คนทำงานหลายคนโดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน อาจจะยังไม่ทราบรายละเอียดที่แน่ชัด เกี่ยวกับการจ่ายเงินกับประกันสังคม รู้เพียงแต่ว่าในแต่ละเดือนคุณจะต้องจ่ายค่าประกันสังคมก็จริง แต่ไม่รู้ว่าจะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้างจากการจ่ายเงินในแต่ละเดือน และทำไมจะต้องจ่าย หลายคนไม่ทราบว่าจะได้ใช้สิทธิอะไรจากประกันสังคมบ้าง ซึ่งคนทำงานส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าการจ่ายเงินประกันสังคมเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะแทบจะไม่ได้ใช้สิทธิอะไรเลยด้วยซ้ำ ตั้งแต่ทำประกันสังคมมา ซึ่งหากรู้แล้วก็จะเข้าใจระบบประกันสังคมได้ดีขึ้น
กองทุนประกันสังคม มีผู้ประกันตนทั้งหมด 3 ประเภท
เป็นที่ทราบกันดีว่าประกันสังคมก็คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนนั้นมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และจะต้องทำการรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย หรือ คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ รวมถึงการว่างงาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดี และทำให้มีรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยกองทุนประกันสังคม ได้แบ่งผู้ประกันตนออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภท
1.ผู้ประกันตนที่เป็นพนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33) โดยได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี
2.ผู้ประกันตนที่เคยเป็นพนักงานแต่ลาออก (มาตรา 39) และได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี
3.ผู้ประกันตนแต่มีอาชีพอิสระ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ (มาตรา 40) ได้รับความคุ้มครอง 3 หรือ 4 กรณี
แม้ว่าผู้ประกัน ตนในแต่ละประเภทจะได้รับความคุ้มครองด้วยสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่ก็จะต้องมีหน้าที่ที่จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนเหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งสิทธิประโยชน์และคุณสมบัติของผู้ประ กันตนมีข้อตกลงอย่างไรบ้างมาดูกัน
- ผู้ประกันตนในแบบฉบับภาคบังคับ (มาตรา 33)
ผู้ประกันตนในแบบฉบับภาคบังคับนี้ คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้าง หรือที่เราเรียกกันมนุษย์เงินเดือนนั้นล่ะ เป็นกลุ่มคนที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการซึ่งมีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี โดยแต่ละเดือนจะต้องทำการส่งเงินสมทบเข้ากองทุน โดยมีการคิดเป็นสัดส่วนคือ ลูกจ้างจะต้องจ่าย 5% นายจ้างหรือเจ้าของบริษัท จ่ายอีก 5% และรัฐบาลจ่าย 2.75% ของฐานเงินค่าจ้างที่เป็นขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) จะได้รับความคุ้มครอง ในกรณีเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ รวมถึงกรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีคลอดบุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน
- ผู้ประกันตนที่เป็นแบบภาคสมัครใจ (มาตรา 39)
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ที่เป็นการประกันตนแบบสมัครใจจะได้รับความคุ้มครอง ในกรณีเจ็บป่วย หรือได้รับอุบัติเหตุ ทำให้ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และ ชราภาพ ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรานี้ คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วได้ลาออกมา แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประ กันสังคมในมาตรา 39 แทน ซึ่งการสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ ได้มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน หรือหนึ่งปี และได้ลาออกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ ซึ่งผู้ประกันตนจะ ต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน ทุกๆ เดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน
- ผู้ประกันตนแบบภาคสมัครใจ (มาตรา 40)
ผู้ประกันตนในมาตรา 40 จะต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี และเป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และต้องไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 แต่การที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ได้นั้น ผู้สมัครสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ โดยจะมีให้เลือก 2 ชุด คือ
1.ความคุ้มครองแบบ 3 กรณี
หากผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท ต่อเดือน ก็จะต้องจ่ายเอง 70 บาท รัฐบาลสมทบ 30 บาท ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง คือ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต
2.ความคุ้มครอง 4 กรณี
หากผู้ประกันตนเลือกจ่าย 150 บาท ต่อเดือน ก็จะต้องจ่ายเอง 100 บาท ทางรัฐบาลสมทบ 50 บาท โดยผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง คือ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และ ชราภาพ
สิทธิประกันสังคมใหม่ เพิ่มผลประโยชน์แก่ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ได้ออกพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558 ที่มีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมใหม่ เพื่อเพิ่มผลประโยชน์มากมายให้ผู้ประกันตน ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้มีการเพิ่มเติมในส่วนของสิทธิประโยชน์ เพื่อทดแทนที่มีอยู่เดิมและจะทำให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์และ น่าสนใจมากเพิ่มขึ้น โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้จริง ๆ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 สิทธิประโยชน์ทดแทนที่เพิ่มเติมขึ้นมามีอะไรบ้างมาดูกัน
