สินเชื่อทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเงินสด ล้วนเป็นเงินกู้ที่ให้เฉพาะบุคคลจากธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ มุ่งตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า โดยใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน บุคคลค้ำประกันหรือไม่มีการค้ำประกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบสินเชื่อ
สินเชื่อแต่ละประเภทต้องเสียดอกเบี้ยซึ่งรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนมาก ทางเลือกหนึ่งในการลดภาระดอกเบี้ยหนี้คือการรีไฟแนนซ์ หรือ โอนหนี้สินเชื่อ และบัตรเครดิตเป็นหนี้ก้อนเดียว วิธีนี้ทำได้จริง ธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่งมีนโยบายให้วงเงินสินเชื่อใหม่เพื่อไปช่วยปลดหนี้ก้อนเดิม ซึ่งเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้กรณีที่เกิดปัญหาทางด้านการเงิน หรือมีภาระค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถผ่อนงวดได้ตามปกติ
นอกจากนี้ยังมีบริการโอนหนี้บัตรเครดิตมาเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าบัตรเครดิต มีกำหนดการชำระผ่อนตามอัตราที่กำหนดเป็นรายเดือน ทำให้วางแผนการชำระหนี้และวางแผนการใช้จ่ายได้ง่ายกว่า หากยังคงติดหนี้บัตรเครดิต อาจรูดบัตรใช้ต่อไปโดยไม่คิด หนี้สินพอกพูนไม่มีวันจบ
ปัจจุบันธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ โน้มน้าวให้ลูกค้าย้ายโอนยอดหนี้สินเดิมมาปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ สามารถรวมหนี้สินเชื่อและบัตรเครดิตรวมเป็นก้อนเดียวกัน โดยลดดอกเบี้ยและลดเงินต้น
นอกจากเป็นการช่วยปลดหนี้จากธนาคารอื่น ช่วยต่อลมหายของลูกค้าได้มีเวลาจัดการวางแผนปลดหนี้ให้ง่ายและสบายมากขึ้นแล้ว หลายแห่งยังมีข้อเสนอโปรโมชั่นดึงดูดใจ เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำ 10% ในปีแรก ช่วยลดภาระการผ่อนชำระต่อเดือนลง ส่วนปีถัดไปจะปรับเพิ่มดอกเบี้ย ซึ่งอาจมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าหนี้เดิม หรือเท่ากับหนี้บัตรเครดิตก็ได้ ทางธนาคารจึงได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ปรึกษากับทางธนาคารนั้นแล้ว
โดยธนาคารแต่ละแห่งจะมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ และเงื่อนไขวงเงินให้กู้และอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน บริการโอนหนี้โดยทั่วไปสามารถโอนยอดคงค้างของหนี้สินทั้งหมดรวมกันได้ 3-5 สถาบันการเงิน ควรพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ให้รอบคอบ แล้วเลือกธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวที่ต่ำที่สุด
ก่อนการ โอนหนี้สินเชื่อ ต้องหาข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดและเปรียบเทียบรายละเอียด ก่อนเลือกสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยได้ง่ายขึ้น ดังต่อไปนี้
- วงเงินกู้ที่แต่ละธนาคารให้กู้ บางธนาคารให้กู้สูงถึง 80-100% เท่ากับภาระหนี้คงเหลือปัจจุบัน
- เปรียบเทียบ MLR ของแต่ละธนาคาร
- อัตราดอกเบี้ยปีแรก ส่วนใหญ่แล้วจะค่อนข้างต่ำ แต่จะอยู่ในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น โดยมากระหว่าง 1-3 ปีตั้งแต่การโอนยอดหนี้ได้รับการอนุมัติ หากเกินไปกว่านั้นยังไม่สามารถปิดหนี้ได้ ก็ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยปีต่อ ๆ ไป เพื่อใช้ในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ต้องจ่ายตลอดอายุการผ่อนชำระ ซึ่งปลอดภัยสำหรับการเลือกสินเชื่อได้ประหยัดที่สุด
- เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เช่น ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ โดยปกติคิดค่าธรรมเนีย 0.10% – 0.25% ปัจจุบันธนาคารหลายแห่งยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ เพื่อดึงดูดใจลูกค้า
- ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนก่อนกำหนด โดยส่วนมากจะหัก 2%-3% ของวงเงินกู้ทั้งหมด เป็นค่าปรับเพื่อชดเชยการขาดรายได้นั่นเอง
- ในกรณีที่โอนหนี้แล้วไม่สามารถจ่ายขั้นต่ำได้อีก ธนาคารอาจยกเลิกอัตราดอกเบี้ยพิเศษของการโอนยอดหนี้ ซึ่งทำให้ดอกเบี้ยสูงเท่ากับอัตราเดิมของเจ้าหนี้เดิม หมายความว่าการโอนสินเชื่อไม่ก่อประโยชน์เลย แม้แต่น้อย ทั้งยังเพิ่มค่าใช้จ่ายจิปาถะมาเป็นภาระเพิ่มเติมอีก
ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้กู้ ในด้านรายได้และมีความสามารถในการผ่อนชำระ อาชีพ รายรับทางบัญชี ที่สำคัญคือมีประวัติการชำระหนี้ดี ไม่มีประวัติค้างชำระเกิน 3 เดือนติดต่อกัน และไม่ติดบัญชีดำเครดิตยูโร บางธนาคารต้องมีหลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกันด้วย
หลักเกณฑ์ของการ โอนหนี้สินเชื่อ ทุกประเภทนั้น มีขั้นตอนคล้ายกับการยื่นขอสินเชื่อใหม่ โดยสถาบันการเงินจะพิจารณายอดหนี้เก่าซึ่งมีวงเงินไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด เอกสารประกอบารสมัครโอนหนี้สินเชื่อ มีดังนี้
กรณีที่ผู้ขอโอนหนี้เป็นข้าราชการ พนักงานบริษัท หรือรัฐวิสาหกิจ
- สำเนาบัตรประชาชน ( หรือสำเนาบัตรข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ)
- หนังสือรับรองเงินเดือน หรือใบสำคัญแสดงการจ่ายเงินเดือนล่าสุด
- สำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่มีบัญชีย้อนหลัง 3 เดือนที่แสดงรายงานเงินเดือนเข้า
- สำเนาทะเบียนบ้านในกรณีที่ใช้สำเนาบัตรข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ
- ใบแจ้งยอดหนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อ (ฉบับตัวจริง ไม่เกิน 2 เดือน)
กรณีที่ผู้ขอโอนหนี้เป็นเจ้าของกิจการ หรือผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว
- สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล หรือทะเบียนการค้า หรือมีใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ถ้ามี)
- สำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่มีบัญชีอยู่
หลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินบางแห่งไม่ค่อยเข้มงวด หลังจากโอนหนี้บัตรเครดิตมาเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลแล้ว จะมีบัตรเครดิตให้ใช้ควบคู่กันไปด้วย โดยจำกัดวงเงินไม่มากเพื่อป้องกันการก่อหนี้เสียซ้ำ หรือการโอนหนี้ไปยังสถาบันการเงินอื่น ทำให้ยังเหลือเงินไว้ใช้ยามจำเป็นอีกด้วย
ในกรณีของการโอนสินเชื่อเฉพาะผู้กู้เพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารชุด มีรายละเอียดและอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน โดยทั่วไปจะให้วงเงินกู้สูงสุดสำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภท ยกเว้นอาคารชุด 90%-95% ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อขาย แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ส่วนวงเงินกู้สูงสุดสำหรับอาคารชุด 80%-90% ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อขาย
การแบ่งช่วงวงเงินและอัตราส่วนลดดอกเบี้ย ของแต่ละธนาคารแตกต่างกันและอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เป็นครั้งคราว รายละเอียดด้านคุณสมบัติของผู้กู้แต่ละราย อาชีพ และประวัติการผ่อนชำระที่ผ่านมา อาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติมจากที่ธนาคารกำหนดเมื่อระยะเวลาผ่านไป ควรสอบถามแต่ละธนาคารอีกครั้ง นอกจากนี้ยังต้องถามถึงอัตราดอกเบี้ยโปรโมชั่นและอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ธนาคารอาจเสนอให้ลูกค้าประจำ หรือลูกค้าพิเศษเป็นครั้งคราวอีกด้วย