เมืองไทยสมัยก่อนปี พ.ศ.2525 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 15-16% เงินฝากทรัสต์เกือบ 20% ใครมีเงินก้อน 1 ล้านบาท ได้ดอกเบี้ยเดือนหนึ่ง ๆ ตกหมื่นกว่าบาท เรียกได้ว่าเก็บกินดอกอย่างเดียวก็กินไม่ทัน สมัยนั้นตลาดหลักทรัพย์จึงไม่เฟื่องฟูอู้ฟู่ยอดซื้อขายต่อวัน 3-4 หมื่นล้าน อีกทั้งดอกเบี้ยธนาคารเยอะอยู่แล้ว คนจึงไม่กล้าเสี่ยงเอาเงินก้อนมาลงกับการลงทุนประเภทอื่น แต่คนลงทุนเป็นโดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์ภาคการเงินการธนาคารช่วงนั้น สามารถทำกำไรได้มากมายมหาศาล นักลงทุนใจป้ำจึงกล้ากู้มาเพื่อลงหุ้น การลงหุ้นจะลงถมไปเรื่อย ๆ ไม่มีถอนออก เงินที่กู้มาแล้วก็จะกู้เงินมาจากแหล่งอื่นเข้ามาโปะหนี้ที่กู้มาก้อนแรก เมื่อถึงเวลาเงินกู้ก้อนที่สองถูกเรียกเก็บ ก็กู้เงินแหล่งใหม่มาโปะอีก เป็นการหมุนหนี้ที่เรียกว่า Rolling of Debt
พฤติกรรมการหมุนหนี้ หรือ Rolling of Debt นี้เกิดขึ้นอีกครั้งตอนเศรษฐกิจไทยฟุ้งสุด ๆ ก่อนช่วงวิกฤติปี 40 เพียงแต่มีความซับซ้อนขึ้นเล็กน้อย ถึงแม้ว่ายุคนี้อัตราดอกเบี้ยไม่ได้สูงมากเหมือนยุคปี 25 คือการกู้เงินสมัยนั้นง่ายมาก ธนาคารแทบจะตรวจหลักทรัพย์เงินกู้จากกระดาษ แค่มีโฉนดที่เจ้าของอาจซื้อมาในราคา 50,000 บาท ก็อาจกู้เงินออกมาได้ 1,000,000 บาท มูลค่าของและสินค้าเฟ้อไปจนฉุดไม่อยู่ มาตรการคุมดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถควบคุมได้ เกิดเป็นช่องโหว่ให้พ่อมดการเงินรวมหัวกับกลุ่มทุนทุ่มตลาดเงินบาทจนทำให้บาทต้องปล่อยลอยตัว
หลังจากนั้นเป็นต้นมา มาตรการการควบคุมการเงินกู้ภาคธุรกรรมและภาคส่วนบุคคลก็เข้มข้น มีการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนประวัติโดยละเอียด และยังแบ่งประเภทเงินกู้และตรวจสอบการใช้เงินอย่างละเอียดชัดเจน เช่น เงินกู้สำหรับซื้อบ้าน ก็ต้องใช้สำหรับซื้อบ้าน โดยก่อนการขอกู้บ้านทางสถาบันการเงินจะตรวจสอบสถานะทางการเงินของผู้กู้โดยละเอียดก่อน เช่น ประวัติการทำงาน และภาระเงินกู้ผูกพัน ผู้กู้ไม่สามารถกู้เงินซื้อบ้านมากเกินกว่าราคาบ้านได้ เพราะผู้กู้หลายคนได้นำเงินส่วนหนึ่งไปใช้ทางอื่นผิดวัตถุประสงค์ และมีโอกาสนำมาซึ่งการผิดนัดชำระหนี้ได้ในที่สุด
การเกริ่นการเปลี่ยนแปลงลักษณะความเป็นไปเกี่ยวกับ Rolling of Debt ในยุคต่าง ๆ มานี้นั้น เพื่อให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการเงิน Concept การหมุนหนี้คงเดิมมาตลอด เพียงแต่วิธีการเปลี่ยนไป และเมื่อใดที่ในตลาดเกิดภาวะการหมุนหนี้เป็นกิจวัตรทั้งภาคธุรกิจและภาคส่วนบุคคล ก็ให้สังเกตไว้เลยว่าจุดจบของการเงินใกล้ครบรอบวาระของมันแล้ว จงระวังให้มาก ถึงแม้การหมุนหนี้รายย่อยนั้นอาจไม่เห็นผลกระทบโดยตรงชัดเจนในเศรษฐกิจโดยรวม แต่ก็ย่อมส่งผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจในแง่ของระดับความสามารถในการซื้อของภาคบุคคล หมายถึงประชาชนจะมีกำลังซื้อลดลง ประสานกับปัจจัยภายนอกของราคาน้ำมันโลกเมื่อสองปีก่อนที่สูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อสินค้าแพง ก็ยิ่งเป็นเหตุให้ประชาชนไม่มีกำลังซื้อทั้งทางจิตวิทยาและเงินทางบัญชีจริง ๆ
