เรื่องของการเงินคงเป็นเรื่องที่ยากมากพอสมควร แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากจะพูดถึงการเงินก็คงต้องนึกถึงเรื่องของรายรับและรายจ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งอาจจะได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ว่าถ้าหากอยากออมเงินนั้น จะต้องมีเคล็ดลับหรือวิธีอย่างไรบ้าง จึงจะทำให้การออมเงินนั้นประสบความสำเร็จ และมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายในครอบครัวหรือแม้แต่มีเงินออมไว้สำหรับใช้ในยามฉุกเฉิน โดยเฉพาะจะเกี่ยวโยงกับบัญชีรายรับรายจ่าย
ซึ่งการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายนั้นมีความสำคัญมาก จะช่วยจำในเรื่องของข้อมูลทางด้านการเงินของแต่ละคน รายรับที่เข้ามาและรายการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายออกไป ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงข้อมูลในบัญชีของเรานั่นเอง ว่ามีเงินเท่าไหร่ และใช้ไปแล้วเท่าไหร่ ซึ่งรายรับ รายจ่ายนั้น เงินคงเหลือ จะทำให้รู้ว่าการเดินของเงินนั้นเป็นอย่างไรบ้าง แล้วมีใครรู้ไหมว่า รายรับ รายจ่าย นั้นหมายถึงอะไร
- รายรับ เป็นฐานข้อมูลของเงินที่เข้ามา เงินทั้งหมดที่ได้รับเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นค่าต่าง ๆ ที่ได้ลงทุนเอาไว้ รวมไปถึงดอกเบี้ยจากการออมเงินก็เช่นกัน ถือว่าเป็นรายรับของเรา
- รายจ่าย คือ ข้อมูลของเงินที่เราจ่ายออกไปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆที่จ่ายออกไป ทั้งค่าขนม ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าบ้าน ค่ารถ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม >> ดอกเบี้ยที่เป็นรายจ่าย ฝันร้ายของคนฟุ่มเฟือย <<
วันนี้เราจะมาพูดถึงดอกเบี้ยที่เป็นรายรับ อาทิเช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ดอกเบี้ยที่เราถือว่าเป็นรายรับของเรานั้น เพราะเป็นเงินที่เข้ามาเพิ่มในบัญชีของเรา ซึ่งทำให้เรามีเพิ่มมากขึ้น จึงต้องถือว่าดอกเบี้ยเป็นรายรับอีกส่วนหนึ่งเช่นกัน เมื่อเรารู้แล้วว่าทั้งรายรับ รายจ่ายคืออะไรและดอกเบี้ยเงินฝาก เราก็ถือว่าเป็นรายรับ ดังนั้น เรามาดูวิธีการคำนวณ ดอกเบี้ยเงินฝาก กันค่ะ จะมีวิธีการคำนวณอย่างไรบ้าง เพื่อช่วยให้เราสามารถคำนวณได้ด้วยตัวเอง ซึ่งวิธีการคำนวณนั้นจะมีหลายแบบ ดังนี้
วิธีคำนวณแบบดั้งเดิม ซึ่งในที่นี้เป็นวิธีที่ใช้โดยโปรแกรมสำเร็จรูป จะมีหลักและวิธีคิดและมีการคิดคำนวณ อาทิเช่น
- คุณมีเงินฝากประจำในระยะเวลาในการฝาก 3 เดือน ซึ่งดอกเบี้ยที่จะไดรับนั้นอยู่ที่ร้อยละ 3 ต่อ 1 ปี และดอกเบี้ยทั้งหมดนี้จะโอนไปยังบัญชีฝากประจำที่เปิดไว้
- เมื่อคุณได้เริ่มต้นในการฝากเงินในช่วงวันที่ 1 ม.ค.ในจำนวนเงิน 20,000 บาท และเมื่อถึงกำหนดในระยะเวลาที่เราฝากเงินออมทรัพย์ประจำ 3 เดือน จะไม่มีการถอนเงินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมดที่ได้มาจากการฝากในบัญชีฝากประจำ
- ซึ่งก็จะทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ 3 เดือนและไม่มีการถอนเงิน จนถึงในวันที่ 1 ของเดือนมกราคมของในปีถัดไปนั้น เราจะได้เงินผลตอบแทนหลังภาษีเท่าไหร่
สำหรับดอกเบี้ยประจำนั้น เราจะมีการคิดคำนวณหรือว่าหักเงินอย่างไรบ้าง ดอกเบี้ยของฝากประจำจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับทั้งหมด ซึ่งวิธีการคำคำนวณก็ไม่ยากนะ เรามาดูกันค่ะว่า วิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยมีขั้นตอนในการคิดอย่างไรบ้าง
- การคิดอัตราดอกเบี้ย ในการคิดคำนวณเราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ปกติแล้วในการเปิดบัญชีฝากประจำนั้น จะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น 15% ซึ่งจะทำให้เรานั้นได้ดอกเบี้ยจริงเพียง 85% เท่านั้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ทุกคนที่ฝากประจำต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง
- คือ การคิดเงินที่ได้ทั้งหมดจากการฝากประจำเช่น การฝากประจำที่ใช้เวลาในการฝากนั้น 3 เดือน และมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในแต่ละปี 3 ต่อปี ประมาณ 10,000 บาท ส่วนตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณเงินที่ได้จากการฝากนั้น จะคำนวณโดยใช้วิธี 2 แบบดังนี้ คือคำนวณจากเงินต้นและเงินดอกค่ะ
- วิธีการคำนวณแบบที่ 1
ในการคิดดอกเบี้ยนั้น ต้องคิดจากเปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยที่จะได้รับ แต่ต้องทำเป็นตัวเลขดอกเบี้ยอีกที คือให้นำมาหารจำนวนวันทั้งหมดของปี และในการฝากครั้งนี้มีเวลา 3 เดือนหรืออาจจะเป็นวันก็ได้ คือ 90 วันค่ะ ซึ่งในการฝากแบบนี้จะไม่มีถอนเงินออกมา จนกว่าจะครบกำหนด และจะคิดดอกเบี้ยทบไปเรื่อย ๆ เหมือนเดิมคือ 3 เดือนก็จะทำจนครบ 1 ปี และในการฝากครั้งต่อไปหลังจากที่ครบ 1 ปีแล้วนั้น แต่เราจะเริ่มฝากประจำครั้งต่อไปในยอดของเงินต้นและเงินดอกในครั้งแรกนั่นเอง อาจจะฟังดูแล้วยาก แต่ถ้าพยายามทำความเข้าใจ ก็จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นและสามารถนำมาคิดคำนวณได้ด้วยตัวเองค่ะ
- วิธีการคำนวณแบบที่ 2
การคำนวณใช้แบบโปรแกรมสำเร็จรูปเหมือนเดิม โดยใช้โจทย์เหมือนข้อที่ 1 นั่นคือ ฝากประจำ 3เดือน ดอกเบี้ย 3% ต่อปี หลังจากที่ครบ 3 เดือนของการฝากประจำแล้วจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ซึ่งวิธีที่ 2 นี้จะได้การนำเงินต้นบวกกับดอกเบี้ย การทำเช่นนี้เพราะว่าเป็นการฝากแบบต่อเนื่อง และให้นำตัวเลขที่ได้ไปบวกกับดอกเบี้ยหลังหักภาษี และจะได้เป็นตัวเลขในการฝากประจำ 3 เดือนในครั้งที่ 2 และให้ใช้วิธีคำนวณแบบนี้จนครบ 1 ปี ก็จะได้เป็นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดที่เราจะได้จากการฝากประจำค่ะ