เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ กับมนุษย์เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ นั่นก็เป็นเพราะว่ามนุษย์เราต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ใช้เพื่อการศึกษา ใช้เพื่อการท่องเที่ยว หรือ เพื่อใช้ในการลงทุน ดังนั้น เงินจึงเป็นสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เป็นสิ่งใกล้ตัวมาก ที่มีทั้งผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านออกไป แต่จะผ่านเข้ามาหรือผ่านออกไปมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะมีวิธีเก็บออมและใช้จ่ายเงินกันอย่างไรเพื่อให้เงินอยู่กับเรานานที่สุด
สถาบันการเงินที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด สามารถพบเห็นได้เกือบทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะในตึกอาคารใหญ่ รูปแบบตึกแถวตามท้องถนน หรือสาขาที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า ก็คือ ธนาคารนั่นเอง เชื่อว่าทุกคนน่าจะต้องเคยไปธนาคารและมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารอย่างน้อยก็ต้องสักเล่มหนึ่งเป็นแน่ บางคนก็มีตั้งแต่เด็ก ๆ ที่พ่อแม่พามาเปิดบัญชีเพื่อนำเงินที่อดออมหยอดกระปุกไว้มาเข้าบัญชีธนาคารเพื่อเป็นการเริ่มสอนถึงการลงทุนเพื่อให้ได้ดอกเบี้ย ถือเป็นพื้นฐานของการลงทุนแบบง่าย ๆ ที่สามารถสอนกันตั้งแต่เล็ก ๆ ได้ บางคนก็เพิ่งเริ่มมีบัญชีเงินฝากเล่มแรกตอนเริ่มทำงานมีเงินเดือนเป็นครั้งแรก ก็บัญชีที่จะไว้ให้บริษัทจ่ายเงินเดือนนั่นแหละ ส่วนหลังจากนั้นจะมีบัญชีเพิ่มขึ้นมาอีกกี่เล่ม อันนี้ก็แล้วแต่ความพึงพอใจในการใช้บริการของแต่ละธนาคารหรือแต่ละสาขาตามเป้าหมายที่แตกต่างไปของแต่ละบุคคล บางคนมีบัญชีธนาคารมากเป็นหลายสิบบัญชีก็มี
สมุดบัญชีธนาคารเป็นสมุดบัญชีเล่มเล็ก ๆ ขนาดประมาณเท่าฝ่ามือเราเท่านั้นเอง มีลักษณะเป็นเล่มปกหนาเล็กน้อย มีกระดาษเหมือนกันหลายแผ่นอยู่ด้านใน ปกด้านหน้าก็จะบอกว่าบัญชีเงินฝากนี้เป็นบัญชีเงินฝากประเภทใด ออมทรัพย์ ฝากประจำ ฯลฯ และมีชื่อของธนาคารบอกไว้ด้วย ปกในจะมีเลขที่บัญชี และชื่อของเจ้าของบัญชีอยู่ ส่วนหน้าถัด ๆ ไปก็จะเป็นความเคลื่อนไหวของจำนวนเงินในบัญชีของเราตั้งแต่เริ่มเปิดบัญชี การฝากหรือถอนในแต่ละครั้ง ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ด้วยสมุดที่มีขนาดเล็ก ข้อความที่ทางธนาคารอยากจะให้แสดงให้สมุดจะยาวมากเกินไปก็คงไม่ได้ เลยเป็นที่มาของการใช้คำย่อในสมุดบัญชี ซึ่งคำย่อต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละธนาคาร ยกเว้นบางคำก็จะใช้เหมือนกัน
เราในฐานะของเจ้าของบัญชีก็ควรเรียนรู้และจดจำคำศัพท์หรือ ตัวอักษรย่อทางการเงิน ในสมุดบัญชีธนาคารนี้ไว้บ้าง เนื่องจากเป็นสิ่งที่เราจะต้องเจอเป็นประจำ ไม่เช่นนั้นทุกครั้งก็จะต้องคอยถามเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือเปิดเช็คปกหลังหรือด้านล่างของสมุดตลอดเวลาว่ารายการบัญชีนี้คืออะไร แต่หากเราสามารถถจดจำได้ ก็เป็นเรื่องง่ายที่เราจะเข้าใจความเคลื่อนไหวของบัญชีของเราเมื่อมีการอัพเดทสมุดทุกครั้ง สำหรับคำย่อในสมุดบัญชีธนาคารที่เราควรจดจำไว้ก็มีดังนี้
คำย่อที่รวบรวมมาไว้ ณ ที่นี้เป็นคำย่อที่เป็นความเคลื่อนไหวทางบัญชีของเงินฝากธนาคารที่พบเห็นได้บ่อย ๆ และไม่ซับซ้อน หากเราเป็นลูกค้าเงินฝากของธนาคารไหน เราก็ควรศึกษาคำย่อสมุดบัญชีของธนาคารนั้น ๆ เพราะแต่ละแห่งใช้คำย่อไม่เหมือนกัน แต่หากในสมุดบัญชีเงินฝากของเรามีความเคลื่อนไหวของบัญชีโดยมีคำย่อแปลกใหม่ที่เราไม่รู้จักและไม่เข้าใจ เราก็ควรสอบถามจากธนาคารเจ้าของบัญชีว่ารายการนั้น ๆ เป็นเงินเข้าบัญชีหรือออกจากบัญชีในเรื่องอะไร เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ธนาคารอยู่แล้วที่จะต้องให้บริการในการอธิบายหรือตรวจดูทุกรายการในบัญชีให้กับเจ้าของบัญชี เช่น บางครั้งเราไปธนาคารเพื่อทำการฝากถอนเงินก็คุ้นเคยกับชื่อย่อของการฝากถอนปกติ แต่หากทิ้งช่วงระยะเวลาไปนาน เมื่อไปอัพเดทสมุดบัญชีอีกครั้ง ธนาคารอาจแสดงรายการความเคลื่อนไหวในบัญชีของเราเป็นแบบรวบเป็นรายการเดียว ใช้คำย่ออื่น เป็นต้น
อ้างอิงจากเว็บไซต์