สภาพสังคมไทยปัจจุบันชอบรับเอากระแสทุนนิยมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แม้จะสุขสบายขึ้นแต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยขึ้นจนตัวเลขหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง มีอีกหลายครอบครัวที่สามีและภรรยาต้องทำงานทั้งคู่ต่างก็ช่วยกันหาเงินตัวเป็นเกลียว แต่กลับทำให้สถานะการเงินของครอบครัวไม่ดีขึ้น ซึ่งปัญหามาจากขาดการวางแผนชีวิตที่ดีโดยเฉพาะขาดการวางแผนการเงิน ซึ่งส่งผลทำให้โครงสร้างครอบครัวไม่แข็งแรง ทำให้ชีวิตคู่เริ่มไม่ราบรื่น
มีอีกหลายครอบครัวที่ประสบปัญหานี้ และเริ่มเข้าสู่วงจรทำงานหนักแลกเงิน ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อนดูแลสุขภาพ และเกิดความ เครียด บางคนก็ออกไปใช้เงินแก้เครียด บางคนก็กินเหล้าและชอบน้อยใจในชะตาชีวิตตัวเอง ซึ่งหากยังอยู่ในวงจรนี้ต่อไปเรื่อย ๆ การมีรายได้เพิ่มก็จะไม่ทำให้สถานะการเงินครอบครัวดีขึ้นแน่นอน นั่นเพราะขาดการวางแผนชีวิตและการเงินนั่นเอง
วางแผนการเงินเพื่อครอบครัว
การวางแผนการเงินเป็นการวางโครงสร้างที่แข็งแรงให้กับครอบครัว จะว่าไปมันก็ไม่ได้ง่ายมากแต่ก็ไม่ได้ยากเกินความตั้งใจ เพราะหลักใหญ่ ๆ ใจความอยู่ที่การตั้งเป้าหมายชัดเจน โดยวางแผนหาเงิน และวางแผนการใช้เงินเพื่อให้มีเงินออมเพิ่มขึ้น จัดพอร์ตทรัพย์สินให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพียงแค่ตั้งเป้าหมายการเงินให้ชัดเจน มีตัวเลขที่สำคัญ คือ ทรัพย์สินที่หลังจากหักหนี้สินแล้วต้องเป็นบวกและจะต้องเพิ่มขึ้นทุกปีเพื่อสะสมความมั่งคั่งให้ชีวิตมีความมั่นคง ส่วนมูลค่าทรัพย์สินเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอขึ้น ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกในครอบครัว ค่าใช้จ่ายต่อเดือนของสมาชิกแต่ละคน และระยะเวลาที่ต้องเลี้ยงดู โดยอาจจะต้องมีการตั้งเป้าหมายว่าจะมีทรัพย์สินหลักล้านบาทภายในอายุ 60 ปี
ทำงบการเงินเพื่อให้เห็นสถานะการเงิน
งบที่สำคัญ คือ งบดุลและงบรายได้ค่าใช้จ่าย ซึ่งงบดุลจะเป็นการแสดงรายการทรัพย์สินทั้งหมดที่มี และนำมาลบด้วยหนี้สินทั้งหมดที่มี ซึ่งในส่วนที่เหลือก็จะเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ให้ทำงบปีละครั้งเพราะช่วงสิ้นปีจะทำให้คุณเห็นการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินสุทธิในแต่ละปี ส่วนงบรายได้ค่าใช้จ่ายจะเป็นการแสดงรายการของรายได้ทั้งหมดที่มี แล้วให้นำมาลบด้วยรายจ่ายทั้งหมดที่มี ส่วนที่เหลือก็จะเป็นเงินออม ซึ่งในทางปฏิบัติหากมีนิสัยใช้เงินเก่งหรือเก็บเงินไม่ค่อยอยู่ ลองหักเป็นเงินออมทันทีเมื่อมีรายได้เข้ามาอย่างน้อย 10% จากนั้นค่อยนำเงินที่เหลือไปใช้จ่าย
จัดการรายได้และรายจ่าย
การวางแผนที่ดี ยังจะต้องทำการจัดการทรัพย์สินและหนี้สิน ซึ่งจุดสำคัญ ก็คือทรัพย์สินจะต้องเพิ่มมูลค่าเอาชนะเงินเฟ้อให้ได้ จึงควรมองหาลู่ทางการออมและการลงทุนเพื่อที่จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า อย่างบัญชีเงินฝากประจำที่มีดอกเบี้ยสูง พันธบัตรรัฐบาล ประกันชีวิต หุ้นกู้ กองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์ให้เช่า หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ สำหรับหนี้สินไม่ควรเกิน 2 เท่าของทรัพย์สิน เพราะหากจ่ายไม่ไหวจะกลายเป็นหนี้เสีย ซึ่งหากมีหนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่จะมาจากบ้าน รถยนต์ หรือบัตรเครดิต และสินเชื่อเงินสด คุณจึงไม่ควรสร้างหนี้เกินฐานะของครอบครัว
นอกจากนี้การจัดการรายได้และรายจ่าย จุดสำคัญ ก็คือ รายได้ต้องมากกว่ารายจ่ายพอสมควร และรายได้ของคุณจะต้องมีหลายทางเพื่อเป็นหลักประกันว่าหากรายได้หลักสะดุด ก็ยังคงมีรายได้จากทางอื่นเข้ามาเสริม เพื่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน โดยรายได้อาจแบ่งเป็น ราย ได้ที่มาจากเหงื่อแลกเงิน กับรายได้ที่มาจากทรัพย์สินสร้างเงิน ซึ่งรายได้แบบหลังคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญแต่ความจริงแล้วสำคัญมาก แม้วันที่หยุดทำงานประจำ ก็ยังมีรายได้จากทรัพย์สินสร้างเงิน ซึ่งจะยังคงมีอยู่ต่อไป ส่วนเรื่องรายจ่ายต้องแยกแยะให้ได้ว่าอะไร ว่าเป็นรายจ่ายจำเป็น หรือรายจ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งรายจ่ายฟุ่มเฟือยลดได้ก็จะดี แม้ว่าทำให้มีความสุขแต่อาจทุกข์ในระยะยาวก็เป็นได้
ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ในแต่ละเดือนคุณจะต้องเหลือเก็บก่อนค่อยเอาไปใช้ หรือ ว่าเหลือจ่ายก่อนค่อยเอาไปเก็บ ลองเลือกใช้สมการเศรษฐีดู คือ การนำรายได้ – เงินออม – เงินลงทุน ส่วนที่เหลือจะทำให้ได้ รายจ่าย โดยหลังหักเงินออมแล้ว ยังต้องแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับลงทุน เพื่อให้เงินทำงาน เงินทองจะได้งอกเงยยิ่งๆ ขึ้นไป ยิ่งคุณเริ่มต้นลงทุนเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งรวยเร็วขึ้นเท่านั้น คุณเริ่มต้นออมเงินและลงทุนตั้งแต่วันนี้ จะทำให้คุณมีโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าเร็วขึ้นมาอีก ซึ่งระยะเวลาการลงทุนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะต้องทำให้คุณคำนึงถึงสำหรับการได้รับผลตอบแทน เพราะยิ่งออมหรือลงทุนนานกว่า ก็จะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่มากกว่า และที่สำคัญต้องอย่าผลัดวันประกันพรุ่งสำหรับการบริหารจัดการเงิน
ที่มา :