ในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจของโลกเรานั้นค่อนข้างมีความผันผวนเป็นอย่างมาก และมีการคาดการณ์ว่าในอนาคตต่อจากนี้ก็น่าจะมีความผันผวนทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอัตราการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ ในอดีตคนที่มีสตางค์หรือมีฐานะที่ดีนั้นส่วนใหญ่มักจะเลือกนำเงินที่มีไปฝากในธนาคารเพื่อได้รับดอกเบี้ยมา ซึ่งก็ถือเป็นหนทางทำกำไรอย่างหนึ่งและก็ถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งด้วย เพราะว่าการที่เงินที่อยู่นิ่ง ๆ ในบัญชีนั้น ก็ถือเป็นค่าเสียโอกาส ควรนำไปลงทุนอย่างอื่นเพื่อทำกำไรให้งอกงามจะดีกว่า
แต่อย่างไรก็ดีการฝากเงินกินดอกเบี้ยนั้นก็มีข้อดีเช่นกันตรงที่การฝากเงินในธนาคารนั้นไม่มีความเสี่ยง อีกทั้งในอดีตที่ผ่านมานั้นดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากธนาคารสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันมาก กลับกันถ้าในยุคปัจจุบันคนไหนที่ยังเอาเงินที่มีไปฝากธนาคารไว้ทั้งหมด โดยไม่ได้นำไปลงทุนทางอื่นให้เกิดประโยชน์นั้นถือว่าไม่มีความคิดทางการเงินที่ดีนัก เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย เนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันนี้ ไม่สามารถเอาชนะอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อได้ ซึ่งเงินเฟ้อมันเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี แต่ดอกเบี้ยกลับลดลงสวนทางกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา การวางแผนทางการเงินจึงถือเป็นเรื่องสำคัญในการที่เราจะได้รู้ว่า เราควรจะทำอย่างไรทำให้เงินที่เรามีอยู่นั้นงอกเงย เพิ่มพูนขึ้น จะนำไปลงทุนอะไรดี หรืออย่างน้อย ๆ เพียงแค่เอาชนะอัตราเงินเฟ้อให้ได้ เพื่อให้ค่าของเงินที่เรามีอยู่นั้นไม่ลดลงได้ก็ยังดี
ในวันนี้เรามีเทคนิคในการวางแผนการเงิน สไตล์ คุณมงคล ลุสัมฤทธิ์ นักวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ที่กลั่นกรองความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาออกมาในรูปแบบตัวหนังสือที่ชื่อ “อยากรวยผมช่วยคุณได้” มาฝากให้อ่านกัน โดยคุณมงคลได้ทำการวางแผนทางการเงินโดยแบ่งเงินเป็น 3 ระดับ คือ เงินออมระยะสั้น เงินออมระยะกลางและเงินออมระยะยาว
- เงินออมระยะสั้น คือ เงินออมที่มีอายุในช่วง 0-2 ปี
ซึ่งเป็นเงินที่ต้องมีสภาพคล่องสูง อยากใช้จ่ายเมื่อใดก็ต้องสามารถทำได้ง่าย เป็นเหมือนกระแสเงินสดระยะสั้น โดยเครื่องมือทางการเงินที่คุณมงคลแนะนำให้ใช้สำหรับการออมเงินในระยะสั้นแบบนี้คือ บัญชีออมทรัพย์ บัญชีฝากประจำ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน ที่ค่อนข้างจะมีความเสี่ยงไม่มาก และมีสภาพคล่องสูงตามแผนที่วางไว้นั่นเอง โดยเงินออมระยะสั้นที่ควรมีคือ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนของแต่ละคน
- เงินออมระยะกลาง เป็นเงินออมที่อยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 2-10 ปี
เงินออมก้อนนี้เป็นเงินเก็บที่ไว้สำหรับซื้อของชิ้นใหญ่ ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ หรือที่ดิน และรวมถึงการนำเงินไปลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ให้เงินก้อนนี้งอกเงยขึ้นไปอีก ซึ่งเครื่องมือทางการเงินที่ใช้สำหรับการออมเงินในระยะกลางคือ การทำประกันแบบสะสมทรัพย์ การซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจุดประสงค์ของการซื้อ RMF คือการออมไว้ใช้เมื่อยามที่เราเกษียณแล้วแต่คนส่วนใหญ่กลับคิดแค่ว่าซื้อเพื่อหักภาษีเท่านั้น ส่วนความเหมาะสมที่ว่าเราจะมีเงินออมในระยะกลางเท่าไหร่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายส่วนตัวของแต่ละคนว่ามีเป้าหมายนำเงินก้อนนี้ไปใช้งานอย่างไร เช่น ต้องการมี 5 แสนบาท สำหรับเตรียมการจัดงานแต่งงาน หรือต้องการมี 5 ล้านบาท เพื่อใช้ในการซื้อบ้าน เป็นต้น
- เงินออมแบบสุดท้ายคือ เงินออมระยะยาว
ที่มีระยะเวลามากกว่า 10 ปี ขึ้นไปเช่นกัน เงินก้อนนี้เหมาะกับการเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ ซึ่งคุณมงคลบอกว่า เราควรมีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 70% ของรายได้ที่เราได้รับก่อนเกษียณ เช่น เราเคยได้รับ 1 แสนบาท หลังเกษียณเราควรได้ 7 หมื่นบาท และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ
จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วการวางแผนทางการเงินนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินความสามารถของทุกคนเลย ซึ่งถ้าหากวางแผนเองไม่เป็นปัจจุบันก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงินคอยให้บริการคำปรึกษาเพิ่มขึ้นมาก แต่ว่าก็ต้องศึกษาหาข้อมูลเองด้วยจะได้ไม่เสียใจภายหลัง ถ้าแผนมันออกมาไม่ถูกใจ อีกเหตุผลที่สำคัญ คือ คนสามารถทำตามแผนทางการเงินที่วางเอาไว้ได้นั้นต้องเป็นคนมีวินัยอย่างสูง ทำตามแผนที่วางไว้ได้อย่างเคร่งคัด ไม่ออกนอกกรอบ มีการอัพเดตตัวเอง ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเครื่องมือทางการเงินแต่ละชนิดในแต่ละช่วงเวลานั้น ก็ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันไป การมีความรู้ หรืออัพเดตอัตราผลตอบแทนหรือข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพอร์ตตัวเองอย่างสม่ำเสมอนั้น จะช่วยทำให้รายได้ของเราสามารถครอบคลุมตามแผนทางการเงินของเราที่วางเอาไว้ได้
และทริคเล็กน้อยของคุณมงคล ลุสัมฤทธิ์ ที่ได้กล่าวให้กำลังใจไว้ว่า “อายุน้อยยังมีโอกาสแก้ตัวและมีความเสี่ยงน้อยกว่าคนอายุมาก” ซึ่งก็หมายความว่า เริ่มวางแผนทางการเงินก่อนนั้น ย่อมได้เปรียบแน่นอน และที่สำคัญเมื่อวางแผนได้แล้ว เริ่มทำทันทีนั้นก็ย่อมได้เปรียบเช่นกัน เพราะถึงแม้เริ่มต้นแรก ๆ จะผิดพลาด หลงทางบ้าง แต่โอกาสมีความเสี่ยงที่ทำให้แผนทางการเงินของเราผิดพลาดได้นั้น มีโอกาสค่อนข้างน้อย เนื่องจากระยะเวลาที่ยังเหลืออีกมากของเรา ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ทันเวลาแน่นอน
อ้างอิง