เวลาที่มนุษย์เงินเดือนไปทำเรื่องยื่นขอสินเชื่อกับทางธนาคาร แล้วไม่ได้รับการอนุมัติ ส่วนใหญ่มักจะเกิดความสงสัยว่าธนาคารใช้หลักเกณฑ์อะไร ในการพิจารณา มาดูกันดีกว่าว่าจริง ๆแล้ว ธนาคารเขามีหลักเกณฑ์อย่างไรกันบ้าง ซึ่งการเตรียมความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญในการสมัครขอสินเชื่อ เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติให้มีมากขึ้น คุณอาจจะต้องวางแผนเพื่อขอสินเชื่อกับธนาคาร โดยเฉพาะการเตรียมเอกสารต่างๆ ที่ต้องเก็บไว้ให้ดี รวมถึงเอกสารที่สามารถแสดงให้เห็นถึงรายรับ-รายจ่ายของคุณ ไม่ว่าจะเป็น สำเนาใบกำกับภาษี ใบสั่งซื้อ หรือใบเสร็จรับเงินต่างๆ ซึ่ง เอกสารเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประกอบการขอสินเชื่อได้
การเตรียมตัวก่อนขอสินเชื่อ
มีข้อมูลหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการขอสินเชื่อ แต่หลายคนมักจะไม่ได้ให้ธนาคาร ซึ่งการขอสินเชื่อควรเลือกให้เหมาะกับความต้องการ และการพิจารณาสินเชื่อจากธนาคาร จะดูจากความสามารถในการชำระหนี้ ของคุณ โดยพิจารณาจากรายได้ ภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายที่ผ่านมา ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการทางการเงินของคุณ ซึ่งคุณควรรู้ความต้องการเงินลงทุนที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อขอกู้จากธนาคารในวงเงินที่ไม่มากเกินความจำเป็น และอย่าลืมว่าเงินกู้นั้นมีดอกเบี้ยจ่ายที่จะเกิดขึ้นซึ่งถือเป็นภาระในระยะยาว ซึ่งการขอสินเชื่อที่ดีจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมก่อนเสมอ เพราะนอกเหนือจากเอกสารประกอบต่างๆ แล้ว สิ่งที่จำเป็นต้องทำคือ แผนทางการเงินที่จะนำไปใช้อย่างคร่าว ๆ บางคนต้องการนำเงินไปลงทุน ก็ต้องมีแผนธุรกิจเล็กๆ เพื่อสร้างเป็นรายได้เสริม และต้องรู้ว่าคุณเองต้องการเงินเท่าไหร่ และมีรายได้โดยประมาณต่อปีเป็นเท่าไหร่ และสามารถใช้หลัก ประกันอะไรได้บ้าง เมื่อประเมินจากเงื่อนไขของธนาคารแล้ว ลองดูว่าคุณจะได้วงเงินสักเท่าไหร่ หากไม่พอจะมีแผนทำอย่างไรต่อไป และสามารถชำระคืนได้หรือไม่ และจะคืนภายในกี่ปี คำถามเหล่านี้จะช่วยในเรื่องของการเตรียมพร้อมก่อนดำเนินการทำเรื่องขอสินเชื่อ
หลักเกณฑ์เบื้องต้น แบบที่เป็นมาตรฐาน การขอสินเชื่อ
ต้องดูว่ารายได้ของคุณเป็นไปตามที่ทางธนาคารกำหนดไว้หรือไม่ เอาแบบที่ตรวจสอบได้เป็นระบบ ส่วนภาระหนี้ที่มีอยู่ สูงเกินกว่าเกณฑ์หรือไม่ ถ้าภาระหนี้ของคุณสูงอยู่แล้ว หากธนาคารยังจะปล่อยสินเชื่อ หรือบัตรกดเงินสดให้อีก ก็เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มภาระรายจ่ายให้แก่คุณมากกว่า และผลที่จะตามมาก็คือคุณจะไม่สามารถชำระค่างวดคืนให้ทางธนาคารได้ แม้จะมีเงินหมุนจากหลายทาง แต่เชื่อว่าอาจจะไม่ได้เต็มที่ และอาจจะทำให้ติดแบลคลิสต์ จนถึงขั้นไม่ยอมจ่าย ซึ่งระเบียบวินัยทางการเงิน จะต้องมีและต้องให้ความสำคัญในการชำระค่างวดตามระยะเวลาที่ตกลงไว้กับทางธนาคาร บางครั้งการจ่ายช้ากว่ากำหนดอาจทำให้ภาพลักษณ์เสียได้ และมีผลกับการขอสินเชื่อใหม่แน่นอน
