ศูนย์วิเคราะห์ทางการเงิน ได้คาดเดาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย ปี 2559 เอาไว้ว่า ในภาคการเกษตร รายได้จากการส่งออก พืชเศรษฐกิจ 2559 ของไทยจะตกตำ่ลงมากกว่าปีที่แล้ว และมีรายได้สูญหายจากระดับท้องถิ่นมากถึงราวๆ 4.5 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว
ซึ่งผลกระทบนี้อาจกระจายออกเป็นวงกว้างในระดับท้องถิ่น อาจส่งผลให้ชาวบ้านเลิกประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลายราย และเมื่อมีจำนวนเกษตรกรลดลง ย่อมหมายถึงจำนวนของผลผลิตที่ลดลงตามมาด้วย สินค้าเกษตรกรรมหลักทั้ง 5 ชนิดอาจไม่เพียงพอที่จะส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศได้ในช่วงปีนี้ เพราะถ้าผลผลิตน้อยลง ลำพังแค่จะจำหน่ายบริโภคกันเองในประเทศไทย ก็แทบจะไม่เพียงพอแล้วนั่นเองค่ะ ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นผลกระทบที่ส่งผลร้ายแรงกับคนไทยเรามากทีเดียว โดยเฉพาะเกษตรกรกันเลย
ดังนั้น ในปี2559นี้ ถือเป็นปีที่ค่อนข้างแย่พอสมควรสำหรับเกษตรกรไทยผู้ทำการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ทั้ง 5 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วย
-
ข้าว
-
ยางพารา
-
มันสำปะหลัง
-
ปาล์มน้ำมัน
-
อ้อย
เหตุเพราะประเทศไทยประสบภัยแล้งตั้งแต่ต้นปี 2558 ที่ผ่านมา และมีวิกฤตขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตกรไม่สามารถปลูกข้าวนาปรังเป็นรายได้เสริมได้ในหลายพื้นที่ และอีกหนึ่งปัญหาก็คือราคาข้าวยังคงทรงตัวและค่อนข้างตกต่ำ เนื่องจากมีข้าวคงค้างในคลังรัฐบาลอีกกว่า 13 ล้านตัน รวมไปถึงสภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในหลายๆประเทศ ส่งผลให้มีกำลังซื้อผลผลิตจากประเทศเราลดน้อยลงมากเป็นประวัติการณ์
นอกจากข้าวแล้ว ผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆเช่น ยางพารา และมันสำปะหลัง จากที่เคยส่งออกเป็นหลักกับคู่ค้าในแถบทวีปเอเชีย ก็ยังชะลอตัว และมียอดสั่งซื้อที่ลดลงต่อเนื่องจนถึงปีนี้ ประกอบกับแผนการปรับใช้วัตถุดิบภายในประเทศของจีน ที่นำข้าวโพดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำให้ยอดสั่งซื้อมันสำปะหลังจากประเทศเราลดลงมากเป็นประวัติการณ์ และยังคงทรงตัวแน่นิ่งอยู่จนกระทั่งต้นปีนี้ ซึ่งก็คงต้องจับตามองต่อไป ว่าในอนาคตข้างหน้า ยอดส่งออกมันสำปะหลังจะขยับขึ้นจากเดิมบ้างไหม ซึ่งหากยังคงอยู่ในระดับที่ซบเซาแบบนี้ เกษตรกรก็คงต้องเตรียมแนวทางเพื่อรับมือกับปัญหาอย่างหนักกันเลยทีเดียว
อ้อยก็ถูกผลกระทบโดยตรงจากการการปรับราคาน้ำมัน เนื่องจากราคาน้ำตาลทั่วโลกถูกกดลงอย่างคาดไม่ถึง รวมไปถึงราคาของปาล์มน้ำมันที่ปกติเคยได้ราคาสูง แต่ปัจจุบันราคากลับตกต่ำลงเนื่องจากจำนวนสต๊อกที่น้ำมันปาล์มดิบในประเทศมีมากเกินไป และไม่ได้ลดลงเพียงแค่เราเท่านั้น ประเทศที่เป็นคู่แข่งด้านการส่งออกปาล์มน้ำมันอย่างมาเลเซียเอง ก็มีรายได้ลดลงตามกันไปด้วย ซึงก็เป็นอีกผลกระทบหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อเกษตรกรได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ปกติแล้ว พืชเศรษฐกิจหลักๆทั้ง 5 ชนิดของไทย เคยได้มูลค่าของผลผลิตสูงถึง 7.5-8 แสนล้านบาทต่อปี ถือเป็นรายได้ที่มากพอจะกระจายไปสู่ส่วนภูมิภาคได้อย่างสบายๆ โดยเฉพาะเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีสัดส่วนรายได้สูงสุดถึง 2.54 แสนล้านบาท ตามด้วยภาคใต้และภาคเหนือที่มีสัดส่วนรายได้ลดหลั่นกันลงไปตามลำดับ
ซึ่งทางศูนย์ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่า มูลค่าการส่งออกพืชเศรษฐกิจในปี 2559 จะมีแนวโน้มลดลงถึง 6% ซึ่งหมายความว่าที่เคยตกต่ำไปในปี 2558 นั้น จะมีโอกาสตกต่ำลงกว่าเดิมได้อีกภายในปีนี้ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 4.52 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรในภาคต่างๆมีรายได้ลดลงจนอาจถอดใจ เลิกทำการเกษตรไปเลยก็ได้ในปีนี้
นอกจากรายได้ของผลผลิตทางการเกษตร และของบรรดาเกษตรกรจะลดลงแล้วนั้น ยังมีผลกระทบมากมายตามมา โดยเฉพาะผลกระทบทางธุรกิจและสภาพคล่องต่างๆในประเทศไทย มีลักษณะคล้ายลูกโซ่ที่ล้มต่อพ่วงกันไปในระยะยาวนั่นเอง ส่วนธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ธุรกิจที่ทำการค้าเกี่ยวกับการเกษตรต่างๆ เช่น จำหน่ายเครื่องจักรกลทางการเกษตร ปุ๋ยเคมี และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆที่มีระยะเวลาในการผ่อนชำระสูง เช่นรถยนต์ วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงธุรกิจรับซื้อและรวบรวมผลผลิตต่างๆอีกด้วย
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลกระทบต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทางนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกได้คาดการณ์เอาไว้ว่า สภาพคล่องทางเศรษฐกิจในแถบทวีปเอเชียจะชะลอตัวอย่างหนักจนอาจเข้าขั้นวิกฤต มีหลายบริษัทอาจตัดสินใจปิดกิจการและมีคนตกงานมากมายทั่วโลก ซึ่งหากไม่มีนโยบายฟื้นฟูหรือประคับประคองเรื่องการส่งออกภายในปีนี้ และปล่อยให้ราคาของผลผลิตตกต่ำกันต่อไป อาจมีปัญหาในระยะยาวได้ รวมไปถึงความจำเป็นที่จะต้องกักตุนสต๊อกสินค้าทางการเกษตรไว้มากมาย ส่งผลให้กำลังการผลิตในปีถัดมาล้นตลาดและมีราคาลดลงเรื่อยๆยาวนานถึงปี 2562 อย่างแน่นอน