อย่ารอให้อายุเริ่มอยู่ในช่วงปลายของการทำงาน แล้วค่อยมานั่งวางแผนว่าจะต้องมีอะไรบ้างถ้าหากเราไม่ทำงาน…. เรามาเริ่ม วางแผนก่อนเกษียณ ตั้งแต่ตอนนี้กันเลยดีกว่าว่า ถ้าเราไม่ทำงานแล้วเราจะมีเงินที่ไหนมาใช้บ้าง… เพื่อความสบายใจ และไม่ต้องเป็นภาระให้ลูกหลานของเรา รวมทั้งเราจะได้เป็น ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ในวันข้างกันอีกด้วย
-
ต้องการเงินเท่าไร ?
ก่อนอื่นเราก็ต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าถ้าเราไม่ทำงานแล้วในแต่ละวันเราจะต้องใช้เงินเท่าไร แล้วเราคาดว่าเราจะมีอายุได้กี่ปีหลังจากเกษียณอายุ เราจะมีโรคภัยไข้เจ็บอะไรบ้าง มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง สามารถใช้สิทธิหรือสวัสดิการการรักษาพยาบาลของที่ไหน หรือจะต้องจ่ายเองทั้งหมด ซึ่งแบบสำรวจนี้เราสามารถหาได้จากเว็บไซต์ของ บลจ.เกือบทุก บลจ. หรือจะเป็นที่เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เป็นการให้ความรู้แก่ผู้ลงทุนก็ได้
-
มีเงินออมหรือยัง ?
เมื่อรู้ตัวเองแล้วว่าต้องการเงินเท่าไร เราก็ต้องมาดูว่าเงินออมของเราที่มีอยู่มันใกล้เคียงกับที่เราประมาณการไว้หรือเปล่าหากเราเกษียณอายุไปแล้ว ที่แน่ๆ ที่เราเกือบทุกคนจะได้รับตามกฎหมายก็คือ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เราสามารถตรวจสอบยอดเงินของเราได้จากรายงานเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะออกให้เราทุก 6 เดือน เงินกองทุนประกันสังคม แต่ถ้าหากเป็นข้าราชการก็จะเป็นเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เงินชดเชยเมื่อออกจากงาน โดยตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานปี 2541 ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างที่หมดสัญญาจ้างด้วยเหตุเกษียณอายุ ซึ่งก็จะมีอัตราการจ่ายแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ
อ่านเพิ่มเติม >> กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ข้อดีของผู้เกษียณอายุ <<
แหล่งเงินออมที่เราสามารถสร้างได้เองก่อนที่จะเกษียณอายุ คือ การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) การซื้อประกันชีวิต ซึ่งทั้ง 3 ตัวนี้ถ้าเราลงทุนไว้เรายังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีก ส่วนเงินออมประเภทอื่นๆ ก็จะได้แก่ เงินฝากธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยดีๆ กองทุนรวมต่างๆ ที่ให้ผลตอบแทนตามที่เราต้องการ หรือจะเป็นการลงทุนในหุ้นปันผล ที่ทำให้เรามีเงินเข้าอย่างน้อยก็ปีละ 1 ครั้งจากเงินปันผล
-
บริหารเงินเป็นมั้ย ?
เมื่อมีเงินออมแล้วก็จะต้องรู้จักที่จะบริหารเงินให้เป็นด้วย รู้จักแบ่งพอร์ตเงินออมของตัวเองให้เหมาะสมกับช่วงอายุของคนเกษียณด้วย เมื่ออายุมากขึ้นเราการลงทุนของเราก็ควรจะเน้นไปที่เรื่องความปลอดภัยของเงินต้นและสามารถสร้างรายได้ให้เราอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว ไม่ควรนำไปลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงในสัดส่วนที่สูงมากเกินไป เพราะถ้าหากขาดทุนแล้วจะกระทบต่อเงินที่เราเก็บไว้ใช้จ่ายประจำวันได้ เพราะเมื่อเกษียณอายุไปแล้วเราจะไม่มีเงินจากการทำงานประจำมารองรับอีกแล้ว
เพราะฉะนั้นพอร์ตการลงทุนของเรายามที่เกษียณอายุแล้วก็น่าจะเป็นการลงทุนในเงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้ระยะสั้น ประเภทตั๋วเงินคลัง หรือจะเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ก็ได้ และนอกจากที่เราจะเน้นเรื่องการลงทุนแล้ว เราควรจะต้องมาดูสภาพคล่องของเราด้วย และเราก็ควรที่จะแบ่งเงินไว้เป็นเงินสำรองยากฉุกเฉินด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเราเจ็บป่วย ที่ส่วนใหญ่จะแนะนำให้เราแบ่งเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินประมาณ 7.5 เท่าของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งเราอาจจะเลือกเก็บในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่สามารถเบิกถอนมาใช้ได้อย่างสะดวก
-
ป้องกันความเสี่ยงไว้ดีหรือยัง ?
เมื่อมีเงินออมแล้วก็อย่าลืมที่จะป้องกันความเสี่ยงให้ตัวเองด้วยการซื้อประกันต่างๆ เผื่อไว้บ้างก็ดี เพราะสมัยนี้เกือบ 90% ของนายจ้างส่วนใหญ่ที่เมื่อพนักงานเกษียณอายุไปแล้วก็คือจบกัน จะไม่มีการจ่ายเงินบำนาญรายเดือนและดูแลเรื่องรักษาพยาบาลให้อีกต่อไป และเมื่ออายุมากขึ้นโรคต่างๆ ก็ถามหากันมากขึ้น การทำประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรงต่างๆ รวมถึงประกันอุบัติเหตุก็จะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับเรามากอยู่ทีเดียว
ดังนั้นอยากเป็นผู้เกษียณอย่างมีคุณภาพอย่าลืมสำรวจตัวเองและเตรียมความพร้อมไว้แต่เนิ่นๆ กันนะ
อ่านเพิ่มเติม >> ยังหนุ่มยังสาว ทำไมต้องคิดถึง การเงินวัยเกษียณ ? <<
จะวางแผนชีวิตช่วงหลังเกษียณ อย่าลืมทำประกันไว้ด้วย เจ็บป่วยเมื่อไหร่ ก็หมดห่วงเรื่องค่ารักษา ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก!