ใครที่ติดตามเรื่องของรถไฟฟ้าเส้นทางที่จะสร้างใหม่คงเคยผ่านตากับเรื่องของ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีแนวเส้นทางคือ เริ่มต้นจากสถานีรถไฟตลิ่งชัน จากนั้นใช้แนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนินแล้วเบี่ยง ใช้แนวถนนหลานหลวง ผ่านยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภถึงดินแดงแล้วเลี้ยว ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี่ยงเข้าแนวถนนพระรามเก้า ตัดผ่านถนนประดิษฐ์ธรรมนูญ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี แยกถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี
ซึ่งโครงการนี้มีข่าวการต่อต้านมาเป็นระยะเพราะเรื่องของการเวนคืนที่ดินย่านประตูน้ำ ทำให้โครงการต้องหยุดชะงัก จึงยังไม่มีข้อสรุปแต่แนวโน้มความเป็นได้ที่มีการวิเคราะห์จากคนที่ตามข่าวหรือมองจากหลักความจริงแล้วอาจจะมีการก่อสร้างได้บางช่วงแต่ต้องดูผลสรุปจากการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้อและศึกษาโครงการกันอีกครั้ง
ทำไมถึงต้องพูดถึงรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทั้งๆที่มันคงจะยังอีกนานกว่าจะสร้าง
เพราะหากดูจากแผนที่ของการวางผังเส้นทางรถไฟฟ้าแล้วนั้น เส้นทางนี้ถือเป็นเส้นทางที่ลดปัญหาจราจรและเชื่อมต่อการเดินทางได้ค่อนข้างสูง และผ่านแหล่งการค้าหลักอย่างย่านประตูน้ำ ย่านรามคำแหง และสนามหลวง ข้ามไปยังศิริราช ผ่านเส้นทางที่เป็นทั้งย่านการค้า แหล่งท่องเที่ยว เชื่อมต่อสองฟากของกรุงเทพให้เดินทางได้สะดวก และบริเวณเส้นทางตลอดแนว ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งการค้า และมีการเชื่อมต่อเส้นทางได้หลากหลาย ปัญหาการจราจรเส้นทางตามแนวรถไฟฟ้าสายนี้ติดหนักไม่แพ้ย่านอื่นๆ ทำให้มองว่าการมีรถไฟฟ้าสายสีส้มน่าจะส่งผลดีได้ไม่น้อย
แต่ปัญหาหลักคือเรื่องการก่อสร้าง การใช้พื้นที่ที่ต้องเวนคืนแน่นอนว่ายังไม่จบในขั้นตอนนี้อย่างที่มีข่าวหรือใครที่ผ่านไปผ่านมาย่านประตูน้ำนั้นคงเห็นกันบ้าง ซึ่งมองในมุมเศรษฐกิจหากมีรถไฟฟ้าบนถนนเส้นนี้การขยายตัวทางการค้านั้นคงไม่มากขึ้นไปกว่านี้เพราะปัจจุบันย่านนี้นั้นหลักๆมีแหล่งการค้าคือประตูน้ำที่คงขยายตัวเพิ่มไม่ได้หากมองจากพื้นทีในปัจจุบัน แต่จะมีคนเดินทางเข้ามาจับจ่ายใช้สอยกันเพิ่มขึ้นเพราะเดินทางสะดวกขึ้น หรือย่านรามคำแหงที่หนาแน่นด้วยการจราจรแออัดเช่นกันเพราะมีทั้งมหาวิทยาลัย โรงเรียน แหล่งที่พักอาศัย สนามกีฬา การมีรถไฟฟ้าเข้าสู่ย่านนี้จะทำให้การเดินทางสะดวกมากขึ้น และยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นๆที่กำลังจะได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้าง
