เป็นที่สะเทือนวงการยานยนต์หลังมีการปรับเปลี่ยนการเก็บ ภาษีรถยนต์ใหม่ ในปีหน้า ซึ่งแต่เดิมนั้นคิดตามเครื่องยนต์ ความจุของกระบอกสูบ วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป จะเริ่มบังคับใช้อัตราโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถใหม่เปลี่ยนมาเป็นการคิดตามอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ นั่นหมายความว่ารถที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย จะเสียภาษีต่ำกว่ารถที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาก ถ้าเราดูจากตารางด้านล่างเราจะเห็นวาส รุ่นที่เสียน้อยที่สุดอยู่ที่ 3% คือ พิคอัพ ไม่มีแคบ 3-5% ส่วนที่ต้องเสียภาษีหนักสุดคงหนีไม่พ้นรถยนต์นั่ง 30 – 40% กันเลยทีเดียว แล้วเป็นรถประเภทไหนขึ้นประเภทไหนลงไปดูกันชัดๆ
ที่มาของตาราง : กระทรวงการคลัง
อัตราการจัดเก็บแยกตามขนาดเครื่องยนต์แล้ว มีเรื่องของรถที่ใช้พลังงานทดแทนมาสร้างความแตกต่างของอัตราภาษี สนับสนุนรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตราฐานสากล หรืออีโคคาร์ อย่างชัดเจน เพราะเป็นรถที่ประหยัดน้ำมัน ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นรถที่เหมาะสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันของคนไทย
ยังรวมถึงเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 หรือ E85 ซึ่งจะมีอัตราภาษีต่ำกว่ารถใช้น้ำมันปกติ และแก๊สโซฮอล์ E10 จึงเป็นเหตุผลที่ค่ายรถพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่แนะนำสู่ตลาด สามารถรองรับน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนเหล่านี้ หรืออย่างน้อยใช้น้ำมัน E20 ได้ โดยเสียภาษีต่ำกว่ารถที่ใช้น้ำมันปกติ และ E10 ในอัตราร้อยละ 5
แต่ในโครงสร้างภาษีใหม่ที่อัตราการจัดเก็บแบ่งตามค่าการปล่อย CO2 ทำให้รถเก๋งเกือบทั้งหมดที่ใช้น้ำมัน E20 ต้องปรับราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 หมื่นบาท และหากเป็นรถใหญ่ราคายิ่งต้องปรับสูงกว่านี้มาก แม้ว่ารถเหล่านี้จะมีปริมาณการปล่อย CO2 ต่ำสุดไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตรก็ตาม และหากปล่อย CO2 มากกว่าช่วงขั้นต่ำ อัตราภาษียิ่งจะปรับขึ้นเป็นแบบขั้นบันไดสูงสุดอยู่ที่ 40% สำหรับรถที่เครื่องยนต์ไม่เกิน 3,000 ซีซี (ถ้ามากกว่าเสียอัตรา 50%)
รถใช้เชื้อเพลิง NGV
จะต้องปรับภาษีขึ้นตามโครงสร้างภาษีใหม่เช่นกัน ในอัตราเดียวกับรถใช้น้ำมัน E85 ซึ่งเดิมรถที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ติดตั้งระบบจากโรงงานที่เดิมเสียภาษีในอัตรา 20% เท่านั้น รถหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส ซีเอ็นจี หรือฮอนด้า ซิตี้ ซีเอ็นจี จึงต้องปรับราคาขึ้นตามโครงสร้างภาษีใหม่น่าจะไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นบาท
รถยนต์ “อีโคคาร์” เดิมจัดเก็บ 17% เท่ากันหมด
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร และใช้น้ำมัน E85 ได้ จัดเก็บภาษี 12%
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 14%
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100-120 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 17%
บางรุ่นอาจจะถูกเก็บภาษีลดลง
รถเก๋งแบบ SUV ไม่เกิน 3,000 CC
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30% จากเดิมจัดเก็บภาษี 25%
- ปล่อยก๊าซ 151-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 35% จากเดิมจัดเก็บภาษี 25%
- ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 40% จากเดิมจัดเก็บภาษี 30%
ส่วนใหญ่แพงขึ้นเฉลี่ย 60,000-230,000 บาท/คัน
พีพีวี ไม่เกิน 3,250 CC
(เดิมจัดเก็บภาษี 20% เท่ากันทั้งหมด)
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 3% (มีแค็บ 5%)
- ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 5% (มีแค็บ 7%)
ส่วนใหญ่แพงขึ้นเฉลี่ย 100,000 – 160,000 บาท/คัน
หลายคนตั้งคำถามว่าแล้วคำนวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์กันอย่างไร เป็นแบบไหน?
