คนไทยเริ่มทำงานกันที่อายุเท่าไหร่กัน แน่นอนว่าถ้าพูดถึงอายุของการเริ่มการทำงานหลายๆคนก็คงตอบแตกต่างกันออกไปแล้วแต่สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือครอบครัวของแต่ละคน แต่ถ้าวัดกันจากการนำวุฒิการศึกษาไปใช้ทำงานแล้ว เชื่อได้ว่าทุกคนต้องเริ่มการทำงานก่อนอายุ 25 ปีอย่างแน่นอน ยกเว้นกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจจะมีระยะเวลาเรียนมากกว่าปกติ ดังนั้นช่วงวัยที่ทุกคนน่าจะได้เริ่มหาเงินเองและเก็บเงินก็คือช่วงอายุ 25 ปีไปแล้วใช่หรือไม่ คำตอบของเราคือไม่ใช่ แม้ว่าการที่เราสามารถสร้างเงินเองคือหลังอายุ 25 ปีแต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปเริ่มเก็บเงินหลังอายุ 25 ปีสักนิด ดังนั้นในวันนี้เราจึงได้เตรียม แนวทางเก็บเงิน ง่ายๆในช่วงวัยรุ่นก่อนทำงานมาฝากกัน
อย่างแรกเลย พอได้เงินมาไม่ว่าจะเป็นจากกองทุน จากพ่อแม่ หรือจากการทำงานก็ตาม แบ่งออกเป็นถุงๆตามจำนวนวันเสีย แต่ละถุงประกอบไปด้วยค่าข้าว ค่าเดินทาง แบบที่ขั้นแม็กซ์ที่เต็มจะจ่าย เช่นวันนึง ใช้ประมาณ 200 บาทก็อาจจะใส่ไว้ 250 – 300 บาทไม่ใช่แบ่งไว้วันละ 500 บาท หลังจากนั้นก็แบ่งค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าและหนี้สินอื่นๆที่ต้องจ่ายประจำเดือนออกไป ส่วนที่เหลือก็เก็บให้มิด อย่านำออกมาใช้นอกจากจะเป้นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและอยู่นอกเหนือจากการวางแผนในตอนแรกเท่านั้น ซึ่งการจะทำแบบนี้ได้นั้นเราอาจจะต้องแลกแบงค์ไว้ให้เป็นแบงค์ร้อยบาทและแบงค์ยี่สิบบาทเยอะๆหน่อย อีกอย่างที่สำคัญเงินที่เราแบ่งอย่างนี้แต่ละวันมันมีเศษย่อยๆเหลือแน่นอน เศษเหล่านั้นโปรดนำไปเก็บกับเงินเก็บเสีย แบบนี้จะช่วยให้เราเก็บเงินได้มากและเร็วขึ้นนั่นเอง
อย่างที่สองที่กำลังฮิตกันตอนนี้ก็คือ การเก็บแบงค์ห้าสิบบาท เหตุผลที่เราเก็บแบงค์ห้าสิบบาทก็เพราะเป็นที่เราไม่ค่อยได้กันและเมื่อได้มาก็ไม่ค่อยได้ใช้มากนัก เพราะเรามักจะใช้แบงค์ยี่สิบบาท แบงค์หนึ้งร้อยบาท และเหรียญกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแบงค็ใหญ่ๆนั้นส่วนใหญ่เราก็แตกออกมาเป็นแบงค์ร้อยกันจนหมดเสียมากกว่า หลายคนอาจจะคิดว่าเก็บแบงค์ห้าสิบมันยาก เพราะจำนวนเงินที่เก็บเยอะมากตั้งครึ่งร้อยแหน่ะ แต่ถ้าเราใจแข็งเก็บแบงค์กห้าสิบนี้ ไม่เกินหนึ่งเดือนเราก็เก็บเงินได้หลายพันแล้วนะ