การ กู้เงินมาปิดยอดหนี้บัตรเครดิต เป็นรูปแบบหนึ่งของ Rolling of Debt ถึงแม้ว่าจะเป็นการหมุนต่อเดียว คือกู้ครั้งเดียวแล้วจบ ซึ่งสามารถทำได้ หากแต่ต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ข้อเสียของหนี้บัตรเครดิตคือไม่สามารถเลื่อนการชำระได้ หากรอบการชำระเงินนั้นเกิดช๊อต การ กู้เงินมาปิดยอดหนี้บัตรเครดิต ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ต้องพิจารณา โดยอาจพิจารณาข้อดีข้อเสียได้ดังนี้
- ข้อดี 1 ไม่เสียเครดิตกับธนาคารเจ้าของบัตร
- ข้อดี 2 ไม่เสียเครดิตติดเครดิตบูโร
- ข้อดี 3 รวมหนี้เป็นก้อนเพื่อการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
- ข้อดี 4 มีกำหนดชำระเงินยอดขั้นต่ำเพียง 5-10%
สำหรับข้อเสีย หากเงื่อนไขไม่ได้เป็นไปตามตัวเลขที่เหมาะสม ข้อดีหลาย ๆ ข้อก็จะแปลงกลับเป็นข้อเสียทันที เช่น
ข้อเสีย 1 ยอดหนี้ไม่ได้ลดลง ดอกเบี้ยก็ไม่ได้ลดลงด้วย การ refinance เพื่อย้ายหนี้จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ผู้รับย้ายหวังผลจากกำไรจากดอกเบี้ย โดยยอมรับความเสี่ยงเอาไว้เอง
ข้อเสีย 2 ไม่เหมาะกับหนี้ก้อนใหญ่มาก ๆ ส่วนมากธนาคารที่รับ refinance มักอนุมัติสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ ถ้าผู้กู้มีเงินเดือน 15,000 บาท หมายความว่าธนาคารจะอนุมัติเงิน refinance 75,000 บาท ซึ่งหลาย ๆ ครั้งยอดหนี้บัตรเกินกว่านั้นมาก หมายความว่าผู้กู้ต้องขอกู้จากหลายธนาคารเพื่อกลบยอดหนี้ได้ ซึ่งก็จะทำให้การรวมหนี้เป็นก้อนเพื่อการจัดการไม่เป็นผลอย่างที่คาด การกู้จากหลายธนาคารอาจทำให้การจัดการหนี้ทำได้ยากขึ้นเพราะหนี้ไม่ได้เป็นก้อนเดียวกัน
ข้อเสีย 3 หากทำการ refinance หลายธนาคารพร้อมกัน ถ้าธนาคารแรกรับ refinance ที่ 5 เท่า ธนาคารที่ 2 ที่ 3 อาจอนุมัติที่ 3 หรือ 2 เท่าของเงินเดือน เนื่องจากเข้าเกณฑ์มีภาระหนี้ผูกพัน
ข้อเสีย 4 ธนาคารที่รับ refinance อาจไม่อนุมัติที่ยอดเงินสูงสุดได้ ทั้งนี้ธนาคารจะต้องดูภาระหนี้อื่น ๆ ด้วย เช่น ปกติให้กู้ได้ 5 เท่าของเงินเดือน แต่หากผู้กู้มีภาระผ่อนรถ ถือเป็นภาระหนี้ผูกพันแล้ว อาจได้รับอนุมัติเพียง 2 หรือ 3 เท่าเท่านั้น
ข้อเสีย 5 หากผู้กู้ติดเครดิตบูโร โอกาสกู้ผ่านเป็นไปได้ยาก
ข้อเสีย 6 การชำระเงินงวดขั้นต่ำอาจเพียง 5-10% ก็จริง แต่ถ้าก้อนหนี้ใหญ่ เช่น หนี้ 250,000 บาท ถ้าขั้นต่ำ 10% หมายความว่าต้องจ่าย 25,000 บาท ซึ่งผู้กู้อาจไม่สามารถผ่อนชำระได้ เกิดปัญหาเงินขาดมือและถูกดึงเข้าสู่เงินกู้นอกระบบได้ง่าย
ข้อเสีย 7 refinance ประเภทนี้ จัดอยู่ในประเภทความเสี่ยงสูง หากผู้กู้จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อจุดประสงค์ประเภทอื่น เช่น ซื้อบ้าน หรือเพื่อธุรกิจต่าง ๆ อาจไม่ได้รับ Deal ที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับผู้ที่ปลอดหนี้ หรือบางครั้งธนาคารอาจไม่ปล่อยกู้ ทำให้ผู้กู้เสียโอกาสสำคัญในชีวิตได้
สุดท้ายบุคคลที่กำลังคิดจะหมุนหนี้ต้องเข้าใจและตระหนักให้มากว่า การกู้หนี้มาปิดหนี้เก่าไม่ใช่การแก้ปัญหาใด ๆ เพราะสุดท้ายหนี้ไม่ได้หายไปไหน ยังคงเดิม และดอกเบี้ยก็ยังอยู่เหมือนเดิม การกู้หนี้มาเพื่อปิดมักจะเป็นการรวมหนี้เป็นก้อนเดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ และเป็นการยืดอายุหนี้ให้ยาวออกไปเหมือนซื้อเวลาการชำระหนี้นั่นเอง วินัยทางการเงินเท่านั้นจะเป็นตัวการันตีการปลดหนี้ได้ดีที่สุด
เงินเดือนไม่พอใช้ ไม่มีเงินจ่ายหนี้บัตรฯ ให้สินเชื่อ citibank ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง สมัครออนไลน์ รับอัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษ >> คลิก!