ทุกคนย่อมต้องการมีทรัพย์สินเงินทองมากมายเพื่อใช้จ่ายซื้อสิ่งที่อยากได้และใช้จ่ายยามจำเป็น แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถบริหารจัดการเงินที่หามาได้ ให้สามารถเพิ่มพูนได้มากที่สุด หรือที่เรียกว่า ให้เงินบริหารเงินเพื่อสร้างเงินด้วยตัวของมันเอง โดยการบริหารจัดการเงินหรือการวางแผนการเงินอย่างการจัดสรรการใช้จ่าย ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ยากเสมอไปหากมีความรู้ความเข้าใจทางการเงิน แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะมีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเสมอไป เพราะหากไม่ได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องยากหากมีความตั้งใจ และพร้อมเปิดรับความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งยังสามารถให้คำแนะนำในสิ่งที่เข้าใจและได้ลองปฏิบัติมาก่อนให้แก่ผู้อื่นได้ด้วย
การวางแผนการเงิน หากอธิบายอย่างคร่าว ๆ คือ การทำแผนการจัดการเงินรายได้ เงินสะสม และเงินส่วนอื่น ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งได้จากแหล่งที่มาที่แตกต่างกันไป เพื่อนำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ด้วยวิธีการจัดสรรเงินเพื่อใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม การสร้างเงินให้เพิ่มขึ้น และการลดรายจ่ายด้วยการลงทุนในสิ่งที่ลดหย่อนภาษี ซึ่งหากต้องการวางแผนทางการเงินเบื้องต้นก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการง่าย ๆ เพียงซื้อหนังสือเกี่ยวกับการจัดการวางแผนการเงิน การลงทุนในส่วนต่าง ๆ เทคนิคการลดหย่อนภาษี หรือสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการแนะนำทางวิชาการ ประสบการณ์จริงของผู้เขียน นอกจากนั้นอาจได้จากการสอบถามโดยตรงจากบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์
อ่านเพิ่มเติม >> รู้รอบเรื่องบริหารเงินกับ โค้ชการเงิน จักรพงษ์ เมษพันธุ์ <<
ทั้งหมดที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้ล้วนเป็นแนวทางที่ช่วยให้สามารถวางแผนการเงินได้ อย่างไรก็ตามการปฏิบัติด้วยตนเองก็ทำให้ประสบความสำเร็จเพียงส่วนหนึ่งอย่างการจัดสรรเงินและการใช้จ่ายส่วนตัวได้อย่างเหมาะสม แต่หากต้องการสร้างผลตอบแทนจากเงินที่มีอยู่ให้เพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากการลงทุนทั่วไปอย่างการฝากเงินในสถาบันการเงินแล้ว ก็ควรจะหาผู้ช่วยหรือโค้ชที่มีประสบการณ์ มีความรู้มากพอให้คำแนะนำวางแผนทางด้านการเงินเพิ่มเติม ซึ่งผู้ช่วยหรือโค้ชจะสอนเทคนิค ขั้นตอน กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การจัดสรรเงินรายได้ การใช้จ่ายเงิน การลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ การเพิ่มพูนเงินจากกิจการการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน การประหยัดภาษี การลดต้นทุนค่าใช่จ่ายของบริษัท (กรณีเป็นนิติบุคคล) การแนะนำด้านการบริหารจัดการหนี้สิน (หากมีภาระหนี้เงินกู้) หรืออาจสรุปโดยรวมคือการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน การสร้างผลกำไร การใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการจัดการลดหนี้สิน หรือ ก่อหนี้เพื่อเพิ่มเงินได้ให้สูงขึ้น
สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ ไม่ทราบเทคนิคทางการเงิน ผู้ช่วยหรือ โค้ชแนะนำวางแผนการเงิน จะมีข้อแนะนำประมาณ 2 ส่วนหลัก ๆ คือ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดังนั้นแนวทางดำเนินการเพื่อเพิ่มรายได้พร้อมลดค่าใช้จ่ายมี ดังนี้
1.แนวทางเพิ่มรายได้
