็นผลมาจาก 3 ประการ คือ
- การปฏิรูปกฎระเบียบข้อบังคับด้านแรงงานจากที่เคยเข้มงวด ซึ่งช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถว่าจ้างแรงงานได้ง่ายขึ้น
- แรงงานบางส่วนกังวลว่าตัวเองจะต้องตกงาน เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเคลื่อนย้ายไปยังประเทศซึ่งมีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า เช่น จีน แรงงานจึงยอมรับค่าจ้างที่น้อยลงเพื่อแลกกับความมั่นคงในการทำงานซึ่งบริษัทมอบให้ (เช่น บริษัทซีเมนส์มีการรับประกันการจ้างงานจนถึงปี 2013 เป็นต้น)
- ในช่วงที่ประเทศต้องประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลให้การอุดหนุนด้านการจ้างงานแก่ภาคเอกชนเพื่อรักษาการจ้างงานเอาไว้ ซึ่งในปี 2009 มีแรงงานที่ได้ประโยชน์จากโครงการนี้ถึง 1.4 ล้านคน
แง่มุมนี้เองทำให้เยอรมนีถูกนำมาเปรียบกับจีน อย่างไรก็ตาม เยอรมนีไม่ได้เน้นผลิตและส่งออกสินค้าราคาถูกเหมือนจีน แต่เยอรมันผลิตและส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ์หนักต่างๆ ซึ่งผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้า Made in Germany
(ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/525134#sthash.Q1aWgNnb.dpuf)
จะเห็นได้ว่า ภาครัฐของเยอรมัน มีความสอดคล้องกับภาคเอกชน คือร่วมมือกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจ คิดนโยบายเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและชนชั้นแรงงานอยู่รอดไปพร้อมๆกัน และไม่น่าเชื่อว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจดีอันดับต้นๆของโลก จะมีค่าแรงที่ถูกเมื่อเทียบกับค่าครองชีพของประชากรในประเทศ จากข้อมูลคร่าวๆยกตัวอย่างพาร์ทไทม์ ค่าแรงชั่วโมงละ 9 ยูโร หนึ่งวันทำกี่ชั่วโมงก็คูณกันไปเช่นทำงาน 6 ชั่วโมง ได้ค่าแรงวันละ 54 ยูโร ทำงาน 20 วันต่อเดือนเท่ากับ 1,080 ยูโร ดูเหมือนน้อยแต่ค่าครองชีพเขาไม่สูงเช่น ราคาค่าเช่าห้องพักเดี่ยวต่อเดือนตกอยู่ 450-600 ยูโร ค่าอาหารธรรมดาๆแบบฟาสด์ฟู้ดส์ เริ่มต้น 1.2 ยูโร นี่แค่ค่าแรงของพาร์ทไทม์ทั่วไปทั้งกลุ่มแม่บ้านหรือนักศึกษาแต่ค่าแรงจริงๆของคนทำงานในเยอรมันที่จำประจำในบริษัทหรือโรงงานต่างๆ จะสูงกว่านี้ ซึ่งล่าสุดค่าแรงขั้นต่ำของคนเยอรมัน อยู่ราวๆ 1,473.00 ยูโร แต่ก็มีการเก็บภาษีต่างๆที่สูงเช่น VAT 19% จากการทานอาหารตามร้านต่างๆ และ ซื้อของตามซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่จะมีส่วนลดของภาษีขึ้นอยู่กับมาตรการในแต่ละรัฐหรือแต่ละซุปเปอร์มาเก็ตเช่นนำขวดเปล่า หรือ กระป๋องเบียร์มาคืนจะได้ลดภาษีตามจำนวนที่กำหนดโดยจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์คือคืนมาลดมาก
จากที่เล่ามาทั้งหมดเห็นได้ว่าเยอรมันมีการจัดการบริการเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ เน้นให้ประชาชนอยู่รอด ผู้ประกอบการอยู่รอดไปพร้อมๆกัน มีมาตรการการคืนสวัสดิการจากภาษี และมีส่วนลดภาษีต่างๆที่ประชาชนเข้าถึงได้ ค่าครองชีพไม่สูงเกินกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งสวนทางกับบ้านเราที่ค่าครองชีพสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ก็คงได้แต่หวังกันต่อไปว่าสักวันเศรษฐกิจบ้านเราจะเข็มแข็งแบบเขาบ้าง
และที่สำคัญเขาให้ความสำคัญกับชนชั้นแรงงานมากกว่าชนชั้นคนรวย เขาอุ้มประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องขายแรงงาน เพื่อให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ต่างจากบ้านเราอุ้มคนรวยมากกว่าคนจน
ข้อมูลค่าครองชีพจาก : http://www.oknation.net/blog/DDGeneral/2013/05/23/entry-1