ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ค่าของเงินที่เราถืออยู่ลดลง
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ราคาขนมจีบที่เราเคยกิน 3 ลูก 10 บาท แต่ปัจจุบัน ราคาของขนมจีบอยู่ที่ อยู่ที่ลูกละ 5 บาท หากเราใช้เงินเท่าเดิม เราจะได้กินน้อยลงคือ 2 ลูกเท่านั้น แปลว่าเราต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น เป็น 15 บาท นั้นคือเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้จำนวนเท่าเดิมที่เราถืออยู่มีค่าลดลง หรือซื้อของได้น้อยลงนั่นเอง
ถ้าเปรียบเทียบเงิน 4,000 บาทเมื่อ 50 ปีก่อนมีมูลค่าเท่าไหร่ เราจะเห็นว่า พ่อแม่ของเราชอบบ่นๆว่า ก๋วยเตี๋ยวราคาประมาณ 1 บาทบ้าง 2 สลึงบ้างอย่างงี้เงินหลักพันก็มีมูลค่ามากกันเลยทีเดียว เรามาดูกันว่าจำนวนเงิน 4,000 บาทเนี่ย จะมีมูลค่าเท่าไหร่
50 ปีที่แล้ว มีเงิน 4,000 บาท ณ เทียบกับปัจจุบันมีมูลค่าเท่ากับเท่าไหร่ เราจะใช้สูตร ค่าของเงินตามเวลา
(Time Value of Money)
FV = PV(1+r)n
FV = จำนวนเงินในอนาคต
PV = เงินต้นหรือเงินในปัจจุบัน
r = อัตราดอกเบี้ยทบต้นหรืออัตราผลตอบแทน 3%
n = จำนวนงวดทบต้น
เริ่มคำนวณกันได้เลย n = 2509 – 2559 = 50 ปี
PV = 4,000
FV = 4,000x(1+0.03)50 = 17,536 บาท
จากการคำนวณพบว่าเมื่อสมัยก่อนถ้าเรามีเงินอยู่ที่ 4,000 บาทเทียบกับปัจจุบันเท่ากับเรามีเงินอยู่ที่ 17,536 บาท ซึ่งถือว่าเยอะเลยทีเดียวถ้าสมัยนั้นค่าครองชีพเมื่อเทียบกันแล้ว เกือบหลายเท่าเลยทีเดียว ค่าก๋วยเตี๋ยวที่พ่อแม่หลายท่านบอกเลยว่า ตก 2 สลึงอย่างหรูก็ถ้วยละ 1 บาท โหหห สมัยนั้นถ้ามีเงินมากมายขนาดนี้ ก็สามารถกินก๋วยเตี๋ยวหรูๆได้หลายหมื่นชามกันเลยทีเดียว
แล้วถ้าคำนวณกลับกัน 4,000 บาท ในอีก 50 ปีข้างหน้าจะมีค่าเท่าไหร่
เริ่มคำนวณกันได้เลย n=2559 – 2609 = 50 ปี
FV = 4,000
ใช้สูตร PV = FV/(1+r)n
PV = 4,000/(1+0.03)50 = 912 บาท
มองเห็นภาพชัดมากขึ้นเมื่อเราคิดกลับ อย่างเรามีเงินเก็บอยู่ที่ 4,000 บาทในอีก 50 ปีข้างหน้า มูลค่าของเงิน 4,000 จะเหลือมูลค่าเมื่อเทียบกับปัจจุบันคือเงิน 912 บาท
แล้วเงินเฟ้อมีกี่แบบ ณ ตอนนี้ มีอะไรบ้าง ?
1.ภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อน (mild inflation)
หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นไม่เกิน 5% ต่อปี ภาวะเงินเฟ้อระดับนี้จะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าและบริการแต่เพียงเล็กน้อยดังกล่าวจะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (ได้กำไรสูงขึ้น) เมื่อมีการลงทุนมากขึ้นก็จะทำให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เศรษฐกิจ มีการขยายตัวสูงขึ้น
2.ภาวะเงินเฟ้อปานกลาง (moderate inflation)
หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นเกินกว่า 5% แต่ไม่เกิน 20% ต่อปี ภาวะเช่นนี้ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้นโดยที่รายได้เพิ่มตามไม่ทัน ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจ เลวลง (รายได้ที่แท้จริงลดลง)
3. ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (hyper inflation)
หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นเกินกว่า 20% เป็นสภาพที่เกิดขึ้นในฉับพลันทันที เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆ ประชาชนประสบกับความเดือดร้อนมาก เงินที่ถืออยู่ในมือมีค่าลดลงทุกวัน จนอาจจะไม่มีค่าเลยอีกต่อไป ภาวะดังกล่าวนี้โดยมากจะเกิดขึ้นในระยะที่เกิดสงคราม จลาจล หรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ
ถ้าเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ๆ จะเกิดอะไรขึ้น?
อาจจจะมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะจะทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถวางแผนการผลิตและลงทุนได้ เพราะไม่รู้ว่าวัตถุดิบที่จะซื้อเข้ามาราคาจะเป็นเท่าไร จะตั้งราคาสินค้าเท่าไร เพื่อให้ยังมีกำไร ขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคเองก็ไม่แน่ใจว่าราคาสินค้าจะแพงขึ้นอีกหรือไม่ เงินจำนวนเท่าเดิมที่มีอยู่ในกระเป๋าก็ด้อยค่าลงไป เพราะข้าวของแพงขึ้น ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจก็ขายของได้น้อยลง ซึ่งที่สุดแล้วจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศแย่ลงได้
แนวทางการปรับเงินเฟ้อ ธนาคารกลางอาจใช้มาตรการทางการเงินเพื่อลดปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีผลให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น การใช้จ่ายรวมและการลงทุนของประเทศลดลง หรืออาจใช้วิธีควบคุมการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ การปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะจูงใจให้ประชาชนลดการบริโภคและเพิ่มการออม ทำให้อุปสงค์รวมลดลง รัฐบาลอาจจะลดการใช้จ่ายโดยเฉพาะรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เพิ่มอัตราภาษีเงินได้ เพื่อให้รายได้ที่พ้นจากภาษีเพิ่มขึ้นจะเป็นการดึงเงินจากระบบเศรษฐกิจมาเก็บไว้ การบริโภคของประชาชนจะลดลง ในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ
ขอบคุณข้อมูลจาก
- http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0001065/admin/learn8_2.html
- http://www.vcharkarn.com/varticle/34764