เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเสียภาษี ก็จะเริ่มมีการประชาสัมพันธ์ออกทางสื่อต่าง ๆ ที่จะกระตุ้นเตือนผู้ที่ต้องยื่นเสียภาษี ให้ได้เริ่มที่จะคิดคำนวณรายจ่ายเรื่องภาษีให้เตรียมพร้อม แต่สำหรับใครที่อาจจะติดงาน หรือลืมวันไปก็สามารถติดต่อไปทางกรมสรรพากร เพื่อสอบถามวันครบกำหนดชำระที่ถูกต้อง พร้อมขอคำแนะนำที่ผู้เสียภาษีอาจจะยังรู้สึกข้องใจเรื่องของภาษีได้ทุกเมื่อ แต่ถ้าใครมีปัญหาจนไม่สามารถจ่ายได้จริง ๆ ก็ควรที่จะรีบเคลียร์งานและทุกอย่างให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ไปชำระให้ครบตามจำนวน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะไม่ต้องทบ ค่าปรับ ยื่นภาษีล่าช้า กันไปถึงปีหน้าพร้อมค่าปรับที่มหาศาล หรือการที่อาจจะโดนออกหมายจับไปได้ง่าย ๆ
เพราะฉะนั้นถ้าพร้อมก็ควรที่จะรีบจ่าย เพราะอัตราค่าปรับแบบยังไม่เกิน 7 วันนั้นแค่ 100-200 บาทเท่านั้น แต่ถ้าเกิน 7 วันไปแล้วก็อาจจะ 300-500 บาท ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าจะเป็นภาษีในรูปแบบใด แต่ถ้าเกินไปมากกว่านั้นก็อาจจะต้องเสียเงินเพิ่มในจำนวน 1.5% ต่อเดือน ที่ยิ่งเป็นการแบกรับภาระหนี้หนักเข้าไปอีก จึงควรที่จะเตรียมให้พร้อมก่อนการเสียภาษีในทุก ๆ ครั้ง
อ่านเพิ่มเติม : ข้อควรรู้ อัตราค่าปรับเมื่อยื่นภาษีล่าช้าเกินกำหนด
ในการยื่นเรื่องภาษีนั้นอาจจะมีขั้นที่ยุ่งยากสัดนิด และบางคนก็อาจจะรู้สึกไม่ค่อยชอบที่จะไป หรืออาจจะยังต้องทำใจกับจำนวนเงินที่จะต้องเสีย จนทำให้ลืมวันที่ครบกำหนดในวันสุดท้ายไป ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องของการเสียภาษีที่ล่าช้าจนอาจจะถูกค่าปรับหรือพัฒนากลายไปเป็นคดีความได้ จึงควรที่จะต้องรู้เทคนิคและวิธีหลังจากที่ไปยื่นแบบเสียภาษีไม่ทันตามเวลาที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ ดังนี้
-
ตรวจสอบตนเองในเรื่องของรายได้ ค่าใช้จ่ายส่วนตัวทั้งหมด
รวมไปถึงเอกสารต่าง ๆ ที่สามารถยื่นลดภาษีได้ทั้งหมด โดยลองเข้าไปดูรายละเอียดเรื่องของการลดหย่อนภาษีที่ถูกต้องได้ที่เว็บของกรมสรรพากรได้เลย และอาจจะดาวน์โหลดโปรแกรมการคำนวณรายได้และอื่น ๆ มาเพื่อทำการคำนวณรายได้และค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งรายการที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ว่าเราจะต้องชำระอยู่ที่จำนวนเท่าไหร่ ทั้งนี้ในเรื่องของบิดาและมารดาของผู้เสียภาษีที่อาจจะแก่ชราจนไม่สามารถที่จะทำงานได้แล้ว ก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน พร้อมทั้งคู่สมรสของเราเอง ก็ควรที่จะกรอกรายละเอียดทั้งหมดของคู่สมรสลงไปด้วย ทั้งนี้ถ้าคู่สมรสไม่ได้ทำงาน หรือตกงานก็สามารถเอาไปใช้เพื่อลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
-
เมื่อทำการวิเคราะห์แล้วว่าจะชำระค่าภาษีอยู่ที่เท่าไหร่แบบคร่าว ๆ
