เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา มีการประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 16/2559 เรื่อง การประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ตามมาตรา 44 ให้กรรมการ กสทช. จัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ช่วงความถี่วิทยุ 895-905 เมกะเฮิร์ตซ์ คู่กับคลื่น 940-950 เมกะเฮิร์ตซ์ ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 โดยจะตั้งราคาเริ่มต้นประมูลที่ 75,654 ล้านบาท ส่วนลูกค้าเอไอเอส จะคุ้มครองจนถึง 30 มิถุนายน 2559 หรือจนกว่าจะออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะประมูล
สำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ นั้นได้แก่ ผู้ให้บริการมือถือยักษ์ใหญ่ทั้งสามเจ้าอย่าง เอไอเอส (AIS), ดีแทค (dtac) และ ทรูมูฟ (Truemove) โดยในครั้งนี้ แจส โมบาย (JAS) ที่เคยคาดว่าจะเป็นผู้เล่นหน้าใหม่แห่งวงการค่ายมือถือได้ถูกตัดออกไม่ให้เข้าร่วมประมูลด้วย ว่าแต่ผลของการประมูลจะเป็นอย่างไร และจะมีผลอะไรเกิดขึ้นกับการประมูลครั้งนี้บ้าง ลองมาติดตามการวิเคราะห์ กัน
DTAC จะเป็นอย่างไรต่อไป และ ได้รับผลกระทบอย่างไรสำหรับการประมูลครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ?
ต้องบอกว่าสำหรับ DTAC งานนี้ถือว่าค่อนข้างลำบาก เพราะจริงๆแล้ว เดิมที DTAC ควรจะเป็นคนที่ประมูลเอาคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ มาในการประมูลครั้งที่แล้ว เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องคลื่นที่จะหมดสัมปทานในอีก 3 ปีข้างหน้าแต่การที่จะต้องมาประมูลแย่งกับ ADVANC ที่มีท่าที่ว่าจะต้องการคลื่นนี้พอสมควรจากการที่ทาง ADVANC เคยพยายามจะยื่นข้อเสนอต่อ กสทช. ที่จะจ่ายเงิน 7.5 หมื่นล้านบาท เพื่อรับคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่ JAS สละสิทธิ
แต่การที่ DTAC ต้องมาประมูลคลื่น900 เมกะเฮิร์ตซ์ ในราคาเริ่มต้นที่ 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งราคาจะขึ้นไปเท่าไหร่ก็ยังไม่มีใครทราบ ทำให้การประมูลนี้แม้ DTAC จะชนะมาก็ไม่ได้ก่อประโยชน์ให้กับ DTAC แต่อย่างใดเลย เนื่องจาก
1. หากลองคิดว่าDTAC ได้คลื่นไปในราคาที่ถูกที่สุดในตอนนี้คือ 7.5 หมื่นล้านบาท DTACจะต้องหักค่าเสื่อมราคาราวๆปีละ 5 พันล้านบาทซึ่งคิดเป็น 50 – 60% ของกำไรต่อปีของ DTAC เลยทีเดียว ดังนั้นในความเป็นจริง DTAC เองก็มีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่DTACจะต้องเสียอีก หากDTAC ได้คลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์มาจริงๆ เพราะปัจจุบันคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ ของ DTAC ก็แทบไม่ได้ใช้ทำอะไร เนื่องจาก 2G ของ DTAC ใช้งานบนเครือข่าย 1800 เมกะเฮิร์ตซ์
