ประกันภัยมีหลายแบบหลายประเภทและหลายยี่ห้อ แต่ละบริษัทประกันออกสินค้าประกันภัยมามากมายจนอาจทำให้หลายคนสับสน เพราะประกันหลายอย่างเป็นประกันเสริม ซึ่งต้องมีประกันหลักก่อน สำหรับประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายโดยเฉพาะโรคร้ายแรงรวม 40 โรคก็เป็นประกันเสริมเช่นกัน ดังนั้นผู้ทำประกันต้องมีประกันชีวิตหลักเสียก่อน ทั้งนี้ทุนประกันมักแปรผันตามกัน เช่น ถ้ามีประกันชีวิตหลักเบี้ยสูงอยู่แล้ว มักจะทำประกันโรคร้ายเบี้ยสูงด้วย ซึ่งทั้งนี้อาจไม่จำเป็น อยู่ที่เราเลือกส่วนประกันเสริมเองและผู้ที่ทำประกันโรคร้าย 40 โรค มักทำประกันสุขภาพร่วมด้วยเสมอ
แต่ก่อนการซื้อประกันเสริมใด ๆ โดยเฉพาะประกันโรคร้าย ส่วนใหญ่บริษัทประกันไม่ได้ต้องการใบตรวจสุขภาพเพื่อสมัครประกันเสริม ยกเว้นบริษัทประกันที่เข้าร่วมโปรแกรมกับองค์กรบริษัท มักมีการแชร์ข้อมูลจากผลตรวจร่างกายก่อนเข้าทำงานอยู่แล้ว หากเป็นโรคร้ายอย่างติดเชื้อ HIV หรือมีประวัติโรคร้ายอื่น ๆ ทางบริษัทประกันอาจปฏิเสธการทำประกันของผู้ยื่นขอทำประกันได้
แต่ในกรณีที่สมัครเองถึงแม้บริษัทประกันไม่ได้ต้องการผลตรวจสุขภาพจากทางโรงพยาบาล แต่ก็จะถามคำถามเกี่ยวกับสุขภาพเล็กน้อย เช่น เข้ารับการผ่าตัดในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้หรือไม่ เคยมีประวัติในเครือญาติเป็นโรคมะเร็งหรือเคยเป็นมะเร็งหรือไม่ ซึ่งถ้าตอบผ่านทั้งหมดก็ไม่มีปัญหาสำหรับการทำประกัน แต่หากไม่ผ่าน เช่น เคยมีประวัติโรคร้ายมาก่อน ทางประกันจะไม่รับเลย ถ้าเราเคยเป็นโรคร้ายมาก่อนแต่ปิดบังไม่ยอมแจ้งข้อมูล แล้วเกิดเป็นโรคนั้นซ้ำขึ้นมา ทางบริษัทประกันก็จะตรวจสอบข้อมูลกับทางโรงพยาบาล
อ่านเพิ่มเติม >> ประกันสุขภาพ ทำแล้วได้อะไร ? <<
โรคร้ายแรงที่ประกันคุ้มครอง ที่มีรายชื่ออยู่ในแผนประกันภัย 40 โรค บางโรคเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันดี แต่บางโรคจำเป็นต้องทำความรู้จักเพิ่มเติม ซึ่งบางโรคอาจบ่งเป็นลักษณะอาการ บางโรคเป็นกลุ่มของโรคที่ต่อเนื่องกัน ถ้าใครไม่มีภาวะเสี่ยงหรือเป็นกรรมพันธุ์ของโรคที่ 1 ก็อาจจะไม่เป็นโรคหรืออาการที่ 2 3 4 หรือ 5 ได้ เป็นต้น
รายชื่อ โรคร้ายแรงที่ประกันคุ้มครอง มีดังนี้
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายครั้งแรกจากการขาดเลือด (First Heart Attack) การหยุดเต้นของหัวใจที่เกิดจากกล้ามเนื้อตายเพราะขาดเลือด เป็นอาการหัวใจวายชนิดหนึ่ง
- การผ่าตัดเส้นเลือดกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery Surgery)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (Cardiomyopathy) ส่งผลให้การเต้นของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ (Surgery to the Aorta)
- ความบกพร่องทางระบบประสาทอันเนื่องมาจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง (Stroke) หลอดเลือดสมองตีบ
- โรคระบบประสาทมัลติเพิลสเคอโรสิส (Multiple Sclerosis) หรือโรคปลอกประสาทอักเสบ หรือหลาย ๆ คนเรียกว่าโรค MS ซึ่งมีอาการเหน็บชา เห็นภาพซ้อน เดินทรงตัวไม่ดี
- โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterail Meningitis)
- โรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (Viral Encephalitis)
- ภาวะสมองใหญ่ไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างการตามปกติอย่างถาวร (Persistent Vegetative State or Apallic Syndrome) สมองส่วนหลักขาดการควบคุม
- โรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s Disease) โรคอัลไซเมอร์
- โรคระบบประสาทพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