แล้วก็ให้เตรียมเอกสารที่จะยื่นภาษีให้เรียบร้อย เตรียมให้ครบลองตรวจสอบดูว่าเอกสารที่จะยื่นทั้งหมดนั้นอยู่ครบหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นใบ 50 ทวิ, ใบประกันชีวิต, ใบอนุโมทนาบัตรหรือใบรับรองการบริจาคแก่มูลนิธิต่าง ๆ และกองทุนเลี้ยงชีพทั้งของประกันสังคมและหน่วยกองทุน LTF หรือ RMF ที่ซื้อจากธนาคารไว้ให้พร้อม เพื่อที่เวลาจะยื่นภาษีจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องของการคืนภาษีที่ต้องมีเอกสารเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นตัวยืนยัน ทั้งนี้ใบอนุโมทนาบัตรและใบรับรองการบริจาคของมูลนิธิต่าง ๆ ที่เข้าขั้นได้รับการรับรองจากทางกรมสรรพากรแล้วนั้นจะยิ่งทำให้ตรวจสอบง่ายและได้เงินคืนภาษีเร็วขึ้นอีกด้วย ผู้ที่สนใจเรื่องนี้สามารถเข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเพื่อดูชื่อสถานที่เหล่านี้ได้เลย
-
ควรที่จะศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตัวผู้เสียภาษีเองให้มาก ๆ
พร้อมทั้งทำความเข้าใจต่อการลดหย่อนภาษี การที่จะทำให้ตนเองสามารถที่จะประหยัดภาษีได้ และรู้จักใช้สิทธิประโยชน์ของตนให้เต็มที่เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าภาษีเพิ่มมากจนเกินไป ทั้งเรื่องของวิธีการที่จะทำให้มีการลดหย่อนภาษี การรู้จักที่จะออมและลงทุนให้ได้ผลประโยชน์ที่ดีทั้งยังสามารถทำให้เราได้เงินภาษีคืนได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
-
เวลาที่จะต้องยื่นเสียภาษีควรที่จะต้องรักษาเครดิตความน่าเชื่อถือของตัวเองให้มาก ๆ เข้าไว้
เมื่อถึงเวลาที่เราไม่มีปัญหาใด ๆ ก็ควรที่จะชำระอย่างตรงเวลาและถูกต้องครบตามจำนวน เพราะเมื่อถึงเวลาที่มีปัญหา เราก็ได้รับเงินคืนภาษีที่เร็วกว่าจนสามารถนำเงินตรงนั้นมาเสียค่าปรับ หรือชำระค่าภาษีในบางส่วนไปก่อนได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งตัวค่าปรับและค่าภาษีทั้งหมดทางกรมสรรพากรได้อนุโลมให้สามารถแบ่งชำระได้ถึง 3 งวด โดยไม่มีดอกเบี้ยใด ๆ
-
ตรวจสอบข้อมูล
ที่กรอกลงไปในแบบฟอร์มการยื่นภาษีให้เรียบร้อย ครบถ้วนและถูกต้องที่สุด โดยเฉพาะข้อมูลส่วนตัวที่บ่งบอกถึงรายได้ที่แท้จริง อย่าสร้างรายได้ให้ดูต่ำแต่ค่าใช้จ่ายกลับสูงจนเกินไป เพราะมันจะทำให้ดูไม่สมเหตุสมผล และทำให้ทางกรมสรรพากรอาจคิดได้ว่า ผู้เสียภาษีกำลังที่จะทำการปกปิดข้อมูลความจริง หรือกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จซึ่งอาจจะทำให้โดนปรับหนักกว่าเดิม และอาจจะโดนดำเนินคดีไปด้วย
-
ศึกษาตารางโครงสร้างของภาษีในแต่ละปีให้ดี
พร้อมทั้งติดตั้งโปรแกรมคำนวณไว้เพื่อช่วยสรุปรายรับรายจ่ายทั้งหมดของเราว่าจะอยู่ในฐานภาษีแบบไหน และติดตามข่าวสารเรื่องของการลดหย่อนหรือเพิ่มเพดานของรายได้ที่อาจจะทำให้ภาษีพุ่งขึ้นหรือลดลง เพื่อที่จะทำการรับมือได้ทันเวลา