ไม่น่าเชื่อว่าจะมี facebook ที่เป็นเพจปลอมเพื่อสร้างขึ้นแบบปลอม ๆ และยังเป็นการปลอมชื่อคนดังด้วย เมื่อมีการเผยแพร่บนโลกโซเชียลขึ้นมา อาจทำให้เข้าใจผู้เสพข่าวทั่วไปเกิดความเข้าใจผิด เพราะการเสนอข่าวแบบผิดๆ ท่ามกลางข่าว Social ที่กระจายข่าวสารอย่างรวดเร็ว ทำให้บางข่าวอาจไม่ใช่ข่าวจริงๆก็ได้ ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นมักทำให้ผู้คนสับสน และทำให้เจ้าของข่าวเกิดความเสียหาย หรืออับอาย ทำให้เจ้าของข่าวรู้สึกแย่ เพราะมีเนื้อหาที่ร้ายแรง หรือรุนแรง 18 + และมีเหตุผลในแง่ร้ายอีกมากมายและมีผลต่อทางกฎหมาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณไม่ควรแชร์ข่าวมั่ว ๆ เพราะจะทำให้คนอื่นสับสน และทำให้คุณกลายเป็นคนมั่วตามข่าวไปโดยพริบตา ช่วงนี้มีข่าวเท็จ มีการสร้างข่าวออกมา โดยมีการเผย แพร่จากเว็บไซต์ข่าวปลอม หรือผ่านทาง facebook ที่เป็นเพจที่โพสต์ข่าวปลอมอยู่บ่อยๆ เราจะมีวิธีดู ข่าวปลอม หรือ Facebook ปลอมได้อย่างไรนะ ??
จุดประสงค์ของการทำข่าวปลอม
ผู้ที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็น ดารา นักร้อง นักธุรกิจ นักการเมือง หรือเหล่าเซเล็บต่างๆ มักจะโดนแอบอ้างการลงรูป ลงข่าว ผ่านตามโลกออนไลน์ ซึ่งจะมีทั้งข่าวจริง และข่าวไม่จริง ปะปนกันไป ใครที่มักจะนำเสนอข่าวปลอมๆ ข่าวร้าย หรือข่าวไม่เป็นความจริง ส่วนหนึ่งเป็นการประสงค์ร้าย หรือไม่ได้ข้อมูลมาไม่ครบถ้วน ทำให้เมื่อเวลานำมลงบนเพจปลอมนั้น มีข่าวปลอมประปนตามไปด้วย ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เข้ามาอ่านเกิดความเข้าใจผิดได้
แม้แต่ธนาคารก็ยังมีข่าวว่ามีเว็บปลอม
อย่าว่าแต่เพจปลอม เฟซบุคปลอมเลย แม้แต่ธนาคารยังมีเว็บปลอม แถมยังหลอกเอาpassword ไป ยิ่งมีข่างทำนองนี้ออกมาบ่อยๆ หลายคนยิ่งอยากจะรู้ว่าเว็บปลอมหน้าตาเป็นยังไง แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเว็บที่คุณเข้าอยู่นี้จริงหรือปลอม เว็บที่ขึ้นมาเป็นชื่อแรก มีโอกาสปลอมไหมหรือไม่ หลายคนคงสงสัย หากต้องการทราบว่าเป็นเว็บธนาคารปลอมไหม ลองใช้วิธี search หาเว็บที่จะเข้าจาก google ลองดูในช่อง url ส่วนโอกาสที่เว็บปลอมจะได้อันดับแซงเว็บจริงคงยาก
หรือใครที่เคยเข้าเว็บจริงประจำ ลองทำเป็น bookmark ไว้ดีกว่า โดยเฉพาะเว็บของธนาคารที่เข้าบ่อยๆ กดเอาจาก bookmark รับรองไม่ผิดแน่ ส่วนใหญ่เว็บปลอม อันดับในกูเกิ้ล จะไม่ค่อยดี การสังเกต จาก url ,ที่อยู่ ถ้ามี https Web จะมีความปลอดภัย ส่วน s ย่อมาจาก Security อาจช่วยได้ระดับหนึ่ง ถ้าหากคุณต้องการทำธุรกรรม ธนาคาร ควรทำผ่าน Internet 3G น่าจะโอเคกว่า แต่ก็อย่างว่า เพราะเว็บไซต์ที่มี Secure port ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย 100% แต่ก็ไม่ใช่จะไม่ปลอดภัย ปัจจุบันเหล่ามิจฉาชีพก้าวหน้าไปจนถึงขั้นทำการสร้าง Cert. ปลอม ในหน้าเว็บนั้นๆได้เหมือกับ Cert.จริง ๆ ของแบงค์ด้วยซ้ำ ทำให้มีโอกาสที่จะเข้าหน้าเว็บปลอมแล้วขึ้น https แบบที่หลายๆ คนพูดถึง