1.กรณีผู้ประกันตนได้มีการจงใจให้ตนเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือตาย โดยไม่ได้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
ประโยชน์ทดแทนเดิม : กรณีผู้ประกันตนจงใจทำให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือตาย จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : หากผู้ประกันตนจงใจทำให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต และยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
2.ผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ประโยชน์ทดแทนเดิม: ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเฉพาะค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ ค่ารถพยาบาล ฯลฯ
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : ในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนจะได้รับค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
3.กรณีทุพพลภาพ
ผู้ทุพพลภาพหลังจากวันที่ 31 มีนาคม 2558 เป็นต้นไป
ประโยชน์ทดแทนเดิม : ผู้ประกันตนจะต้องสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายร้อยละ 50 ถึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : ไม่ต้องสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายร้อยละ 50 ก็สามารถรับสิทธิรับประโยชน์ทดแทน
4.เป็นผู้เจ็บป่วยเรื้อรังและทุพพลภาพ
ประโยชน์ทดแทนเดิม : ผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : แม้ส่งเงินสมทบไม่ครบตามสิทธิ ผู้ประกันตนก็จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีตาย
5.กรณีเสียชีวิต
- กรณีส่งเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือน แต่ไม่ถึง 120 เดือน
ประโยชน์ทดแทนเดิม : ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้าง 1.5 เดือน หากผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : หากผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือถึงแก่ความตาย ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับ 50% ของค่าจ้างรายเดือนและ คูณด้วย 4 (เท่ากับค่าจ้างจะอยู่ที่ประมาณ 2 เดือน)
- กรณีที่ 2 ส่งเงินสมทบมาแล้วมากกว่า 120 เดือน
ประโยชน์ทดแทนเดิม : ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน หากผู้ประกันตนได้ถึงแก่ความตาย
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับ 50% ของค่าจ้าง แล้วคูณด้วย 12 (เท่ากับค่าจ้างประมาณ 6 เดือน) หากผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
6.กรณีคลอดบุตร
ประโยชน์ทดแทนเดิม : ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ไม่เกิน 2 ครั้ง และเป็นการเบิกแบบเหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาท
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ครั้งละ 13,000 บาท รวมถึงเงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิง
7.กรณีสงเคราะห์บุตร
ประโยชน์ทดแทนเดิม : ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าสงเคราะห์บุตรอายุ 0-6 ปี ได้ครั้งละไม่เกิน 2 คน และเหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 400 บาทต่อคน
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าสงเคราะห์บุตรอายุ 0-6 ปี ได้ครั้งละไม่เกิน 3 คน และเหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 400 บาทต่อคน
8.กรณีว่างงาน
ประโยชน์ทดแทนเดิม :ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออก
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเมื่อว่างงาน ในกรณีที่นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว หรือเกิดจากเหตุ สุดวิสัยโดยยังไม่มีการเลิกจ้าง อย่างกรณีสถานประกอบการถูกน้ำท่วม
9.กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จชราภาพ)
ประโยชน์ทดแทนเดิม : มีการจ่ายให้ทายาทตามกฎหมาย คือ มารดา บิดา บุตร และคู่สมรส ,ส่วนบุคคลที่ไม่ใช่ทายาทตามกฎหมายจะไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ และผู้ประกันตนไม่อาจทำหนังสือระบุให้บุคคลอื่นสามารถรับเงินบำเหน็จชราภาพได้ เพราะหากผู้ประกันตนไม่มีทายาท จะทำให้เงินบำเหน็จชราภาพจะตกเป็นของกองทุน
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : หากผู้ประกันตนไม่มีทายาท หรือไม่มีบุคคลที่ทำหนังสือระบุ จะให้สิทธิแก่พี่ญาติพี่น้องอย่าง น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง น้า ป้า อา ซึ่งผู้ประกันตนสามารถทำหนังสือเพื่อเป็นการระบุให้บุคคลอื่นรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ โดยสามารถมีสิทธิได้รับร่วมกับทายาท
10.กรณีลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ
ประโยชน์ทดแทนเดิม : เป็นการให้การคุ้มครองเฉพาะลูกจ้างชั่วคราวแบบรายเดือน
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : เป็นการขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ
11.ระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน
ประโยชน์ทดแทนเดิม : ผู้ประกันตนต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี
สิทธิประโยชน์ทดแทนใหม่ : ผู้ประกันตนต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 2 ปี
จากการที่พระราชบัญญัติฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ จะเห็นได้ว่าสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ นั้นสามารถเอื้อให้กับมนุษย์เงินเดือนทำให้รู้สึกว่าคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์สารนิเทศ สายด่วนประกันสังคม 1506 www.sso.go.th , th.jobsdb.com › www.myonesabuy.com, money.kapook.com/