เข้าปี 2559 มาได้เกือบครึ่งปีแล้ว สิ่งแรกที่จำเป็นจะต้องทำการศึกษาเลยคือสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ที่เราได้ให้หลายคนได้ศึกษาเนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วงที่สุดเนื่องจากภาพรวมนั้นไม่สดใส คึกคัก หรือเป็นไปตามเป้าได้เท่าที่ควรนัก
จากที่เห็นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักๆ เลยคือ เนื่องจาการลงทุนที่เชื่องช้า การกระจายและเติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งนี้เป็นเพราะนโยบายและการจัดการที่ล่าช้า ทำให้เศรษฐกิจโลกมีการหยุดชะงัก ทำให้เหตุการณ์ต่างๆทั้งที่ดีและแย่ต่างเข้ามาโถมใส่อย่างชุลมุนและมีแนวโน้มว่าจะเป็นเช่นนี้ไปอีกระยะยาวเลยทีเดียว
จากการสำรวจกิจการเศรษฐกิจและสังคมของยูเอ็นพบว่า จากการที่เศรษฐกิจซวนเซใน2-3 ปีผ่านมา มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นอย่าเห็นได้ชัดในปี 2559-2560 เพราะอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างหรือวงจรทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ จากการสำรวจพบได้เลยว่าในปีที่ผ่านมานั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจมีเพียงร้อยละ 2.4 และมีการปรับลดลงร้อยละ 0.4 ท่างกลางภาวะสินค้าที่ตกต่ำ การไหลออกของเงินทุนมากกว่ารายได้ที่ไหลเข้ามา ทั้งนี้รวมไปถึงความผันผวนของตลาดการเงินที่ไม่น่าไว้ใจวาง จนแทบไม่มีนักลงทุนเข้ามาทำการลงทุนเลย เนื่องจากเกิดความวิตกและเป็นกังวลเรื่องการขาดทุน
สำหรับช่วงนี้จัดได้เลยว่าเป็นช่วงที่กลุ่มประเทศพัฒนาได้ประสบกับระบบเศรษฐกิจที่เชื่องช้าและอ่อนแอที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตการเงินในปี 2551-2552 จากเหตุการณ์ที่จีนได้ชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
ด้วยเหตุที่ได้กล่าวมานั้น ทำให้กลุ่มประเทศขนาดใหญ่ อย่างรัสเซียและบราซิล มุ่มเป้าหมายไปยังประเทศที่มีการพัฒนาแล้วอีกครั้งหนึ่ง และได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีการเติบโตมากถึงร้อยละ 2.9 ในปี 2559 และมากไปถึง 3.2 ในปี 2560 เนื่องจากนโยบายด้านการเงินในทั่วโลกที่คอยเอื้อประโยชน์ จังหวะ และเวลา ในการดำเนินเศรษฐกิจให้อยู่ในโหมดภาวะปกติ จากปัจจัยดังกล่าวเชื่อว่าจะช่วยลดความไม่แน่นอน รวมไปถึงการลงทุนที่มีความเติบโตอย่างพอประมาณ ด้วยเหตุนี้สามารถรับประกันได้เลยว่าเศรษฐกิจไทยเรานั้นจะดีขึ้นในปี 2559 อย่างแน่นอน
อุปสรรคสำคัญ 5 ประการสำหรับ เศรษฐกิจโลกในปี 2559
- ความไม่แน่นอนของเศรษฐศาสตร์ ที่กำลังเป็นอุปสรรค์ในการจัดการและแก้ไขนั้นยังคงอยู่
- ราคาสินค้าของกินของใช้ตกต่ำแต่ยังมีต้อนทุนในการผลิตที่สูงเช่นเดิม รวมไปถึงการไหลเวียนของการค้าลดลงมีการส่งออกน้อย นำเข้ามาก ถึงขาดความสมดุล
- ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนการเงินที่ไม่คงตัว รวมไปถึงการไหลเวียนของเงินลงทุน
- การลงทุนที่น้อยลงเนื่องจากความไม่แน่นอน จึงไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน บวกกับการเติบโตที่ล่าช้า ทำให้นักลงทุนต้องคอยสังเกตการณ์ไปอีกระยะ
- ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ และการดำเนินการเจริญเติบโตไปอย่างช้าๆ
เมื่อพิจารณาถึงความอ่อนแอการด้านการเงินเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการที่เกิดขึ้นของภาวะเศรษฐกิจโลก และการซื้อขายที่ยากลำบากต่อการแลกเปลี่ยนการเงิน ในภาคการเงิน การคลัง แนะนำเลยว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องควบคุมดูแลด้านการเงิน เพื่อลดความไม่แน่นอน และความผันผวนเหล่านั้นออกไป พยายามหาจุดสมดุลที่สามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้รวดเร็วขึ้น
ฮามิด ราชิด หัวหน้าหน่วยติดตามเศรษฐกิจโลก กล่าวไว้ว่า แนวทางแก้ไขเศรษฐกิจให้กลับมาอยู่ในภาวะปกติ จะช่วยลดความไม่แน่นอนออกไปได้เป็นบางส่วน รวมไปถึงการปลุกการลงทุนให้ฟื้นคืนชีพและมีการเคลื่อนไหวได้อีกด้วย สำหรับประเทศเศรษฐกิจกำลังเติบโต เห็นทีว่าจะต้องมีการปรับทิศทางเศรษฐกิจใหม่ๆให้เหมาะสมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การคลัง ปัจจัยสร้างความเข้มแข็ง ตลาดแรงงาน เพื่อที่จะได้ฝ่าฟันภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนเหล่านี้ไปได้
จะเห็นได้เลยว่านางหน่วยงานสำรวจเศรษฐกิจโลกมีความมั่นใจเป็นอย่างมากกเกี่ยวกับการฟื้นตัวและแนวโน้มที่จะดีขึ้น นับตั้งแต่วิกฤติการเงินโลก และตอนนี้ถือว่าได้เวลาแล้วที่นโยบายการคลังจะมีบทบาทมากขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจ หรือแนวโน้มการเงินกลับมาอยู่ในภาวะสมดุลและปกติที่สุด ทั้งนี้ในการดำเนินการจะต้องมียุทธศาสตร์ตลาดแรงงาน และเป้าหมายคอยสนับสนุนที่ดีพอ เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง และเพื่อที่จะได้ผลผลิต หรือผลออกมาในแนวทางที่เป็นบวก
สำหรับจุดที่เป็นข้อโต้แย้งกันเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอน จะส่งผลให้พลังงานทั่วโลกไม่เติบโตและเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควรเป็นนั้น มีผลสำรวจออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่าไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือเชื่อมโยงกัน ในบางกรณี แต่ทั้งนี้ก็ยังมีบางรายงานที่ได้ออกมาเตือนว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนจะส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวในมุมกว้าง ทำความเข้าใจอย่างคร่าวๆ พอที่จะสรุปได้เลยว่าแม้ว่าการปล่อยก๊าซดังกล่าวนั้นไม่ได้ส่งผลโดยตรงแต่ก็ยังส่งผลในทางอ้อม รวมไปถึงการทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างน่าเป็นห่วงอีกด้วย และที่แย่ไปกว่านั้นคือการหน่วงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาความยากจน หรือการเข้าไปมีผลต่อแผนการพัฒนา หรือการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจนั่นเอง