จะรู้ได้ไงว่าเว็บจริงหรือหลอกลวง
หากเป็นเว็บของธนาคาร คำตอบคือ เข้าหน้าเว็บหลักของธนาคารต่างๆ ซึ่งเค้าจะบอกจุดสังเกตของ Website ปลอมอย่างชัดเจน ที่สำคัญคือ ระวังเข้าเว็บถูกต้องแล้วแต่โดน โทรจัน หรือสปายแวร์ ที่ฝังตัวในเครื่องด้วย ส่วนวิธีจับพิรุธเว็บไซต์ปลอมของธนาคารออนไลน์ เพื่อเป็นข้อควรระวังในใช้งานธุรกรรมออนไลน์ ลองสังเกตสัญลักษณ์รูปกุญแจที่เว็บบราวเซอร์ว่ามีหรือไม่มี หากมีแสดงว่าปลอดภัย ซึ่งสัญลักษณ์นี้ส่วนใหญ่แสดงถึงความปลอดภัยของเว็บไซต์ ระบบธนาคารออน ไลน์ส่วนใหญ่มักจะขึ้นต้น URL ด้วย https:// ลองตรวจสอบชื่อผู้ให้บริการ ว่าจดทะเบียนภายใต้ชื่อสถาบันการเงินจริงหรือไม่ แต่ที่สำคัญธนาคาร ไม่มีนโยบายส่งลิ้งค์ให้ลูกค้าทำธุรกรรมการเงินหรือให้ข้อมูลส่วนตัวผ่านทาง E-mail อย่างแน่นอน
การตรวจสอบ facebook page จริงหรือปลอม
หากเป็นสำนักข่าว ควรตรวจสอบว่าเพจของ facebook นั้นมีสัญลักษณ์เครื่องหมายถูกต้องหรือไม่ อย่างเช่นเพจ facebook เว็บไซต์ข่าวสด แต่มาชี้ที่ลิงค์ข่าวแล้วกลับกลายเป็นว่า ให้ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งของจริงต้องแชร์จากเว็บไซต์ข่าวสดเอง หรือหาก facebook page ที่มีคนติดตามจำนวนมากอย่าง sanook.com แม้จะไม่มีเครื่องหมายถูกปิดท้าย แต่หากลิงค์ข่าวเป็นลิงค์ที่คลิกแล้วไปยังเว็บไซต์ sanook.com อยู่ ก็คือเป็นเพจจริง แต่ถ้าลองชี้ที่ลิงค์ข่าวแล้วกลับไปเว็บไซต์อื่นๆละก็นั่นคือเพจปลอมแน่นอน
วิธีดูเว็บไซต์ข่าวปลอม และ วิธีดู Facebook ข่าวปลอม
ข่าวปลอมส่วนใหญ่ มักเป็นข่าวในแง่ร้าย และแฟนเพจข่าวปลอม จะมีคนกดไลค์เพจน้อยกว่าของจริง หรือเว็บไซต์ข่าวปลอม บางส่วนมักใช้รูปคู่ ซ้ายรูป ขวารูป ส่วนข่าวปลอมลองดูดี ๆ ก่อนว่าเป็นข่าวที่อยู่ในช่วงกระแสหรือไม่ และข่าวที่ออกมามีลักษณะในแง่ลบมากน้อยแค่ไหน ให้ลองดูจากหลายๆ เว็บไซต์ด้วย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของข่าวก่อนแชร์
ส่วนมากเพจปลอม หรือเฟซบุคปลอม บางส่วนมักจะโพสต์เรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ หรือมักจะใช้รูปที่มีเนื้อหารุนแรง ไม่เซ็นเซอร์ มักจะโพตส์รูปโป๊ และการพนัน ,Facebook เพจข่าวปลอม บางส่วน เมื่อเอาเมาส์ชี้รูป จะไม่ตรงกัน เว็บข่าวปลอม ส่วนใหญ่จะมี .online ต่อท้ายเว็บหลังสุด หรือ มักใช้ชื่อ .com ซ้อน ๆ กันเพื่อหลอกให้เชื่อว่า เว็บนั้น เป็นเว็บจริงอย่าง sanook.com.khaosod.com หรือ sanook.com.dailynews.com
พยายามอย่าเชื่อข่าวทั้งหมด เพราะปัจจุบัน facebook เพจปลอม มักจะพยายามสร้างความเชื่อถือด้วยการอัพข่าวเด็ดดังซึ่งเป็นข่าวหลอกให้คนเห็นแล้วแชร์หลงเชื่อจำนวนมาก
ที่มา :
- www.secure-paypal.com
- windows.microsoft
- www.piwatapple.com