แนวทางเปลี่ยนความคิด ชีวิตไม่มีจน
-
ปรับความคิดใหม่ เพิ่มพลังใจ ความคิด
…คือ…จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ดังนั้น…เราต้องคิดให้เป็น และควรที่จะมีการตั้งเป้าหมายชีวิตด้วยตัวเราเอง คือ เป็นอยู่ดีขึ้น และอยู่ดีมีสุข
2. วางแผนชีวิตใหม่ แบบร่วมด้วยช่วยกัน แผนชีวิตครอบครัว คือ
ทำไมจะต้องวางแผนชีวิตครอบครัว
-เพราะเราเป็นเจ้าของชีวิต เราต้องคิดกำหนดอนาคตของเราเอง
-เพราะเราไม่ควร ให้คนอื่นมาคิดมากำหนดอนาคตให้เรา
-เพราะเราลงมือทำให้เป็นจริงได้เอง
ทำอย่างไร 5 ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะทำให้เราได้แผนชีวิต
ขั้นที่ 1 คิดถึงปัญหา และสาเหตุของปัญหา
อย่างเช่น ไม่มีบ้านของตัวเอง พ่อกินเหล้า/สูบบุหรี่ หนี้สินรุงรัง เล่นการพนัน ว่างงาน เงินไม่พอใช้ ไม่มีที่ดินทำกินเป็นต้น
ปัญหาเหล่านี้เกิดมาจากสาเหตุอะไร คือ รายจ่ายมากกว่ารายได้ ฝักใฝ่อบายมุข ขาดโอกาส ความรู้น้อย เจ็บป่วยเรื้อรัง เกียจคร้าน ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ค้นหา “ทุน ปัญญา และความเชื่อมั่น” ในตัวเอง
- เรามีความรู้ ความชำนาญ เรื่องอะไร
- มีทุนอะไรอยู่
- ความตั้งใจสูงสุดที่อยากจะทำอะไร
- เชื่อมั่นตัวเองขนาดไหน/มีกำลังใจมากน้อยเพียงใด จะแสวงหาได้จากที่ไหน อย่างไร
- เราทำอะไรได้บ้าง เราทำอะไรไม่ได้บ้าง
ขั้นที่ 3 วางเป้าหมาย กำหนดแนวทางและกิจกรรม เช่น
- แนวทางที่ 1 วางแผนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
-ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกวัน
-ควบคุมรายจ่าย/ลดรายจ่าที่ไม่จำเป็น
-ทำอาชีพเสริม รายได้
- แนวทางที่ 2 อยู่อย่างพอเพียง
-ปลูกผัก/เลี้ยงสัตว์กินเอง
-ใช้เท่าที่มี/นำส่วนที่เหลือไปเก็บออม
- แนวทางที่ 3 หลีกเลี่ยงอบายมุข
–เลิกกินเหล้า เลิกสูบบุหรี่
-เลิกเล่นการพนัน หวย
- แนวทางที่ 4 สร้างความสุขในครัวเรือน
-เลิกพฤติกรรมไม่ดีทั้งหลาย
-เลิกทะเลาะกัน
-ให้กำลังซึ่งกันและกัน
-หากิจกรรมทำร่วมกัน
- แนวทางที่ 5 หาเพื่อนร่วมคิด/ร่วมทำ
-เข้าร่วมกลุ่มต่างๆ สร้างเครือข่ายเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน
-คบเพื่อนที่ดี รวมกลุ่มทำกิจกรรมสารธารณะประโยชน์
ขั้นที่ 4 ลงมือทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่องให้เกิดผลสำเร็จ
- กำหนดกิจกรรมแนวทางวางเป้าหมายอะไรไว้ ทำให้ได้ผลอย่างจริงจัง โดยคำนึงถึงทุนที่มีอยู่
ขั้นที่ 5 ทบทวนประเมินตัวเอง เพื่อวัดระดับความสำเร็จเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
- กิจกรรมอะไรทำแล้วได้ผลดี ให้ทำต่อเนื่องอย่าละเลย เช่น การทำบัญชีรายรับ- รายจ่าย
- พฤติกรรมที่ฝึกให้เป็นนิสัย สร้างเครือข่ายเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน
-
การทำบัญชีรับ-จ่ายของครัวเรือน
-เพื่อเป็นการเตือนความจำ ว่ารับเงินอะไรบ้าง จ่ายเงินอะไรบ้าง
-เพื่อช่วยคุมรายจ่ายส่วนตัว ทำให้รู้จักประหยัด ตัดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
-เพื่อทำให้รู้ยอดเงินรายได้ และจัดแบ่งส่วนเพื่อการออม
-เพื่อช่วยในการปลดหนี้ ทำให้ชำระหนี้ทันตามกำหนดเร็วขึ้น
-เพื่อช่วยในการวางแผนการลงทุนในครั้งต่อไป จากข้อมูลที่จดไว้นั้นจะช่วยทำให้รู้ว่า ที่ผ่านมามีกำไรหรือว่าขาดทุนอย่างไร และช่วยให้รู้จักการวางแผนประกอบอาชีพได้เหมาะสม
4.ลดรายจ่าย
-นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในครัวเรือน
-ประหยัดลดพลังงาน (น้ำ/ไฟ/น้ำมัน)
-ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
-ลดละเลิกอบายมุข
-ดูแลรักษาสุขภาพ
5.แสวงหาโอกาสอยู่เสมอ
-แสวงหาข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ ตลาด ทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์
-แสวงหาความรู้เพิ่มเติม เช่น ฝึกอาชีพ ฝึกทำปุ๋ยชีวภาพ เศรษฐกิจพอเพียง วิสาหกิจชุมชน สมัครเรียนโรงเรียนแก้จน พัฒนาฝีมือ ศึกษาดูงานอาชีพ
-กลุ่มที่ประสบความสำเร็จสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ หาเพื่อช่วยคิด เช่น เครือข่าวหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เครือข่ายกลุ่มอาชีพ และ แสวงหาแหล่งเงินทุน เพื่อขยายกิจการ
-ขอคำแนะนำจากผู้รู้ ผู้ที่มีประสบการณ์ ผู้ที่ประสบความสำเร็จ ให้ความร่วมมือ ทำกิจกรรมต่าง กับชุมชน เช่น ร่วมจัดทำแผนชุมชน ร่วมกิจกรมพัฒนาเป็นสมาชิกกลุ่มๆ ต่างๆ ในชุมชน
อ่านเพิ่มเติม >> 9 ข้อน่ารู้เพื่อ เปลี่ยนชีวิต ให้ดีขึ้น ! <<