ผู้ที่ต้องการซื้อที่ดิน ต้องระมัดระวังมากเนื่องจากเป็นจำนวนเงินที่สูง เสี่ยงต่อการถูกโกงมาก หลายท่านขาดความรู้เรื่องที่ทาง รวมถึงสิ่งที่หลายๆท่านแทบจะไม่มีความรู้เลยคือ โฉนดที่ดิน ควรจะพิจจารณาดังต่อไปนี้
โฉนดที่ดิน มีหลายแบบหลายรุ่นแต่ในปัจจุบันจะมีขนาด 24 x 36 ซม. กระดาษมีลักษณะเส้นใยพิเศษสีเหลืองผลิตจากต่างประเทศป้องกันการปลอมแปลง มีลายน้ำเป็นรูปครุฑถ้าส่องดู โฉนดที่ดินที่ถือเป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินคือ โฉนด นส.4จ วิธี เช็คโฉนด มีดังนี้
วิธีตรวจสอบระวางหรือแผนที่บนโฉนด
ระวางจะแสดงตำแหน่งพื้นที่ดิน และขนาดแปลงของที่ดินที่ดิน จะมี “หมายเลขระวางแผนที่” ตามสถานที่ตั้งของโฉนด ซึ่งเวลาตรวจสอบที่ดินต้องดูคู่กับ “หมายเลขที่ดิน” คือหมายเลขที่ดินที่กำกับบนแนวเขตแปลงที่ดินทุกแปลงภายในแปลงย่อย
วิธีตรวจสอบรายการจดทะเบียนโฉนดที่ดิน
มีประเภทการจดทะเบียน มีหลายประเภทแตกต่างกันไป เช่น ประเภทบุริมะสิทธิ ประเภทภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ ประเภทสิทธิเหนือพื้นดิน ประเภทสิทธิเก็บกิน ประเภทภาระจำยอม ประเภทโอนมรดก ประเภทปลอดจำนอง หากมีรายการจดทะเบียนจะส่งผลต่อที่ดินด้วย
วิธีตรวจสอบการเขียนของเจ้าหน้าที่
ลายเซ็นของเจ้าหน้าที่จะเซ็นด้วยหมึกสีดำ มีปั๊มตรายางชื่อคนเซ็นกำกับไว้ พร้อมกับลงวันที่ หากมีการขีดฆ่าแก้ข้อความให้ใช้หมึกแดงขีดฆ่าให้เห็นข้อความเดิม แล้วเขียนเติมข้อความใหม่เข้าไปแล้วเซ็นชื่อพร้อมประทับตรากำกับ ลงวันที่กำกับเพื่อป้องกันการปลอมแปลงเอกสารโฉนดที่ดิน
วิธีตรวจสอบเลขที่ดิน
เลขที่ดินจะเขียนอยู่ด้านบนทางด้านซ้ายมือของเอกสารโฉนดที่ดิน คือหมายเลขประจำตัวที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงในระวางแผนที่ และจะแสดงบนแผนที่ในโฉนดที่ดินด้วย
วิธีตรวจสอบหมายเลขโฉนดที่ดิน
หมายเลขโฉนดจะบอกว่าใช้แบบพิมพ์หมายเลขอะไร ซึ่งจะอยู่ด้านบนทางขวามือของโฉนดที่ดิน ส่วนหมายเลขแบบพิมพ์โฉนดจะมีหมายเลขประจำตัวแบบพิมพ์ ซึ่งจะอยู่ด้านล่างสุดของโฉนด เพื่อใช้ควบคุมแบบพิมพ์ทั้งหมดว่าพิมพ์จำนวนเท่าไหร่ ที่จังหวดไหนเท่าไหร่ มีรหัสลับป้องกันการปลอมแปลงโฉนดด้วย
วิธีตรวจสอบเลขหน้าสำรวจ
เลขหน้าสำรวจ คือหมายเลขแฟ้ม จะอยู่ถัดจากเลขที่ดิน ที่เก็บเรื่องราวของที่ดินแต่ละแปลงเก็บเป็บเอกสารต่างๆที่สำคัญเกี่ยวกับที่ดินตามท้องที่นั้นๆ
วิธีตรวจสอบมาตราส่วนแผนที่ ในโฉนด
มาตราส่วนขนาดที่แสดงในแผ่นระวางแผนที่ กับขนาดที่แสดงในตัวโฉนดอาจแตกต่างกันเพราะระวางจะเล็กกว่าเพราะมีแปลงย่อยจำนวนมาก แต่ในโฉนดจะใช้มาตราส่วนใหญ่กว่าเพราะมีเพียงแปลงเดียว มาตราส่วนที่แสดงในโฉนดต้องดูให้ถูกต้องว่าใช้มาตราส่วนใดในการวัดขนาดที่ดิน วิธีตรวจสอบรูปแผนที่ในโฉนดจะมีอยู่สามสี
เส้นแบบสีดำ เป็นเส้นแสดงแนวเขตแปลงที่ดินแบบปกติ
เส้นแบ่งสีเขียวเป็นเส้นแสดงแนวแบ่งที่ดินที่มีการมีการแบ่งแยกเพิ่มเติม ในแผนที่โฉนดแปลงเดิม
