ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่เริ่มตระหนักถึงเงินที่ควรออมไว้ยามที่ตนเองต้องเกษียณอายุ ว่าควรมีเงินออมมากเท่าไรถึงเพียงพอที่ต้องใช้หากต้องมีอายุอยู่หลังเกษียณ 20-30 ปี เพราะด้วนเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ที่ทำให้ในอนาคตคนรุ่นใหม่อาจมีอายุที่ยืนยาว จนทำให้เงินที่ออมไว้ใช้อาจไม่เพียงพอก็เป็นได้ เพราะหากวันนี้คุณอายุประมาณ 30 ปี และต้องการเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี คุณเองก็มีเวลาในการเก็บออมหรือทำให้งอกเงยยาวนานถึง 30 ปี แต่ชีวิตคนเราอาจไม่ง่ายขนาดนั้นเพราะหากคุณมีอายุยืนยาวถึง 90 ปีละ นี่คือโจทย์ที่ท้าทายเพราะเหมือนการออมเป็นระยะเวลา 30 ปี เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นระยะเวลา 30 ปี ลำพังการออมและลงทุนเพื่อเงินก้อนนี้ว่ายาก แต่หากในหลังวัยเกษียณคุณเจ็บป่วยประกันสังคมก็ไม่มีแล้วคุณเตรียมรับมือกับรายจ่ายตรงนี้แล้วหรือยัง?
เงินออมของคุณทั้งหมดอาจต้องนำมาใช้เมื่อคุณเจ็บป่วย ยิ่งหากคุณต้องการการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพคุณอาจต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งคุณอาจคาดไม่ถึงว่าค่าใช้จ่ายสูงที่ว่าเป็นเงินเท่าไรจนกว่าคุณจะได้ลองจ่าย ฉะนั้นเราจะวางแผนอย่างไรเพื่อให้มีเงินเพียงพอไว้ใช้ในชีวิตประจำวันและเผื่อไว้ยามเจ็บป่วยได้ด้วย
1.แยกเงินออกเป็น 2 ส่วนหลังเกษียณอย่างชัดเจน
- ส่วนที่ 1 เป็นเงินที่เผื่อไว้ใช้ในชีวิตชีวิตประจำวัน
- ส่วนที่ 2 อาจนำไปลงทุนต่อถึงแม้เกษียณอายุแล้วเพราะถึงว่าเป็นเงินเย็นไม่เกี่ยวข้องกับเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เราอาจเจ็บป่วยเมื่อเวลาผ่านไป 5-10 ปีก็เป็นได้ จึงอาจนำไปลงทุนต่อเพื่อให้งอกเงย แต่ไม่ควรลงเงินส่วนที่ 2 นี้ลงในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูงทั้งหมด อาจมีการแบ่งลงในทรัพย์สินที่มีทั้งความเสียงสูงเช่น กองทุนรวมตราสารทุนและกองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสียงน้อยกว่า เพราะเราไม่ควรใส่ไข่ไว้ในตะกร้าเพียงใบเดียว
2.หมั่นตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เพื่อหาความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เพราะเมื่อเรามีอายุมากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บย่อมเกิดขึ้นได้การตรวจสุขภาพเช่นการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจสอบดัชนีมวลกายว่าเกินค่ามาตรฐานหรือไม่,การตรวจเลือดเพื่อดูในส่วนของไขมันในเลือดว่าอยู่สูงเกินไปหรือเปล่า,ตรวจสมรรถภาพของปลอดและการเอกซ์เรย์ทรวงอกหากคุณยังสูบบุหรี่อยู่หรือมีความเสี่ยง, ทั้งหมดนี้เพื่อให้เราสามารถปรับตัวในเรื่องของการรับประทานอาหารและการออกกำลังเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เมื่อเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้นจึงควรตรวบจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3.การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หลายคนอาจคิดว่าอายุมากแล้วเราอาจไม่จำเป็นต้องออกกำลังกาย แต่ในความเป็นจริงเมื่อคุณเกษียณอายุแล้วเราอาจไม่ได้เดินหรือออกแรงใดๆ เหมือนในช่วงก่อนเกษียณเพราะในสมัยที่เราทำงานอยู่นั้น เราอาจมีการเดินระหว่างวันเพื่อการติดต่อประสานงาน การเดินไปทานข้าว การเคลื่อนไหวในระหว่างการทำงาน กิจกรรมดังกล่าวอาจน้อยลงเมื่อเราเกษียณอายุ ฉะนั้นเราจึงควรมีการออกกำลังกายในส่วนนี้บ้างเพื่อให้ทดแทนการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันที่หายไป
4.ลด ละ เลิก ของที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
ข้อนี้อาจเป็นเรื่องเป็นยาก หากงดไม่ได้ขอแนะนำให้ลดในส่วนของ เหล้าและการสูบบุหรี่ให้ลดน้อยลงครับ หากมีการสังสรรค์ระหว่างเพื่อนหรือครอบครัวก็แนะนำว่าในดื่มน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในส่วนของชีวิตประจำวันการรับประทานอาหารที่เราทานอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน รสชาติที่เน้น หวาน เค็ม เผ็ด มัน ในกรณีที่อายุในวัยเกษียณ เรายังสามารถทานได้แต่ขอให้น้อยลงได้เพื่อสุขภาพที่ดีและยืนยาวครับ
เมื่อผู้อ่านหลายๆ ท่านอ่านถึงตรงนี้ หลายท่านอาจคิดว่าสิ่งที่ผมได้บอกเล่ามานั้นหมด เป็นข้อพึ่งปฏิบัติพื้นๆ ที่สามารถทำได้แต่มันจะจริงหรือเปล่า เพราะเป็นเพียงแค่คำบอกเล่าจากผู้เขียนที่ยังไม่ถึงวัยเกษียณด้วยซ้ำ แต่ผมอยากจะบอกเล่าในมุมมองที่ผมได้พบเจอมาจากคนใกล้ตัว ป่วยไข้ยามเกษียณ หมดเงินไปจำนวนมากไปกับการรักษาตัว และต้องเข้ารับการรักษาเพื่อยื้อชีวิตในห้อง ICU ที่โรงพยาบาลเอกชนที่มีค่ารักษาเกือบ 60,000 บาท/วัน ซึ่งเงินล้านที่เก็บไว้ทั้งชีวิตก็อาจไม่พอเมื่อเราพบว่าเราเจ็บป่วย
ฉะนั้นข้อพึงปฏิบัติที่กล่าวมาจึงไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับคนในวัยที่เริ่มเข้าสู่วัยเกษียณ และคำกล่าวที่ว่า “น่าเสียดายตายแล้วใช้เงินยังไม่หมด น่าสลดใช้เงินหมดแต่ยังไม่ตาย” อย่าคำกล่าวนี้เกิดขึ้นกับตัวเราเองเป็นดีที่สุดครับ
อ่านเพิ่มเติม : 4 หลักเตือนใจก่อน วัยเกษียณ