ในชีวิตการทำงานบริษัทของมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง แม้ว่าบริษัทจะดูมั่นคงถึงเพียงไหน ก็เป็นไปได้เหมือนกันที่อาจจะต้องพบเหตุไม่คาดฝันอันกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชีวิต หากไม่ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์มาก่อนเลย ก็อาจทำให้เราซวนเซไปเหมือนกัน แต่ก็มีบางคนที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น เพื่อนำมาเตือนใจตนเองให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทค่ะ
และวันนี้เพื่อเป็นแนวทางและกำลังใจในการสู้ต่อไปสำหรับคนที่กำลังตกอยู่ในสภาวะว่างงานเราได้เตรียมการดำเนินชีวิตในเวลาที่ว่างงานมาฝาก เพื่อที่คุณจะได้ใช้ชีวิตอย่างไม่ยากลำบากในวันที่ ไม่มีงานทำ นั่นเอง บอกได้เลยว่าเป็นเรื่องที่คุณต้องคิดและต้องผ่านมันไปให้ได้ เราทราบดีว่าไม่ว่าใครที่ได้เจอกับเรื่องราวในลักษณะนี้ต่างก็ต้อทรงตัวไม่อยู่กันทั้งนั้นแต่ในที่สุดคุณต้องสู้และผ่านเรื่องราวเหล่านี้ไปให้ได้
โดยจุดแรกที่คุณควรต้องทำก่อนเลยคือเจรจาเพื่อต่อรองเรื่องเงินชดเชยในกรณีที่ต้องออกจากงาน เพราะเงินก้อนนี้จะเป็นเงินสำรองใช้จ่ายในระหว่างที่คุณหางานใหม่ โดยที่กฎหมายแรงงานมีการกำหนดไว้ว่า
1. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
2. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
3. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน
4. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน
5. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน
ด้วยวิธีการหางานพิเศษทำ หรือหารายได้เสริมจากที่ต่างๆในขณะที่ยังว่างงานอยู่ เพื่อที่จะประคองการเงินให้ผ่านช่วงนี้ไปก่อน ดีไม่ดีคุณอาจได้เจอกับงานที่ใช่จากการทำงานพิเศษนี่เอง
หากวันหนึ่งเราต้องกลายเป็นคนไร้งาน พึงคิดไว้เสมอว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราควรแก้ไขปัญหา คนบางคน เมื่อรู้ว่าตนเองต้องตกงานแน่ๆ ก็อาจจะหนีปัญหาด้วยการประชดตนเอง ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำในเวลาปกติ เช่น ดื่มเหล้าประชดชีวิต หรือปล่อยเนื้อปล่อยตัว เป็นต้น การหนีปัญหาไม่สามารถช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ ในทางตรงกันข้าม จะทำให้สถานการณ์ที่พอแก้ไขได้นั้นเลวร้ายลงไปกว่าเก่า การยอมรับความล้มเหลว จะทำให้คุณเข้มแข็งขึ้นมากกว่าเก่าด้วยซ้ำเมื่ออุปสรรคได้ผ่านพ้นไปแล้ว