เส้นแบ่งสีแดงจะแสดงเขตเป็นส่วนแปลงคงเหลือ
วิธีตรวจสอบตราประจำตำแหน่งของเจ้าพนักงานที่ดิน
จะมีตราอยู่สองตำแหน่งตำแหน่งแรกจะเป็นตราประทับตรงลายเซ็นเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขาด้านหน้าโฉนดที่ดิน เพื่อเซ็นออกโฉนดที่ดิน ส่วนตราประทับที่สองเป็นตราประทับลายเซ็นเจ้าพนักงานที่ดินในการเซ็นจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรม
ดังนั้นจะต้องอ่านตรวจดูทุกรายการให้รอบคอบหากไม่เข้าใจให้ถามเจ้าหน้าที่ ก่อนซื้อที่ดินต้องมีการตรวจสอบโฉนดให้รอบคอบด้วยว่าเป็นของจริงหรือไม่ ก่อนกำการซื้อขาย หรือรับจำนอง ขายฝากเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพปลอมแปลงเอกสารสิทธ์ที่ดินมาหลอกขายเรา
อ่านเพิ่มเติม : ตามติดแนวโน้ม ราคาที่ดินใน กทม. 2559
แล้วถ้าจะซื้อที่ดินควรตรวจสอบอะไรบ้าง
1. อย่างแรกสำคัญมาก ต้องการซื้อที่ดินควรตรวจสอบอะไรบ้าง ต้องตรวจสอบที่ดินว่าเป็นโฉนดอะไร ต้องเป็นโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.4 ที่เป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ดินเท่านั้นที่สามารถซื้อขายโอนกรรมสิทธ์ ได้ นอกนั้นต้องเสี่ยงหากต้องสูญไป อ่าน..โฉนดที่ดินมีกี่ประเภท ลักษณะอย่างไร
2. ตรวจสอบเช็คข้อมูลที่กรมที่ดินก่อน แผนกรังวัดที่ดินดูว่าที่ที่เราจะซื้ออยู่ในข่ายมีปัญหาหรือไม่ รวมถึงที่ดินที่คนขายพาไปดูเป็นที่ตรงกับโฉนดหรือไม่ เป็นโฉนดหรือ นส.
3. เนื้อที่ขายกับเนื้อที่ที่วัดจริงตรงกันหรือไม่บ่อยครั้งที่พอซื้อไปแล้วพอวัดใหม่เนื้อที่หายไปเป็นไร่ๆก็มี เราควรพาผู้เชี่ยวชาญมาวัดพื้นที่ เพราะถ้าปล่อยไปแล้วพบว่าที่ดินนี้เป็นของตนเอง จะต้องฟ้องคดีกันหลายเรื่อง ตัดปัญหายอมเสียเงินเพื่อความสบายใจจะดีกว่า
4. ตรวจสอบว่าเป็นที่สาธารณะหรือเปล่า นอกจากตรวจที่กรมที่ดินต้องไปถามกรมชลประทาน ถ้าใกล้ป่าไม้ต้องตรวจสอบที่กรมป่าไม้ด้วยว่าอยู่ในเขตป่าสงวนหรืออุทยานอะไรหรือไม่
5. การซื้อที่ดินทุกครั้ง จะต้องมีการทำสัญญาจะซื้อจะขาย กันอย่างถูกต้องทุกครั้งต้องหน้าเจ้าหน้าที่ที่ดิน ราคาที่ดินแพงเกินไปหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับที่ดินที่ขายทำเลบริเวณใกล้เคียง ดูด้วยว่าใครเป็นคนจ่ายค่าโอนแล้วบวกค่าใช้จ่ายการโอนเข้าไปในราคาด้วย
6. ลักษณะที่ดิน สภาพแวดล้อมของที่ดิน ว่าหลักกฎหมายอนุญาตใช้ประโยชน์หรือก่อสร้างบนที่ดินที่จะซื้อได้หรือไม่ ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ เช่นต้องการซื้อที่ปลูกบ้านต้องเป็นที่ในแหล่งชุมชน ปลอดภัยมีสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มีมลพิษ หรือซื้อทำธุรกิจต้องดูว่าสภาพแวดล้อมสถานที่ใกล้เคียงเอื้อประโยชน์ในการทำ ธุรกิจหรือไม่ หรือต้องการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต้องเป็นที่ดินในเขตพื้นที่สีม่วง เป็นต้น