ในช่วงนี้ เราจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังประสบปัญหาอย่างมากเลย โดยสามารถสังเกตได้จากภาะถดถอยในตลาดหุ้น และธุรกิจต่างๆลดกำลังการผลิตและมีการปลดพนักงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากใครที่มองว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไกลตัว นั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะเศรษฐกิจย่อมส่งผลต่อเงินในกระเป๋าของเราในทางใดทางหนึ่ง
ซึ่งในตอนนี้ ECB ที่ย่อมากจาก European Central Bank หรือที่แปลเป็นไทยได้ว่า ธนาคารกลางยุโรป ได้วางแผนส่งสัญญาณเตือนว่าจะมีการทบทวนเกี่ยวกับมาตรการผ่อนคลายทางการเงินในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ และก็ยังมีมติคงสภาพอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.05% และอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ -0.3% ตามเดิม ถ้าหากมองผิวเผินแล้ว ก็อาจจะดูเหมือนเป็นการปรับเปลี่ยนตัวเลขนิดหน่อยในสายตาของคนทั่วไป แต่สำหรับเหล่านักธุรกิจแล้ว มันเป็นตัวเลขที่ทำให้ต้องตื่นตัวกับเหตุการณ์ที่จะถึงนี้ไม่น้อยเลยล่ะ ซึ่งจากเหตุการณ์นี้เราจะเห็นได้ว่า
ECB ได้มองความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่กำลังจะเพิ่มขึ้นนี้ ได้แก่
1. ความเสี่ยงของเศรษกิจประเทศตลาดเกิดใหม่
2. ความผันผวนในการตลาดการเงินและราคาน้ำมัน
3. ความเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศ
ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้ จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าที่ ECB ได้ประเมินไว้เดิมที่ระดับ 1.0% ในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันที่ในปัจจุบันนี้ มีราคาต่ำกว่า 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ซึ่งต่ำกว่าที่ ECB ได้คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 52 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล
อีไอซี คาดว่า ECB จะเพิ่มวงเงินการซื้อสินทรัพย์ต่อเดือนและก็ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้งในเดือนมีนาคม
เนื่องจากภาพเศรษฐกิจในตอนนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากในเดือนธันวาคมที่ ECB ได้ทำการประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม โดยการขยายเวลามาตรการ อัดฉีดเงินเพิ่ม ด้วยการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินต่อไปอีก 6 เดือน แต่ไม่มีการเพิ่มวงเงินการซื้อสินทรัพย์ต่อเดือน จึงส่งผลทำให้ตลาดการเงินค่อนข้างผิดหวัง เพราะว่าไม่มีเงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ในเดือนมีนาคมที่ ECB จะทำการขยายวงเงินการซื้อสินทรัพย์ต่อเดือนหรือเพิ่มการอัดฉีดปริมาณเงินจากเดิมเดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร เป็น 7-8 หมื่นล้านยูโร แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ก็น่าจะยังคงระยะเวลาการสิ้นสุดมาตรการไว้ตามเดิมก็คือในเดือนมีนาคม 2017 นอกจากนี้ ECB อาจลดอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate ให้ติดลบมากขึ้นเป็น -0.4% จากเดิม -0.3% เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ลดการสำรองเงินและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายเงินในประเทศและนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อยูโรโซนให้กลับเข้าสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% จากปัจจุบันที่ยังอยู่ระดับ 0.2%
การส่งสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมของ ECB ส่งผลดีต่อตลาดการเงินอย่างมาก
นับได้ว่าเป็นข่าวที่ดีเรื่องแรกตั้งแต่ช่วงต้นปีเลยก็ว่าได้ ที่มีความผันผวนในตลาดการเงินค่อนข้างมาก จากการลดค่าเงินหยวน และราคาน้ำมันที่ตกต่ำลงในรอบกว่า 12 ปี การส่งสัญญาณของ ECB ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นทั้งยุโรปและสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2% รวมถึงราคาน้ำมันก็เพิ่มขึ้นกว่า 5% ในวันแรกหลังจากที่ ECB ประกาศ ทำให้เศรษฐกิจต่างๆที่ได้รับผลกระทบ กำลังค่อยๆฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
ทิศทางราคาน้ำมันและค่าเงินหยวนของจีนยังเป็นที่น่าจับตา
การจับตาดูราคาของสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งก็ตาม การได้เห็นราคาต่ำสุดก่อนที่จะค่อยๆปรับเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้อุ่นใจอย่างมากเลยล่ะ ซึ่งอีไอซีก็ยังคงพยายามจับตาอยู่และถ้าหากราคาน้ำมันยังไม่พบจุดต่ำสุด ความกังวลในตลาดการเงินโลกจะยังคงไม่หายไปไหน และนอกจากนี้การอ่อนค่าของเงินยูโรอาจส่งผลให้ธนาคารกลางของจีนถูกกดดันให้ต้องอ่อนค่าเงินหยวนลงไปอีกเพื่อที่จะรักษาความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการช่วยเหลือเศรษฐกิจในประเทศ ดังนั้น จึงยังมีความเสี่ยงหากธนาคารกลางของจีนลดค่าเงินอย่างรวดเร็วกว่าที่ตลาดคาดเอาไว้ และอาจทำให้เกิดความตื่นตระหนกในตลาดการเงินโลกดังเช่นในช่วงต้นเดือนมกราคม 2016 ได้
ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีแนวโน้มต้องผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมเช่นเดียวกัน
ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมากมายเพราะเนื่องจากราคาน้ำมันและค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นมาค่อนข้างมากจากระดับ 120 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสิ้นปี 2015 มาอยู่ที่ราคาประมาณ 118 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในปัจจุบัน จึงเป็นแรงกดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม โดยอีไอซีคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีการขยายขนาดมาตรการ QE ภายในครึ่งแรกของปีนี้
จะเห็นได้ว่าจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมากเลยล่ะ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะกระทบกับนักลงทุน ก็มีดังนี้
1.ผู้ประกอบการควรระมัดระวังการอ่อนค่าของเงินยูโรและเยน
ด้วยการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมของ ECB จะทำให้ค่าเงินยูโรมีราคาอยู่ในทิศทางที่อ่อนเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นรวมไปถึงเงินบาทอย่างเราด้วย โดยค่าเงินยูโรได้อ่อนค่าลงไปกว่า 3.1% นับตั้งแต่ต้นไตรมาส 4 ปี 2015 มาอยู่ที่ 1.081 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในปัจจุบัน และอ่อนค่าลง 4% เมื่อเทียบกับเงินบาทในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับค่าเงินเยนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากปัจจุบัน ดังนั้น ธุรกิจที่พึ่งพาการส่งออกไปยังยูโรโซนและญี่ปุ่น อย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อาจได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าในรูปเงินยูโรและเยนที่สูงขึ้นอย่างมากควรจะชะลอการส่งออก
2.ค่าเงินบาทอาจชะลอการอ่อนค่าลงได้ในระยะสั้น
หากการดำเนินนโยบายการเงินของ ECB เป็นการพยุงความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดการเงินในระยะนี้ จะทำให้ค่าเงินบาทสามารถชะลอการอ่อนค่าลงได้ในระยะสั้น แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของตลาดการเงินโลกที่ยังมีอยู่จากทั้งราคาน้ำมันและค่าเงินหยวน รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ช่วยกดดันให้ค่าเงินบาทยังมีทิศทางอ่อนตัวลง ซึ่งอีไอซีก็ยังคงประมาณการค่าเงินบาทในช่วงสิ้นปี 2016 ไว้ที่ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