แต่บางคนก็อาจจะเลือกเก็บแบงค์ใหม่ก็ได้เช่นกัน เวลาที่เราได้เงินหรือกดเงินมามันจะมีทั้งแบงค์ใหม่และแบงค์เก่าปนกันมา ก็ทำการดึงแบงค์ใหม่มาเก็บ แต่เปอร์เซ็นต์ที่เราจะสามารถเก็บเงินได้มากเท่ากับการเก็บแบงค์ห้าสิบบาทก็อาจจะน้อยกว่า เพราะแบงค์ที่เราได้นั้นไม่ค่อยเป็นแบงค์ใหม่กัเท่าไหร่นั่นเอง นอกจากจะไปแลกที่ธนาคารโดยตรง
อย่างที่สามนี้เราเสนอให้ 2 ทาง อาจจะเลือกทำหรือทำทั้ง 2 แบบก็ได้นั่นคือ
- การหยอดกระปุกเท่าเงินที่ใช้ไปในมื้อกลางวัน
- หรือจะหยอดกระปุกเท่าจำนวนเงินที่เกินงบที่ต้องใช้ไปในตอนกลางวัน
วิธีการทั้ง 2 วิธีนี้จะคล้ายกันและมีผลต่อการกตระหนักถึงการใช้เงินของเรามาก ยิ่งเราใช้เงินในแต่ละวันมากเท่าไหร่ เงินที่เราสามารถใช้ได้ก็จะลดลงไปมากกว่าที่เราตั้งใจจากการที่เราต้องแบ่งมาหยอดกระปุกนั่นเอง ใครใช้เพลินตอนท้ายเดือนสงสัยจะได้กินแต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว ซึ่งทั้งสอง 2 วิธีนี้ก็ไม่ยากเลย หากคุณคิดที่จะเก็บออมเงินจริงๆ ล่ะก็ การเก็บเงินด้วยวิธีนี้จะเป็นอะไรที่ง่ายดายมากเลยล่ะ แถมมันยังจะทำให้ยอดเงินออมของคุณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย
อย่างที่สี่อยากเก็บเงิน แต่การเก็บเงินนั้นจะเอาไปใช้หลายๆอย่างไม่ใช่เพื่ออนาคตอย่างเดียว แต่เป็นการเก็บเพื่อนำไปใช้ในเร็วๆนี้ด้วย แบบนี้เราแนะนำให้แบ่งกระปุกออมสินกันไปเลย หากใครออมเงินบัญชีก็เปิดแยกคนละบัญชีไปเลย บัญชีไหนเก็บไว้เที่ยว บัญชีไหนเก็บไว้ซื้อของ และอีกบัญชีสำหรับเงินในอนาคตโดยเฉพาะ และเวลาฝากก็อาจจะแบ่งเปอร์เซ็นต์กันให้ชัดเจน เช่น ให้เงินที่จะเก็บเป็น 100% แบ่งเก็บสำหรับเที่ยว 20% สำหรับซื้อของ 20% และเก็บออมเพื่ออนาคต 60% เป็นต้น
อย่างที่ห้า เวลาที่เราได้เงินมาเป็นก้อนใหญ่ มีเศษเท่าไหร่ก็แบ่งมาเก็บเลย เช่น ได้มา 12,580 บาท เราก็เอาเงินเฉพาะหลักร้อย หลักสิบและหลักหน่วยมาเก็บนั่นเอง วิธีนี้อาจจะเก็บได้น้อยหน่อย แต่ก็ดีกว่าไม่ได้เก็บจริงไหม อีกอย่างการเก็บเงินแบบนี้ยังทำให้เรารู้สึกสนุกกับการเก็บออมเงินมากขึ้นทุกวันอีกด้วย
ทั้ง 5 วิธีที่เราได้บอกไปนั้นเป็นวิธีการง่าย และมันจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อทำทุกวันเท่านั้น ดังนั้นอย่าได้ล้มเลิกความตั้งใจง่ายๆ และทำไปเรื่อยๆ ก็จะสามารถเก็บเงินได้เองนั่นเอง ใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มเก็บออมเงินอย่างไร ลองนำ 5 วิธีนี้ไปทำกันดูนะคะ รับรองว่าอนาคตของคุณจะมีเงินเหลือใช้เป็นก้อนอย่างแน่นอน แถมชีวิตช่วงวัยเกษียนยังเป็นวัยที่มีความสุขและสุขสบายอีกด้วยนะ
เพิ่มเติม : บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ แคชแบ็ก คืนเงินทุกการใช้จ่าย