- มะเร็ง (Cancer)
- เนื้องอกในสมอง ชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง (Benign Brain Tumor)
- การผ่าตัดสมองอันเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm Requiring Brain Surgery)
- การสลบหรือหมดความรู้สึกสติสัมปชัญญะ (Coma)
- การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง (Major Head Injury)
- รากโครงข่ายประสาท Brachial ฉีกขาด (Multiple Root Avulsions of Brachial Plexus)
- โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม (Motor Neurone Disease) ส่งผลให้เกิดโรคกล้ามเนื้อประสาทอ่อนแรง ALS
- โรคปอดระยะสุดท้าย (Viral Encephalitis)
- ความดันหลอดเลือดแดงปอดสูง (Pulmonary Hypertension)
- โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต (Aplastic Anaemia) ทำให้ไม่มีเม็ดเลือดแดง
- อัมพาต (Paralysis)
- โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)
- ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง (Severe Rheumatoid Artris)
- โปลิโอ (Poliomyelitis)
- ไตวาย (Kidney Failure) ไตหยุดทำงานซึ่งอาจเกิดจากอาการอย่างอื่นนำมาก่อน
- ตับวาย (Liver Failure) ตับหยุดทำงานซึ่งอาจเกิดจากอาการอย่างอื่นนำมาก่อน
- ไวรัสตับอักเสบชนิดรุนแรง (Fulminant Viral Hepatitis)
- ภาวะตับอ่อนอักเสบที่กลับมาเป็นซ้ำและเรื้อรัง (Chronic Rela[sing Pancreatitis)
- การปลูกถ่ายอวัยวะ (Major Organ Transplant)
- การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Heart Valve Replacement Surgery)
- โรคเนื้อเยื่อพังผืดอักเสบติดเชื้อและเป็นเนื้อตาย (Necrotisting Fasciitis or Gangrene)
- โรคลำไส้อักเสบเป็นแผล (Severe Ulcerative Colitis or Cronh’s Disease)
- โรคภูมิแพ้ตัวเองชนิดซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมาโตซูส (Systemic Lupus Erythermatosus)
- ตาบอด (Blindness)
- การสูญเสียความสามารถในการพูด (Loss of Speech)
- แผลจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (Burns)
- โรคเท้าช้าง (Elephantiasis)
- การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ (Loss of Independent Living)
- การทุพพลภาพทั้งหมดอย่างถาวร (Total and Permanent Disability or TPD)
ทุกบริษัทและทุกแบบแผนการประกันภัยยกเว้นการประกันบำนาญ ส่วนใหญ่เคลมว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำก็สามารถคุ้มครองโรคร้ายได้ 40 โรคตามรายการ แต่ประกันสุขภาพเกือบจะทุกบริษัทก่อนสมัครจะต้องตอบคำถามสุขภาพเสียก่อน โดยคำถามส่วนใหญ่ถามเพื่อเช็คประวัติเจ็บป่วยของผู้ซื้อประกัน เช่น ถ้าเคยมีประวัติเป็นมะเร็ง แต่รักษาหายแล้ว ประกันอาจปฏิเสธไม่รับทำประกัน เพราะถ้าเราตั้งใจปกปิดข้อมูลโดยแจ้งว่าไม่เคยเป็น หากมีอาการเป็นเนื้อร้ายขึ้นมาซ้ำอีก ถ้าบริษัทประกันสอบเช็คประวัติกับทางโรงพยาบาล แล้วพบว่าผิดจริง บริษัทอาจยุติการประกันภัยได้
ดังนั้นก่อนอื่นต้องทราบสถานะของผู้ทำประกันว่าสามารถทำประกันได้หรือไม่ เมื่อศึกษาเงื่อนไขแต่ละกรมธรรม์แล้วก็ควรเข้าใจโรคร้ายที่กรมธรรม์ระบุไว้ด้วย ถึงแม้ว่าเป็นเรื่องที่อาจจะเข้าใจยากเพราะเป็นเรื่องทางการแพทย์ แต่ก็ควรจะเข้าใจบ้างเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ตัวเราเอง และถึงแม้ว่าโรคร้ายต่าง ๆ จะระบุโดยแพทย์ผู้ให้การรักษา แต่การรู้จักกับโรคย่อมช่วยให้เราห่างจากโรคได้ การประกันคือส่วนของประกัน แต่คงไม่มีใครอยากได้เงินประกันจากการเป็นโรคร้ายเหล่านี้แน่นอน