การเพิ่มรายได้คือการใช้เงินที่มีอยู่ในการสร้างผลตอบแทนหรือสร้างเงินให้เพิ่มขึ้น ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำจนถึงสินทรัพย์เสี่ยงสูง โดยสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝากประจำ เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประเภทลดหย่อนภาษี ตั๋วเงิน B/E พันธบัตรรัฐบาลอย่างพันธบัตรกระทรวงการคลังหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และสินทรัพย์สภาพคล่องประเภทอื่นที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้เร็วโดยที่เงินต้นไม่ลดลงแต่ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามหากลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำก็จะได้รับผลตอบแทนที่ต่ำเสมอ สำหรับสินทรัพย์เสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนที่ลงทุนในตลาดเงินอย่างหุ้นกู้เอกชนคุณภาพเครดิตสูงที่ได้รับความน่าเชื่อถือทั้งในและต่างประเทศ กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้อย่างตั๋วเงินของบริษัทหรือสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสินทรัพย์เสี่ยงปานกลางจะมีความเกี่ยวพันกับอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นความเสี่ยงประเภทหนึ่งที่มีความผันผวนตลอดเวลาและยิ่งเป็นการลงทุนในต่างประเทศที่ผลตอบแทนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายรัฐบาล การเงินการคลัง การเงิน และภาวะเศรษฐกิจในประเทศนั้น ๆ
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นตัวแปรที่เพิ่มความเสี่ยงให้สินทรัพย์ประเภทนี้ไปในตัว อย่างไรก็ตามเมื่อความเสี่ยงสูงขึ้น ผลตอบแทนก็ย่อมสูงตามไปด้วย สำหรับสินทรัพย์เสี่ยงสูง จะเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากเพราะผันผวนตามภาวะตลาด ปัจจัยภายในภายนอกบริษัท และประเทศสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เกิดการขาดทุนแก่นักลงทุนที่อาจจะไม่ได้รับเงินต้นที่ลงทุนไปกลับคืนหรือได้ลดลง และอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดอย่างเช่น การลงทุนในหุ้น กองทุนที่ลงทุนในหุ้น กองทุนที่ลงทุนในทองคำ กองทุนที่ลงทุนในน้ำมัน กองทุนที่ลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เป็นต้น ซึ่งเงินที่ลงทุนไปในสินทรัพย์ทั้งสามประเภทสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนได้เพิ่มมากขึ้น หากมีผู้คอยชี้แนะการใช้เงินในการลงทุน
นอกจากนั้นอาจเพิ่มรายได้โดยการลงทุนในทองคำ การซื้อสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนอย่างลิขสิทธิ์ สัมปทานเพื่อการดำเนินธุรกิจ การลงทุนสินทรัพย์ถาวรในแหล่งทำเลที่ตั้งที่ดี เพื่อใช้ในการสร้างรายได้ในอนาคตอย่างการให้เช่า หรือการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย โดยผู้ช่วยจะช่วยวิเคราะห์ตลาด นโยบายรัฐบาล และส่วนอื่น ๆ ความเป็นไปได้ของผลตอบแทนเกิดขึ้นเมื่อลงทุน
-
แนวทางลดรายจ่าย
การลดค่าใช้จ่าย คือ การใช้เงินที่มีอยู่ในทางที่เหมาะสม และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อใช้ไปแล้ว มีวิธีการ คือ ต้อง เริ่มต้นการจัดสรรเงินรายได้เป็นส่วนต่าง ๆ เพื่อสามารถกำหนดการใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม เช่น เพื่อการใช้จ่ายประจำ เพื่อการใช้จ่ายฉุกเฉิน เพื่อการใช้จ่ายพิเศษ เพื่อการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน เป็นต้น โดยจะต้องแบ่งเงินในแต่ละสัดส่วนให้เหมาะสม และต้องมีวินัยในการใช้จ่าย ห้ามใช้จ่ายเกินจากที่กำหนดยกเว้นกรณีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งสิ่งนี้ผู้ช่วยสามารถแนะแนวทางเพิ่มเติมให้แก่ผู้ต้องการแบ่งเงินเป็นส่วนต่าง ๆ ได้ โดยเงินในส่วนการลงทุนสามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อลดรายจ่ายอย่างการจ่ายภาษีประจำปีได้ เช่น การลงทุนในกองทุน LTF หรือ RMF การลงทุนในประกันชีวิตสะสมทรัพย์หรือบำนาญ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้มีรายได้ไม่มาก และมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ อาจไม่จำเป็นตัวมีผู้ช่วยหรือโค้ชคอยแนะนำการวางแผนการเงิน แต่ค่อย ๆ เรียนรู้ ฝึกฝนด้วยตนเองก่อน เพียงแค่คิดแล้วลองปฏิบัติจริง ที่สำคัญ ต้องประเมินผลเพื่อการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ การกระทำที่ต่อเนื่องเท่านั้น จึงจะเห็นผลชัดเจน