เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน นอกจากมีเงินให้ใช้แล้ว แต่สำหรับบางคนที่รายได้ไม่มากนักก็ไม่น่าสงสัยอะไรเท่าไหร่ ได้มา หักประกันสังคม นิดหน่อยพอคุ้มครองยามฉุกเฉินให้บ้าง นอกนั้นก็เงินค่าแรงเราล้วนๆ แล้วถ้ามีเงินเยอะละทำไง ทำไมมีหักเยอะแยะไปหมด ไม่เข้าใจ ซับซ้อน แล้วตกลงจะ เสียภาษีเท่าไหร่ ? บอกได้เลย เสียเวลาไม่กี่นาที อ่านบทความนี้แล้วคุณจะไม่งงอย่างที่คิด หยิบเครื่องคิดเลขมากดเลย
อ่านเพิ่มเติม >> คำนวณภาษี ปลายปี กันเถอะ ! <<
ใครบ้างต้องยื่นแบบเพื่อคำนวณภาษี
เรื่องนี้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ดังนั้นผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องมีหน้าที่ตามมาด้วย คือ
- บุคคลธรรมดา
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
บทความนี้จึงขอยกตัวอย่าง บุคคลธรรมดาก่อน เพราะคนกลุ่มนี้ค่อนข้างที่จะเยอะเชื่อว่าหลายคนยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ น้องๆมนุษย์เงินเดือนหน้าใหม่ทุกท่านที่เพิ่งเข้าสู่วัยทำงาน ซึ่งโดยปกติก็คือกลุ่มที่มีรายได้เป็นเงินเดือนประจำและยังไม่มีครอบครัว และคุณพ่อคุณแม่ก็ยังคงมีรายได้อยู่ จึงอาจใช้สิทธิหักลดภาษีตามกฎหมายไม่ได้เต็มที่
แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีสิทธิลดหย่อนภาษีบางประการ ซึ่งสามารถทำให้เราประหยัดภาษีได้หลายตังค์เลยทีเดียว
ภาษีที่เราจะต้องเสียให้รัฐนั้นในปีหนึ่งๆนั้น ก็คำนวณจาก“เงินได้สุทธิ”ทั้งปีของแต่ละคน
วิธีคิดก็คือ เอารายได้ในปีนั้นทั้งหมด – ค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย – ค่าลดหย่อนตามกฎหมาย = เงินได้สุทธิ
ปกติแล้วรายได้ของผู้ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่วัยทำงานก็จะมาจากเงินเดือน + โบนัส เป็นหลัก เบื้องต้นเลยก็ลองรวมเงินทั้งหมดนั้นว่าปีนี้เราได้เงินมาเท่าไหร่
ยกตัวอย่างเช่น
มีรายได้ต่อเดือน เดือนละ 30,000 บาท ทั้งปีก็จะเป็น 360,000 บาท
ได้โบนัสในปีนั้น 3 เดือน คือ 90,000 บาท เบ็ดเสร็จก็จะรายได้ทั้งปีเท่ากับ 459,000 บาท เราจะ เสียภาษีเท่าไหร่ ?
ตามกฎหมายยอมให้ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
= 459,000 x 40% (เท่ากับ 183,600 แต่กฎหมายให้หักได้สูงสุดแค่ 60,000)
- เงิน 459,000 จึงหักค่าใช้จ่ายได้ 60,000 บาท เหลือเป็นรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 399,000 บาท (คนรายได้เยอะจะเสียเปรียบหน่อย เพราะถ้าทั้งปีเรามีรายได้เกิน 150,000 ไปแล้วก็หักได้แค่ 60,000 บาทเท่านั้น)
- หักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้อีก 30,000 บาทโดยอัตโนมัติ ก็นำเอา 399,000 – 30,000 ก็จะเหลือทั้งสิ้น 369,000 บาท ซึ่งเป็นเงินได้สุทธิที่จะต้องนำมาเสียภาษี
- ตามอัตราภาษีปัจจุบัน รายได้สุทธิเรา ตั้งแต่บาทแรกจนถึง 150,000 จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
- ส่วนตั้งแต่ 150,001 ขึ้นไปจนถึง 500,000 บาทจะเสียภาษีในอัตรา 10% ดังนั้นตามกรณีนี้ก็นำ 369,000 -150,000
- = 219,000 บาท ซึ่งเราต้องเสียภาษีให้รัฐ 5% จาก 219,000 เท่ากับ ***เราต้องเสียภาษี 10,950 บาทนั่นเอง***
ฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวนภาษี
- รายได้ต่ำกว่า 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
- รายได้สุทธิในช่วง 150,001 – 300,000 บาท เสียภาษี 5%
- รายได้สุทธิในช่วง 300,001 – 500,000 บาท เสียภาษี 10%
- รายได้สุทธิในช่วง 500,001 – 750,000 บาท เสียภาษี 15%
- รายได้สุทธิในช่วง 750,001 – 1,000,000 บาท เสียภาษี 20%
- รายได้สุทธิในช่วง 1,000,001 – 2,000,000 บาท เสียภาษี 25%
- รายได้สุทธิในช่วง 2,000,001 – 4,000,000 บาท เสียภาษี 30%
- รายได้สุทธิในช่วง 4,000,001 – 20,000,000 บาท เสียภาษี 35%
- รายได้มากกว่า 20,000,001 บาทขึ้นไป เสียภาษี 37%
จะเห็นว่าแม้เราไม่มีสิทธิลดหย่อนอย่างอื่นเลย ทุกๆคนก็ยังมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัวได้เหมือนกันหมด
ลองคิดดูคร่าวๆว่า ถ้าเรามีรายได้ทั้งปีไม่ถึง 240,000 บาท ตกต่อเดือนคือ20,00บาท (คำนวณรายได้สุทธิ 240,000 – 60,000(ค่าใช้จ่าย) – 30,000 (ลดหย่อนส่วนตัว) = 150,000) รายได้สุทธิเราจะมีเพียง 150,000 บาทเท่านั้น ซึ่งยังไม่ถึงอัตราที่ต้องเสียภาษี***
แต่สำหรับผู้ที่มีรายได้ทั้งปีเกิน 240,000 ไปแล้ว เราลองมาดูกันว่ารัฐนั้นให้สิทธิอะไรแก่เราบ้างในการลดหย่อนภาษี ซึ่งบางสิทธินั้นเราก็มีอยู่แล้วแม้บางทีเราจะไม่รู้ตัวก็ตาม
สิทธิลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง
ยิ่งมีรายได้มาก ก็ยิ่งต้องเสียภาษีมาก คนทำงานหลายคนจึงหาหนทางต่าง ๆ นานาที่จะช่วยให้ตัวเองเสียภาษีน้อยลง ซึ่งวิธีการวางแผนภาษีที่หลาย ๆ คนมักจะใช้กัน มีดังนี้
- เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน
- อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ตัวนี้ถ้ากรณีมีลูกหลายคน ยืนสิทธิแค่สิทธิเดียวเท่านั้น เช่น มีพี่น้อง 4 คน สามารถยื่นสิทธิได้ คนที่ 1 คุณแม่ ลดหย่อน 30,000 บาท คนที่ 2 คุณพ่อ ลดหย่อน 30,000 บาท หรือ คนที่1 จะยื่นทั้งคุณพ่อและคุณแม่ก็ได้ลดหย่อน 60,000 บาท เมื่อพี่น้องคนใดคนหนึ่งใช้สิทธินี้ไปแล้วคนที่เหลือก็ไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้ และบิดามารดาต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 150,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
- เบี้ยประกันชีวิต
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF/RMF)
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย นำดอกเบี้ยมาลดหย่อนอย่างเดียวลดได้ไม่เกิน 100,000 บาท (เช่นดอกเบี้ยบ้านต่อปี 120,000 บาท ลดหย่อนได้ 100,000 บาทเท่านั้น)
- เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
- เงินบริจาค
- เงินท่องเที่ยวประจำปี นำใบเสร็จแบบมีหัวที่อยู่หรือใบเสร็จแบบกำกับภาษี ของบริษัทโรงแรมตามรายชื่อของรัฐที่สามารถรถหย่อนได้ ไม่เกิน 15,000 บาท ได้เที่ยวได้ลดหย่อน ตัวนี้ไม่รวมที่กิน ตั๋วเครื่องบิน ตั๋วเรือ ก่อนเที่ยวก็ลองเช็คดูว่ามีโรงแรมไหนลดหย่อนบ้าง เพื่อนำมาใช้สิทธิ
อ่านเพิ่มเติม >> เรามีรายการ อะไรที่ใช้ลดหย่อนภาษี ได้บ้าง ? <<
จะเห็นได้ว่าเครื่องมือลดหย่อนต่างๆที่รัฐให้สามารถนำมาประหยัดภาษีได้มากมาย ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เราก็นำเงินรายได้ที่เกิน มาหักช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลง โดยที่ไม่ต้องเลี่ยงภาษี เพียงแต่เราต้องมีวินัยการใช้จ่ายเงินไม่ให้มากเกินไป เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บไว้ในแหล่งออมเงินต่างๆซึงนอกจากเงินจะงอกเงยขึ้นแล้วยังสามารถช่วยจ่าบภาษีน้อยลงไปในตัวได้อีก