ก่อนที่จะมีการ เลือกประกันชีวิต ที่มีความเหมาะสมกับตัวเองได้นั้น จะต้องเริ่มถามตัวเองก่อนว่าต้องการอะไรจากการทำประกันภัย เช่น ถ้าต้องการที่จะเก็บออมไว้ในยามเกษียณก็ต้องเลือกแผนแบบบำนาญ หรือถ้าต้องการจะให้เป็นมรดกสำหรับลูกหลานก็ให้เลือกแผนแบบตลอดชีพ แต่ถ้ามีเป้าหมายที่ต้องการจะใช้เงินในอนาคต พร้อมกับความคุ้มครองก็ต้องเลือกแบบสะสมทรัพย์
สิ่งสำคัญที่มีไม่น้อยไปกว่ากันนั่นก็คือ ความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน ต้องประเมินว่ามีความพร้อมที่จ่ายเบี้ยประกันไปได้ตลอดหรือไม่ และคำแนะนำทั่วไปสำหรับการซื้อประกันชีวิต ก็ต้องประเมินว่ามีความพร้อมที่จ่ายค่าเบี้ยประกันที่เท่าไหร่ และสามารถที่จะจ่ายได้ตลอดไปหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นคนโสด เบี้ยประกันต่อปีไม่ควรจะเกินที่ 15-20% ของรายได้ต่อปี หรือถ้าครอบครัวแล้วเบี้ยประกันต่อปีไม่ควรเกินที่ 10-15% ของรายได้ต่อปี นอกจากนี้ยังต้องรู้ว่าประกันชีวิตส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในรูปแบบประกันสะสมทรัพย์ ที่บอกว่าจะให้ผลตอบแทนสูงหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประกันก็ไม่ใช่คำตอบของการลงทุน และยังสามารถที่จะให้ผลตอบแทนต่ำ เมื่อเทียบกับการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ
การคำนวณจำนวนเงินเอาประกันที่ต้องการ
ก็ลองหาดูว่าจำนวนเงินเอาประกันที่เหมาะสมอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกันที่ 3 แนวทาง แนวคิดในเรื่องของมูลค่าเศรษฐกิจของบุคคล สามารถที่จะคำนวณได้จากการนำเอารายได้ทั้งหมดที่คาดว่าจะได้รับจนกระทั่งเกษียณอายุ มาคำนวณหาว่าเงินในอนาคตนั้น จะมีจำนวนเงินที่คิดแล้วเป็นเงินในปัจจุบันที่เท่าไหร่ เรื่องของความจำเป็น ซึ่งมีทั้งความจำเป็นด้านของเงินสด เช่น เงินหมุนเวียนเพื่อการจ่ายหนี้ และความจำเป็นด้านของรายได้ เช่น ตัวเงินที่ชดเชยรายได้ที่ต้องเสียไป เพราะฉะนั้นต้องเริ่มจากการประเมินว่าครอบครัวมีรายจ่ายอะไรบ้าง และถ้าหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิตจะมีรายได้จากที่ไหนเข้ามาทดแทน เมื่อนำเอามาหักลบกันแล้ว หากแหล่งรายได้ที่จะนำมาทดแทนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่วนต่างตรงนี้เองที่ควรจะต้องป้องกันความเสี่ยง โดยการทำประกันชีวิตให้กับหัวหน้าครอบครัว
เมื่อต้องการที่จะซื้อประกันชีวิตสัก 1 ฉบับ ควรที่จะต้องมีการเปรียบเทียบกับเจ้าอื่น ๆ แต่นับจากนี้ไปไม่ว่าจะเป็นการซื้อในรูปแบบใด เราควรจะต้องมีการเปรียบเทียบกับหลาย ๆ บริษัทประกันชีวิตดูก่อนการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงื่อนไขความคุ้มครอง เบี้ยประกัน โดยเลือกตัวกรมธรรม์ที่คุ้มค่ามากที่สุด ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แค่เบี้ยประกัน