ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ในปี 2558 ถือว่ามีส่วนของการเติบโตขึ้นมาเล็กน้อย แต่ก็ถือว่ามีภาวะที่ดีมากกว่าหลาย ๆ คนคาดการณ์ไว้ ถึงแม้จะมีความผันผวนทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรกที่เป็นผลกระทบอยู่บ้าง แต่ก็กลับมาฟื้นตัวได้ดีกว่าในปีที่แล้ว เพราะภาครัฐได้มีการหนุนในเรื่องของโครงการงานก่อสร้างอยู่เรื่อย ๆ เป็นระยะ โดยเฉพาะในตลาดคอนโดที่ถือว่ามีการคาดการณ์ว่าน่าจะมีความเชื่อมั่นจากผู้ซื้ออย่างเห็นได้ชัด และมีอัตราการเติบโตของคอนโดถึง 500,000 กว่ายูนิต หรือมากกว่าในปี 2557 อยู่ประมาณ 20% แต่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในต่างจังหวัดจะกลับลดลง แต่จะมาเน้นในกรุงเทพมากขึ้น ซึ่งทำเลยอดฮิตในการสร้างยังคงเป็นทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าต่าง ๆ รวมไปถึงทำเลตามแนวรถไฟฟ้าที่กำลังสร้างส่วนขยายก็เริ่มมีโครงการผุดขึ้นอย่างมากมายเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม >> วิเคราะห์แนวโน้มการ ลงทุนตามเส้นทางรถไฟฟ้า ตอนที่ 1 <<
นอกจากนี้ในหลาย ๆ เส้นทาง รับบาลก็ได้มีแผนการเปิดประมูลที่จะช่วยกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยให้ได้มีการขยายตัวออกไปจามแนวเส้นทางเหล่านั้นมากขึ้น และตัวผู้ประกอบการเองก็ต้องมีการควบคุมราคาไม่ให้สูงมากจนเกินไป ต้องมีราคาที่ผู้บริโภคจะสามารถมีกำลังมาซื้อได้ แต่ด้วยความที่พื้นที่เริ่มมีความเจริญที่มากขึ้นจึงทำให้ราคานั้นอยู่ที่ 200,000-300,000 บาทต่อตารางเมตรเลยทีเดียว จึงทำให้ราคาในตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นก็อาจจะต้องมีการเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ เช่นกัน ในตลาดของอาคารและสำนักงานต่าง ๆ ก็ยังคงขยายตัวกันอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 โดยราคาค่าเช่าและอัตราการให้เช่าพื้นที่นั้นก็มีการปรับเพิ่มขึ้นด้วย แต่ก็ยังมีการสร้างกันอยู่ตลอด โดยเฉพาะตามจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ในจุดเด่น ๆ ทำเลดีที่สามารถรองรับกำลังการซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างจังหวัดตามชายแดนก็มีการเข้าสร้างอาคารและสำนักงานที่เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ก็เป็นผลพวงมาจากการที่ประเทศไทยได้ประกาศเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือว่า AEC นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังถือว่าภาพรวมในปี 2558 นั้นถือว่าใช้ได้อยู่ แต่ก็ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด เพราะยังมีความผันผวนสูงในเรื่องของตลาดการส่งออกที่ซบเซาลง และเศรษฐกิจในประเทศที่มีการขยายตัวอย่างช้า ๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือความเชื่อมั่นของคนภายในประเทศต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ก็เป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อตลาดที่อยู่อาศัยอย่างมาก ถ้าความเชื่อมั่นกลับมาได้เหมือนเดิมก็จะยิ่งทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาสดใสและเฟื่องฟูได้อย่างแน่นอน
อ่านเพิ่มเติม >> โอกาสทางธุรกิจ จาก AEC ที่ไม่ควรพลาด <<
แต่พอมาถึงปลายปี 2558 สถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาประสบปัญหาการชะลอตัวลงอีกครั้ง เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศกลับมีการฟื้นตัวได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ความสามารถในการซื้อของผู้บริโภคจึงมีอัตราที่ลดลง และสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เคยปล่อยกู้เรื่องที่อยู่อาศัยก็เริ่มมีการอนุมัติที่ระมัดระวังกันมากขึ้น จึงส่งผลให้ธุรกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ ก็ต้องชะลอตัวลงไปด้วย ซึ่งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาทางภาครัฐจึงได้มีการออกแถลงข่าวมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์อีกครั้ง เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาระรายจ่ายของประชาชนผู้ทีมีภาระในเรื่องที่อยู่อาศัยที่มีรายได้น้อย และยังช่วยบรรเทาผลกระทบต่าง ๆ ในตัวผู้ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยมาตรการทางการเงินที่ผ่อนปรนการอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และมาตรการการลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการซื้อที่อยู่อาศัย เช่น การลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยและลดค่าจดจำนองลงให้เหลือร้อยละ 0.01 นอกจากนี้ก็ยังมีมาตรการทางภาษีสำหรับผู้ที่ซื้อที่อยู่อาศัยหรือบ้านหลังแรกในราคาที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และยังสามารถเอาวงเงินนี้มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ถึงร้อยละ 20 ของมูลค่าที่อยู่อาศัยเป็นระยะ 5 ปี
ซึ่งข่าวการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลที่มีมาเป็นระยะ ๆ นั้นก็สามารถที่จะทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยสามารถขยับตัวได้ที่ละเล็กละน้อยไปเรื่อย ๆ ได้เช่นกัน เพราะนอกจากจะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยแล้ว ก็ยังเป็นการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางให้สามารถที่จะเข้าถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้อย่างดีมากขึ้น จึงจะเป็นการช่วยปรับสมดุลให้แก่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ดำเนินไปอย่างคล่องตัว และมีการปรับสมดุลของตลาดมากขึ้น เพราะในปี 2558 นั้นได้มีปัญหาเรื่องของจำนวนที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ยังคงเหลือและคงค้างจากการขายไม่ออกสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก