สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่อยากรวย มีเงินเก็บเยอะๆ เพื่อการใช้จ่ายในวัยเกษียณเยอะๆ นั้นจะต้องมาทำความเข้าใจไปกับสาระน่ารู้ทีเราได้นำมาฝากดังต่อไปนี้กันเลยจ้า บอกได้เลยว่าหากวันนี้คุณพลาด หรือก้าวช้าเพียงหนึ่งก้าวนั้น คุณจะต้องเสียใจไปอย่างแน่นอน เพราะคุณเองจะไล่หรือเดินตามไม่ทันคนอื่นๆ เขา ยิ่งทุกวันนี้เป็นยุคที่ไม่มีใครสนใจใครกันแล้วด้วยนะคะ หากไม่มีการเก็บออม หรือยืนได้ด้วยตัวเอง คงจะไม่มีใครมานั่งประคับประคองคุณอยู่หรอกจ้า วันนี้การเก็บออก หรือการสร้างรากฐานของระบบการเงินให้มีความมั่นคงแข็งแรงนั้นจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมากเลยทีเดียว พลาดไม่ได้แล้วกับสาระที่เรานำมาฝากดังต่อไปนี้
คำว่ารวย ไม่จำเป็นต้องร่ำรวยเงินทอง เพียงแค่พอมี พอใช้ ไม่ขาดมือ และไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น บอกได้เลยว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย และวันนี้คุณเองสามารถที่จะเริ่มต้นได้ เป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลยจ้า
การแบ่งแยกบัญชี
จะเห็นได้เลยว่าสำหรับผู้ที่จัดการเรื่องการเงินได้เป็นดี เขาเหล่านั้นจะมีการแยกเล่มบัญชีที่ชัดเจน มีการแบ่งอย่างถูกต้องและเป็นกิจลักษณะว่าส่วนไหนเป็นส่วนไหน เพื่อที่จะได้หยิบใช้ หรือคอยย้ำเตือนใจตนเอง ว่าส่วนไหนสามารถใช้ได้ ส่วนไหนที่เป็นเงินเก็บออม ทำแบบนี้รับรองได้เลยว่าคุณจะมีเงินเก็บอย่างแน่นอนจ้า
สำหรับการแยกบัญชีแนะนำเลยว่าให้เปิดบัญชีไว้ 3 บัญชี และควรที่จะเป็นธนาคารเดียวกันเพื่อเวลาที่ต้องมีการโอน ถอน จ่าย จะได้มีความสะดวกสบาย
- บัญชีแรกอาจเป็นบัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายในระยะสั้น กล่าวคือเงินที่เราต้องมีการนำออกมาใช้อย่างบ่อยๆ จะนำมารวมอยู่ในบัญชีนี้ ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพในหนึ่งวันอาทิเช่น ค่าข้าว ค่ารถ ค่าจิปาถะ เป็นต้น สำหรับการกดเงินออกมาใช้ควรกดออกมาครั้งเดียว และควรใช้จ่ายเป็นเงินสดจะดีกว่ารูดบัตรนะคะ เพราะเมื่อเราได้สัมผัสเงินจะเกิดความเสียดายขึ้นมาเล็กน้อยค่ะ
- บัญชีระยะยาว สำหรับบัญชีนี้จะใช้เป็นบัญชีที่เก็บเงินที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ค่าห้อง ค่ารถ ค่าบ้าน หรือค่าใช้จ่ายต่างๆที่ตายตัว
- บัญชีเงินออม แนะนำเลยว่าหากเป็นเงินออมควรจะเป็นบัญชีประจำที่ไม่ส่ามารถถอนออกมาเพื่อการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายได้ อีกทั้งรู้หรือไม่ว่าดอกเบี้ยของบัญชีนี้สูงกว่าบัญชีธรรมดาอีกด้วย
- บัญชีเงินเก็บสำรอง สำหรับบัญชีเงินเก็บสำรองเป็นบัญชีที่ต้องมีการไหลเข้าของเงินตลอดเวลา มีการเตรียมความพร้อมเสมอเพื่อนำมาใช้ยามฉุกเฉิน เป็นอีกหนึ่งจุดที่สำคัญเป็นอย่างมากเลยเดียว ดังนั้นเพื่อนๆ วัยทำงานทั้งหลายอย่าได้ละเลยในจุดนี้ไปล่ะ เพราะหากเกิดอะไรขึ้นมานั้นจะได้ไม่ต้องมาวิ่งหา หรือหมุนเงินกันเอาภายหลัง
การวางแผนค่าใช้จ่าย
เคยคิดบ้างหรือไม่ว่าทำไมในแต่ละเดือนเงินเดือนไม่พอใช้ หรืออยู่ได้ไม่ตลอดเดือน ทั้งนี้เป็นเพราะว่าคุณเองขากการจัดการที่ดี มีการใช้จ่ายโดยที่ไม่ได้ทำการวางแผน ทำให้เงินที่คุณได้มานั้นสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย บางคนคิดว่าเงินหาย แต่เมื่อมานั้นบวก ลบ คูณ หารแล้วพบว่าไม่ได้หายไปอย่างที่คิด เกิดจากการใช้จ่ายที่ขาดการยั้งคิด หรือไม่ได้ทำการวางแผน ทางที่ดีที่สุดในตอนนี้คือการวางแผนหลังจากที่ได้เงินมา ว่าส่วนไหนสามารถใช้ได้ ส่วนไหนเป็นเงินเก็บ
การวางแผนเรื่องการเงิน หากสักแต่คำว่าวางแผนอย่างเดียวไม่สามารถควบคุมตัวเองให้ทำตามได้ บอกได้เลยว่าเสียเวลาเปล่าค่ะ เพราะอย่างไรเสียการจัดการทีดี การวางแผนที่ดีนั้นไม่สามารถช่วยให้คุณมีเงินเก็บได้อย่างแน่นอน หากไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้เงิน
สำหรับการวางแผนนั้นจำต้องมีแผนการใช้เงินที่ชัดเจนดังเช่น
- จะต้องมีการคำนวณรายจ่าย ค่ารถ ค่าอาหาร อย่างชัดเจน เช่นในแต่ละวันนั้นค่าอาหาร 120 บาท ค่ารถ 40 บาทรวมเป็นเงิน 160 บาท แต่เราสามารถเผื่อขาดเผื่อเกินไปได้เป็น 200 บาทต่อหนึ่งวัน 40 บาที่เกินออกไปนั้นจะต้องเหลือมาหยอดกระปุกออมสินนะคะ อย่าใช้หากไม่จำเป็น ทำเป็นประจำ แรกๆ อาจยากสัดหน่ออย แต่เชื่อเลยว่าหากพ้น 2-3 เดือนแรกไปได้นั้น คุณจะเกิดความเคยชินอย่างแน่นอนจร้า
- ค่าใช้จ่ายตายตัว เป็นค่าใช่จ่ายเกี่ยวกับรถ บ้าน ที่พัก ที่จำเป็นจะต้องจ่ายและตายตัวในแต่ละเดือน ให้ยึดเอาค่าใช้จ่ายในเดือนที่เยอะที่สุด และควรจะป้องวกันการขาดเหลือไปอย่างน้อย 500-1,000 บาท ตัวอย่างเช่น ค่าห้อง + ค่าเดินทาง + ค่าบัตรเครดิตต่างๆ = 5,700 บาท คุณจะต้องเก็บไว้ในบัญชีเป็นจำนวน 6,200-7,000 บาทเผื่อขาดเผื่อเกินเอาไว้นั่นเองค่ะ
- เงินออม เงินส่วนนี้จะต้องแบ่งแยกออกมาเลยในวันที่ได้รับเงินเดือนมา ไม่จำเป็นต้องมากมายเท่าไหร่นักนะคะ แค่เพียง 20% ของเงินเดือนทั้งหมด ถือว่าเพียงพอแล้ว เช่นเงินเดือนของคุณ 30,000 บาทจะต้องหักเข้าบัญชีเงินออมเป็นจำนวนเงิน 6,000 บาท
ที่กล่าวมานี้เป็นทริคเล็กๆ สำหรับการจัดการเรื่องการเงิน อย่างไรให้ลงตัว แต่สิ่งที่เราเองต้องการให้เพื่อนๆ ทำเป็นประจำเลยคือการจดบันทึก บอกได้เลยว่ามันสำคัญมากๆ คุณจะได้ทราบเลยว่าค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมีส่วนไหนที่ขาดหายไปบ้าง แล้วเดือนหน้าคุณอาจตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ทำให้สามารถประหยัดการใช้เงินได้เยอะขึ้นกว่าเดิมอีกด้วยนะคะ
อ่านเพิ่มเติม :จะจัดการอย่างไรเมื่อ หนี้เยอะกว่ารายรับ ?