ที่ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่าปัจจัยอื่น ๆ คือ ทางบริษัทประกัน มีความมั่นคงทางการเงินมากขนาดไหน เพราะก็ต้องไม่ลืมว่า สำหรับเราการทำประกันเป็นภาระที่มีการผูกพันในระยะยาว ดังนั้น เราก็ย่อมจะต้องการให้บริษัทที่ทำประกันชีวิตด้วยอยู่กับตัวผู้ทำประกันในระยะยาว นอกจากนี้การให้บริการก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่สามารถจะมองข้ามได้ ทั้งการบริการของตัวแทนประกัน เพราะถ้าตัวแทนประกันดี มีการให้คำแนะนำที่ดี สามารถที่จะเลือกตัวกรมธรรม์ที่ถูกต้องและตรงต่อความต้องการของตัวผู้ทำประกันจริง ๆ และบริการจากตัวบริษัทประกันเองก็ต้องดีด้วย โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการจ่ายค่าสินไหม หรือจ่ายผลประโยชน์ เพราะก็คงไม่มีใครต้องการที่จะเจอบริษัทที่สามารถรับเบี้ยประกันแบบง่าย ๆ แต่มีการจ่ายค่าสินไหมที่แสนจะยากแน่นอน
การเวนคืนกรมธรรม์ คือ ตัวกรมธรรม์ที่เป็นรูปแบบของการเกิด มูลค่าเวนคืนเงินสด ต้องสามารถที่จะบอกยกเลิกสัญญาได้ โดยการขอรับเงินคืนตามมูลค่าเงินสดที่เกิดขึ้น โดยที่ทางบริษัทประกันจะกำหนดมูลค่าเงินสดในแต่ละปีเอาไว้ เมื่อผู้เอาประกันมีการเวนคืนกรมธรรม์และรับเงินสดมาแล้ว กรมธรรม์นั้นก็จะสิ้นสุดลงทันที โดยที่ตัวสัญญากรมธรรม์ที่ทำเอาไว้จะมีตารางการจ่าย ให้ดูตรงที่ช่องเวนคืน คือ มูลค่าของกรมธรรม์ อย่างเช่นมีการตกลงทำสัญญาประกันชีวิตเอาไว้ที่ 20 ปี ให้ความคุ้มครองที่ 20 ปี แต่มีการส่งเบี้ยประกันครบที่ 3 ปี แล้วระหว่างนี้เกิดมีความจำเป็นที่ต้องมีการใช้เงิน ผู้เอาประกันก็สามารถที่จะนำเล่มกรมธรรม์ไปทำการเวนคืนได้ตามมูลค่าในตารางกรมธรรม์ตรงช่องของสิ้นปีที่ 3 ซึ่งตรงตารางท้ายกรมธรรม์โดยทั่วไป จะมีการแสดงมูลค่าของเล่มกรมธรรม์นั้นต่อทุนประกันที่ 1,000 บาท ดังนั้น ถ้ามีการทำประกันไว้ที่ 1 ล้านบาท ก็ต้องมีการนำเอา 1 ล้านบาท มาหารด้วย 1,000 แล้วคูณด้วยมูลค่าตามตารางที่ต้องการจะตรวจมูลค่ากรมธรรม์ หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือ นำเอาทุนที่ทำเอาไว้มาหารด้วย 1,000 แล้วคูณไปด้วยมูลค่าตามตาราง
ตัวอย่างของการเวนคืนกรมธรรม์ในสิ้นปีที่ 3 โดยมูลค่าเวนคืนตามตารางอยู่ที่ 325 บาท ก็จะมีการคำนวณดังนี้
- ทุนที่ทำประกันเอาไว้อยู่ที่ 1 ล้านบาท หารด้วย 1,000 แล้วมาคูณด้วย 325
- ดังนั้น กรมธรรม์เล่มนี้จะมีมูลค่าของการเวนคืนจะมีมูลค่าในสิ้นปีที่ 3 อยู่ที่ 325,000 บาท
- จากการที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินในขณะนั้น ซึ่งก็เป็นช่วงในสิ้นปีที่ 3 พอดี ก็นำเอาเล่นกรมธรรม์ไปทำการขอเวนคืน ก็จะได้เป็นเงินสดกลับคืนมาที่ 325,000 บาท
- แต่ความคุ้มครองชีวิตที่ทำเอาไว้ที่ 1 ล้านบาท ก็จะถือว่าสิ้นสุดลงทันที