การสมัครสินเชื่อครั้งใหม่ให้ผ่าน
ข้อมูลในใบสมัคร จะต้องเตรียมเอกสารสำหรับยื่นเรื่อง และเตรียมข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบแล้ว ดูว่ามีข้อมูลตรงกันหรือไม่ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบสำคัญมาก หากคุณลูกค้าประเมินด้วยตนเองแล้วว่า ผ่านหลักเกณฑ์แน่นอน ก็ลองดูรายละเอียดปลีกย่อยกันอีก ซึ่งถือว่ามีส่วนสำคัญมาก ยิ่งหากคุณเคยมีปัญหาบางอย่าง เกี่ยวกับการชำระเงิน หรือผิดเงื่อนไขกับทางธนาคาร จนอาจทำให้ถูกปิดบัญชี แต่เมื่อเคลียร์ทุกอย่างจบแล้วควรทิ้งระยะเวลาเอาไว้อย่างน้อย 3 ปี และเมื่อเคลียร์ยอดทุกอย่างจบแล้วหรือเกิน 3 ปีแล้ว หากต้องการจะสมัครใหม่ก็ไม่ควรกลับไปสมัครกับสถาบันการเงินเดิมๆ อีก เพราะเกือบ 100%จะไม่ได้รับการอนุมัติ รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในเครือของธนาคารนั้น ๆ ด้วย โดยเฉพาะบัตรเครดิต, สินเชื่อ, บัตรกดเงินสด
สมัครสินเชื่อได้ง่ายจริงหรือ ?
อย่าลืมว่าประวัติการชำระจะมีผลต่อการสมัครใหม่ค่อนข้างสูง เน้นว่าควรชำระให้ตรงเวลา หากต้องการสมัครขอสินเชื่อใหม่ เดือนล่าสุดพยายามชำระให้ตรงทั้งหมด แล้วรอสมัครในรอบเดือนถัดไปซึ่งการนับเวลาตรงนี้ อาจช่วยแก้ปัญหาและไม่ทำให้เสียประวัติอย่างแน่นอน ให้คุณหลีกเลี่ยง เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ที่แนะนำให้คุณสำหรับการตกแต่งข้อมูล หรือเอกสาร แล้วมาทำการรับรองผลว่าจะได้รับการอนุมัติแน่นอน อย่าลืมว่าอย่างไรเสีย เจ้าหน้าที่ธนาคาร ก็จะมีวิธีตรวจสอบข้อมูล จากหน้าใบสมัคร และเอกสาร ฯลฯ หากพบว่าลูกค้ามีการให้ข้อมูลไม่ตรง จะทำให้ถูกลดความน่าเชื่อถือทันที ควรให้ข้อมูลแบบตรงไปตรงมาดีกว่า ส่วนหนึ่งของการสมัครไม่ผ่านก็เพราะว่าแต่งเอกสาร หรือกรอกข้อมูลไม่ตรงตามความจริง
สินเชื่อแบบไหนที่อนุมัติง่ายที่สุด
การสมัครขอสินเชื่อ แต่ละธนาคารก็มีบางช่วงเวลาที่ปล่อยสินเชื่อง่ายขึ้น หรือมากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ นโยบาย หรือทาร์เก็ต และนโยบายในแต่ละช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งการอนุมัติสินเชื่อส่วนใหญ่ทางธนาคารก็ต้องยึดหลักพื้นฐานในการกรองลูกค้าเบื้องต้น ลูกค้าบางคนจะรู้สึกว่าไม่เข้าใจกับหลักเกณฑ์ของธนาคารทีจะเอาอะไรมาวัด ซึ่งเกณฑ์การวัดมาตรฐานของการให้สินเชื่อต่างๆ ก็คือการคัดกรองด้วยระบบ scoring ซึ่งเป็นระบบที่ทุกธนาคารใช้ โดยจะเป็นเรื่องของสถิติ ข้อมูลของลูกค้าทั้งหมด ทุกจุดของการกรอกข้อมูลจะเป็นคะแนน ตัวเลข และมีการคำนวณซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ได้บันทึกข้อมูลตามหน้าใบสมัครทั้งหมดแล้ว ก็จะทำการกดประมวลผล ผลที่ออกมาก็มี 2 แบบ คือผ่านสกอร์ หรือ ตกสกอร์ และทุกธนาคารก็จะไม่บอกว่าตรงจุดไหนเป็นกี่คะแนน หรือข้อมูลจุดไหนควรจะใส่อะไร ทางที่ดีใส่ข้อมูลที่เป็นความจริงให้มากที่สุด
อ่านเพิ่มเติม : เมื่อมนุษย์เงินเดือน อยาก ซื้อบ้านหลังแรก