การจะย้ายลูกค้าจาก 1800 เมกะเฮิร์ตซ์มาอยู่บน 900 เมกะเฮิร์ตซ์ก็ต้องมีการลงทุนไปติดตัวกระจายสัญญาณอีก และต่อDTAC ให้นำคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ มาได้ ก็อาจจะไม่มีอำนาจพอที่จะไปสู้กับคู่แข่งรายอื่นๆได้อยู่ดี มันอาจจะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องคลื่นที่จะหมดสัมปทานในอีก 3 ปีข้างหน้าต่อลมหายใจไปได้อีกหลายปี แต่ถ้าวันความสามารถในการแข่งขั้นตอนนี้ดีแทคก็ยังดูเป็นรอง เพราะ ถ้าวัดกันที่จำนวนคลื่นแล้ว TRUE มีมากกว่ามาก บวกกกับการที่มองว่าการที่เอาคลื่นมาเพื่อแย่งลูกค้าจาก ADVANC ก็จะทำไม่ได้แล้ว หรืออาจจะไม่คุ้มแล้ว ในเมื่อ TRUE แย่งไปก่อนหน้านี้เสียเรียบร้อยแล้ว
2. หาก DTACปล่อยให้คลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ตกไปอยู่ในมือ ADVANC จะยิ่งตกย้ำความเสียเปรียบของDTAC เข้าไปอีกเพราะหากคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ ในมือถูกนำไปใช้ในกิจการรถไฟความเร็วสูงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ หมายความว่า เมื่อถึงตอนนั้นDTAC จะเป็นค่ายเดียวที่ไม่มีคลื่นสั้นอยู่ในมือและทำให้เกิดการเสียเปรียบในการแข่งขันในธุรกิจนี้อย่างรุนแรง รุนแรงขนาดที่ว่าน่าจะทำให้ DTACถูกเขี่ยตกไปอยู่อันดับ 3 เอาได้ง่ายๆ ซึ่งก็นับว่าเป็นอะไรที่ส่งผลกระทบได้มากทีเดียว และคงต้องมองหาแนวทางเพื่อการแก้ไขต่อไป
จะเห็นได้ว่าจากการทั้งสองข้อที่กล่าวมาทำให้DTAC ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากอย่างมาก คือเสียเปรียบในทุกๆทาง ไม่ว่าจะได้คลื่นมาหรือไม่ได้คลื่นมาก็อาการหนัก ทำให้นักวิเคราะห์และนักลงทุนต่างก็กังวลกับ DTAC ไปตามๆกัน แต่ถ้าจะหาจุดที่ทาง DTAC เองพอจะมีโอกาสอยู่บ้างก็ต้องบอกว่า DTAC คงต้องพึ่งน้ำบ่อหน้ากับคลื่นที่อาจจะเปิดประมูลในอนาคตได้แก่ คลื่น 800 เมกะเฮิร์ตซ์ (คาดประมูลปี 2561) ,คลื่น 700เมกะเฮิร์ตซ์ (คาดประมูลปี 2566) และ คลื่น 2300 เมกะเฮิร์ตซ์ (คาดประมูลปี 2568)
แต่ ณ ตอนนี้เมื่อการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ จบลงแน่นอนว่า ในระยะสั้นจะยังคงไม่มีการเปิดประมูลขึ้นมา คือจะไม่มีการประมูลคลื่นไปอีกอย่างน้อยสาม ปี แต่เมื่อครบสามปีแล้วก็ต้องดูว่าทาง กสทช. จะเปิดการประมูลหรือไม่ โดยถ้าเกิดการประมูลจริง DTAC ก็คงจะต้องทุ่มสุดตัวเพื่อให้ได้คลื่นมาให้ได้โดยเฉพาะคลื่นสั้นอย่างคลื่น 800 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่คาดว่าจะเปิดให้ประมูลปี 2561 เพื่อมาแทน คลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่จะต้องคืนสัมปทานไปในอีกสามปีข้างหน้าซึ่งผลจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องติดตามดูกันต่อไปซึ่งก็จะพลาดไม่ได้เลยเชียว เพราะผลลัพธ์ที่ได้อาจส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ทั้งต่อค่ายสัญญาณโทรศัพท์เองและต่อประชาชนผู้ใช้บริการโดยทั่วไปอีกด้วย ส่วนใครต้องการเกาะติดสถานการณ์การประมูลนั้น ก็สามารถเข้าดูตามเว็บไซต์ต่างๆ กันได้เลย