เห็นได้อย่างชัดเจนได้เลยว่าปัจจุบันนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจขั้นวิกฤติ วันนี้มาดูกันดีกว่านะคะ ว่าแนวโน้มระบบการเงินในเดือนมิถุนายน 2559 จะเป็นอย่างไร นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาทำการประเมินภาวะทางเศรษฐกิจ ดังนี้
ทิศทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจในประเทศไทยในปีนี้ ต้องยอมรับเลยว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวที่ช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากปัจจัยหลายๆ ปัจจัยที่คอยเป็นอุปสรรคและกีดขวางการฟื้นตัวเหล่านั้นตามการส่งออกที่มีแนวโน้มต่ำกว่าคาดเป็นสำคัญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำลงจากต้นทุนและแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่ลดลงนั่นเองค่ะ ไม่เพียงเท่านี้ เพราะยังมีข้อมูลที่สำคัญใช้ในประกอบการประมาณการ คาดคะเน ดังต่อไปนี้
- ปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีการฟื้นตัวที่ช้ากว่าปกติส่วนหนึ่งเป็นเนื่องมากจาสาเหตุที่เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งทางเราจะอิงเศรษฐกิจจีน และเอเชียเป็นหลัก
- มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการค้าระดับโลกครั้งใหญ่ ที่ทำให้การส่งออกไทยได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าน้อยลง
- รายจ่ายที่เกินตัว ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะการลงทุนที่สามารถทำได้มากกว่าคาด หรือค่าใช้จ่ายในส่วนอื่น
- การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกอย่างกะทันหัน เป็นผลทำให้ประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวช้า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าโลก และปัญหาเชิงโครงสร้างของการส่งออกสินค้าไทย รวมทั้งผลกระทบจากการแข็งขึ้นของดัชนีค่าเงินบาทในช่วงก่อนหน้า ทำให้การส่งออก สินค้าของไทยมีแนวโน้มต่ำลง ซึ่งบั่นทอนรายได้และความเชื่อมั่นของภาคเอกชนที่อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว ผนวกกับ สถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อทำให้การใช้จ่ายภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าคาด ขณะที่ภาครัฐมีแนวโน้มใช้จ่ายได้มากขึ้นและต่อเนื่องทั้งการลงทุนในงบประมาณ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
การส่งออกบริการ มีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้มาก เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รายได้เข้าประเทศมากกว่าที่เคยเป็น แต่อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายก็ยังดำรงอยู่ในจำนวนเงินที่สูง ไม่สามารถชดเชยแรงขับเคลื่อนที่หายไปจากการส่งออกสินค้าและการใช้จ่ายภาคเอกชนได้ทำให้เศรษฐกิจในปีนี้ ขยายตัวต่ำลงกว่าประมาณการเดิมหากมองไปข้างหน้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจคู่ค้าหลักที่มีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้แนวโน้ม การส่งออกสินค้าปรับดีขึ้น และเมื่อรวมกับการใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะการลงทุนที่มีความต่อเนื่อง จะส่งผลดีต่อ รายได้ของภาคครัวเรือนและสร้างความมั่นใจให้ภาคเอกชนใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจปี 2559 ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าปีนี้
อัตราเงินเฟ้อ ต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ลดลงเนื่องจาก ภาครัฐปรับลดอัตราการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันลง แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ราคาอาหารสดในช่วงที่ผ่านมาลดลง และแรงกดดันเงินเฟ้อจากด้านอุปสงค์ต่ำกว่าที่คาดไว้ แต่เชื่อว่าหากมีการแก้ไข หรือรับมือที่ดี จะไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไหร่นัก
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ยังมีความล่าช้า อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ ประเมินว่า โอกาสการเกิดภาวะเงินฝืดยังมีน้อย เนื่องจากการอุปโภคบริโภคยังขยายตัว ราคาสินค้าและบริการส่วนใหญ่ยังมีแนวโน้มทรงตัวหรือสูงขึ้น และการคาดการณ์เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายของนโยบายการเงิน
การประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
โดยทางคุณเมธี สุภาพงษ์ ได้ทำการชี้แจงว่าทางคณะกรรมการได้มีการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจลงและประเมินว่าความเสี่ยงต่อประมาณการโน้มไปด้านต่ำ การใช้จ่ายในประเทศมีมากกว่าโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวสูง และประเมินความเสี่ยงต่อประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั้งสองโน้มไปด้านต่ำ ตามเศรษฐกิจที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด
สำหรับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อาจต่ำกว่าคาดตามอุปทานที่อาจปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เคยประเมินไว้ ทั้งนี้ประชากรภายในประเทศเองจะต้องการแนวทางในการเตรียมความพร้อม หรือการรับมือเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้มีเกิดผลกระทบที่ร้ายแรงมากนัก
การดำเนินนโยบายการเงิน
นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เผชิญกับความเสี่ยงด้านลบมากขึ้น ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อต่ำลง ในทิศทางที่เอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และช่วยดูแลการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนให้อยู่ในระดับ เหมาะสมในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นเวลานาน เพื่อลดทอนความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินฝืด
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งติดตามความไม่สมดุลทางการเงินที่อาจก่อตัวขึ้นในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ แต่ทั้งนี้ประชากรจะต้องการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด มีการวางแผนและการจัดการ ที่สำคัญที่สุดอย่าลืมปฏิบัติตามแผนการนโยบายต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนะคะ เชื่อได้เลยว่าหากร่วมมือร่วมใจกันแล้ว ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรก็จะผ่านพ้นช่วงเวลาเหล่านี้ไปได้ด้วยดี
ผุ้เขียนขอเป็นหนึ่งกำลังใจ สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว แนะนำเลยว่าอย่าท้อ สู้ แล้วเราจะผ่านพ้นช่วงวิกฤติแบบนี้ไปได้ ไม่เพียงแต่เราเท่านั้น คนอื่นก็พบเจอเช่นกันนะคะ