ถ้าขับรถยนต์ส่วนตัวไปกินข้าวที่ถนนสีลม จะมีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ 1.26 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซต์ ตัวเลขนี้หมายถึงถ้ามีคนขับรถไปกินข้าวที่เดียวกัน 1,000 คัน จะต้องร่วมกันปลูกป่า 1 ไร่ เพื่อชดเชยจำนวนก๊าซที่ปล่อยออกมา ส่วนสถานที่อื่นๆ จะเป็นอย่างไร หาคำตอบจากการคำนวณการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนน้ำมันเบนซิลขับไปกลับ โดยมีจุดเริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จ.กรุงเทพมหานคร ไปยังสถานที่ต่าง ๆ กัน ดังนี้
– ขับรถไปกินข้าวเที่ยวคลายร้อนที่ เกาะล้าน จ.ชลบุรี หรือเล่นน้ำตกที่ จ.นครนายก มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ 0.03 ตัน ถ้ามีรถยนต์ขับไปที่เดียวกัน 1,000 คัน เท่ากับต้องร่วมกันปลูกป่าชดเชย 7 ไร่
– ขับรถไป เกาะเสม็ด จ.ระยอง หรือ บ้านพักตากอากาศที่ หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ 0.04 ตัน ถ้ามีรถยนต์ขับไปที่เดียวกัน 1,000 คัน เท่ากับต้องร่วมกันปลูกป่าชดเชย 9 ไร่
– ขับรถไปไหว้ญาติผู้ใหญ่ พร้อมกราบเท้าย่าโม่ ที่ จ.นครราชสีมา มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ 0.06 ตัน ถ้ามีรถยนต์ขับไปที่เดียวกัน 1,000 คัน เท่ากับต้องร่วมกันปลูกป่าชดเชย 13 ไร่
– ขับรถไปเล่นน้ำสงกรานต์ที่ ถ.ข้าวเหนียว จ.ขอนแก่น มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ 0.08 ตัน ถ้ามีรถยนต์ขับไปที่เดียวกัน 1,000 คัน เท่ากับต้องร่วมกันปลูกป่าชดเชย 19 ไร่
พอจะเห็นภาพการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาบ้างกันแล้ว มันไม่ใช่ง่ายที่เราจะมาปลูกป่าชดเชยกันเป็นไร่ๆเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ภาษีใหม่นี้ จะสร้าง “มาตรฐานใหม่” ให้แก่วงการยานยนต์ไทย โดยจะกระตุ้นให้ผู้ผลิต พัฒนา และสร้างสรรค์รถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน และปล่อยไอเสียต่ำ เพื่อให้อยู่ในพิกัดภาษีที่เหมาะสม
ดังนั้น ในระยะยาว คนไทยจะได้ใช้รถยนต์ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างแน่นอน เหตุนี้จึงเชื่อว่าค่ายรถจะใช้งบตรงนี้ มาสนับสนุนส่วนต่างของราคาที่ปรับตามอัตราโครงสร้างภาษีใหม่ ทำให้ราคาอาจจะไม่ปรับขึ้นตามความเป็นจริงเสียทั้งหมด เพื่อผลักดันการขายต่อไปและไม่ให้ผู้บริโภครู้สึกเป็นการปรับราคาแรงเกินไป จนส่งผลกระทบต่อภาพรวมตลาดในปีต่อไป