แต่ยังไงก็ตามเส้นของรถไฟฟ้าสายนี้ยังคงต้องรอกันต่อไป แต่เชื่อว่าในอนาคตน่าจะสร้างได้จริงหากมีการปรับปรุงแก้ไขในบางจุดที่มีปัญหากันอยู่และผลประโยชน์จากการ ลงทุนตามเส้นทางรถไฟฟ้า การมีรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อทั่วกรุงเทพและชานเมืองอย่างแรกที่เห็นได้ชัดคือ
การจราจรที่น่าจะลดความหนาแน่นในช่วงเวลาเร่งด่วนในหลายๆเส้นทาง การขยายตัวทั้งเรื่องการค้า ที่อยู่อาศัยที่จะขยายออกรอบนอกกรุงเทพฯมากขึ้น การจ้างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเชื่อมต่อการเดินทางที่อาจจะมีการเปิดธุรกิจหลายอย่างที่ต้องมีการจ้างพนักงาน การลงทุนในการค้าทั้งเล็กและใหญ่จากการขยายตัวของเมือง
สิ่งเหล่านี้ผลที่ได้รับอาจจะเห็นในระยะยาว เพราะต้องมีการปรับตัว มีการลงทุนใหม่ๆให้เห็นเป็นรูปธรรมก่อนจึงจะมองได้ว่าเศรษฐกิจที่ได้รับผลพวงจากการเชื่อมตัวทุกจุดของเมืองเข้าด้วยกันส่งผลดีอย่างไรบ้าง และมีอะไรที่จะส่งผลกระทบไม่ดี ซึ่งต้องใช้เวลาแต่ที่แน่ๆคือ หวังว่าโครงการต่างๆที่อนุมัติในช่วงนี้ ที่สภาพการเมืองที่เหมือนเป็นสุญญากาศจะแล้วเสร็จก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ เพราะผลที่ได้รับทั้งหมดมันเป็นภาพรวมของเศรษฐกิจภายในประเทศ อย่างที่เราเห็นกันมาแล้วในช่วงที่มีรถไฟฟ้าใหม่ๆว่าทำให้การเดินทางในกรุงเทพสะดวกขึ้นมากแค่ไหนแม้จะบางช่วงบางตอนเพราะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด และมีการลงทุนเกิดขึ้นหลายรูปแบบ มีพ่อค้าแม่ค้ารายเล็กหลายใหญ่เกิดใหม่มากมายจากการมีรถไฟฟ้า แม้ว่าค่าโดยสารจะมีราคาสูงแต่เมื่อเทียบกับระยะเวลาที่รวดเร็วถือว่าเป็นการจ่ายที่คุ้มค่า
อ่านเพิ่มเติม >> วิเคราะห์แนวโน้มการ ลงทุนตามเส้นทางรถไฟฟ้า ตอนที่ 1 <<
ยกตัวอย่างง่ายๆผู้เขียนอยู่ชานเมืองด้านตะวันออกการเดินทางจากจุดนี้ไปยังด้านในของกรุงเทพ หรือชานเมืองย่านอื่นๆอย่างเช่นสายใต้ใหม่ หากนั่งรถเมล์ต้องเดินทางไม่ต่ำกว่า 2.30 ชั่วโมงแต่หากเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจากสถานีแถวบ้านไปยังสถานีบางหว้าเพื่อนั่งรถต่อไปยังสายใต้ใหม่ใช้เวลาเดินทางทั้งหมดเพียง 1.30 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายของรถไฟฟ้า 62 บาทต่อรถแท็กซี่จากบางหว้าอีก 80 บาท มันซื้อเวลาได้และเห็นชัดเลยว่าความสะดวกมันมีมากจริงๆ แม้บางจุดรถไฟฟ้าจะยังไปไม่ถึงแต่การเดินทางหลักด้วยรถไฟฟ้าแล้วไปเชื่อมต่อด้วยการเดินทางเส้นทางปรกติ ทำให้รวดเร็วขึ้นใครที่รอรถไฟฟ้าสายนี้อยู่คงต้องร้องเพลงรอกันต่อไปจนกว่าจะหาข้อยุติในกรณีพิพาทและดำเนินการก่อสร้างได้อย่างจริงจังแต่แว่วๆมาว่าในปีหน้าอาจจะมีการอนุมัติให้สร้างในช่วงเส้นทางศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร ใครที่อยู่ตามแนวเส้นทางนี้ก็เตรียมเฮกันได้เลยความเจริญไปหาคุณอย่างแน่นอน