เมื่อพูดถึงการวางแผนทางการเงิน คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจว่า การวางแผนทางการเงินที่ดีนั้นคือการบริหารจัดการและจัดสรรการใช้จ่ายเงินอย่างมีแบบแผน ด้วยการบริหารรายรับให้เพียงพอกับรายจ่ายและเหลือเพียงพอสำหรับการออม แม้รูปแบบการวางแผนทางการเงินแบบนี้จะดูมั่นคง มีความปลอดภัยสูงและประกันตนเองได้ในระดับหนึ่งว่า ชีวิตจะไม่พบกับปัญหาทางการเงิน ไม่เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว มีเงินเก็บและเหลือกินเหลือใช้ในบั่นปลายชีวิต แต่การออมเงินไว้นิ่ง ๆ ไม่ส่งผลให้เงินงอกเงย ที่สำคัญอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าเดิมหลายเท่าตัว เพราะหากวันหนึ่งค่าเงินถูกลง คุณมีอายุมากขึ้น ไม่สามารถหาเงินได้เท่าเดิมและเงินเก็บนั้นถูกนำมาใช้จ่ายเรื่อย ๆ โดยไม่มีหนทางเพิ่มยอดเงิน แบบนี้การลงทุนอะไรสักอย่างจึงอาจลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้
อ่านเพิ่มเติม : เริ่มต้นลงทุนวันนี้ เพราะการไม่ลงทุนมีความเสี่ยงมากกว่า
1.วางแผนการเงินอย่างไรให้เสี่ยงน้อยที่สุด
การวางแผนทางการเงิน ถือเป็นหัวใจสำคัญของการลดความเสี่ยงทางการเงินทุกรูปแบบและเพิ่มความมั่นคงให้กับเงินออมที่คุณสะสมไว้ ซึ่งการวางแผนทางการเงินที่ดีนั้น ควรปลูกฝังนิสัยการออม การใช้จ่ายเงินที่ดีมาตั้งแต่เด็กและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยวางแผนจัดสรรเงินรายรับให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและกันเงินไว้ส่วนหนึ่งสำหรับเก็บออมเพื่อเป็นความมั่นคงในอนาคต ซึ่งหากใครยังไม่เคยวางแผนการใช้เงินมาก่อนเลย ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถเรียนรู้และสร้างแผนการเงินที่ดีได้ เพราะเพียงแค่คุณตัดสินใจเริ่มต้นวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้ การเงินของคุณก็มีโอกาสเสี่ยงน้อยลงและเพิ่มความมั่งคั่งได้เช่นกัน
“การออม” สร้างความมั่นคง แต่ยังมีความเสี่ยง
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการวางแผนการเงินที่ดีช่วยให้คุณมีความมั่นคงทางการเงินและการมีเงินออมช่วยให้คุณอุ่นใจได้ว่าในอนาคตจะมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายไม่ลำบาก แต่หลายคนยังมีความเข้าใจที่ผิดว่าการออมเงินมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการลงทุน ซึ่งหากใครยังมีความคิดแบบนี้อยู่ อาจต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติในเรื่องของความเสี่ยงทางการเงินเสียใหม่ เพราะแน่นอนว่าการออมเงินไว้มีความมั่นคงจริง แต่อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินที่อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอเมื่อเวลาผ่านพ้นไป ส่งผลให้เงินออมนั้นมีมูลค่าลดลงเรื่อย ๆ และอาจไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในบั่นปลายชีวิตตามที่คุณได้วางแผนไว้ ซึ่งยกตัวอย่างให้คุณเห็นภาพชัดเจน ดังนี้
เช่น ค่าอาหารในปัจจุบันราคา 30 บาทต่อมื้อ ใน 1 วัน คุณต้องจัดสรรเงินเป็นค่าอาหารโดยประมาณ 90 – 100 บาท ส่งผลให้คุณต้องเตรียมเงินไว้สำหรับค่าอาหารเป็นเงินประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหากค่าเงินเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี จากค่าอาหาร 30 บาทต่อมื้อ เป็น 35 บาท นั่นเท่ากับว่า ใน 1 วัน คุณต้องจัดสรรเงินสำหรับค่าอาหาร 100 – 110 บาท คิดเป็นรายเดือนโดยประมาณ 3,300 บาท
เห็นหรือไม่ว่าเงินออมของคุณถูกจ่ายเพิ่มจากที่คุณเคยคำนวณเอาไว้ ดังนั้นการลงทุนจึงเป็นหนทางลดความเสี่ยงทางการเงินที่ดีที่สุด ซึ่งหากคุณมีการบริหารจัดการการลงทุนที่ดี การลงทุนของคุณก็อาจให้ผลตอบแทนมากกว่าลดความเสี่ยง แต่ยังสร้างความมั่งคั่งอย่างไร้ขีดจำกัดในอนาคตได้อีกด้วย
2.เริ่มต้นวางแผนการเงินง่าย ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป
หากคุณยังไม่เคยวางแผนการเงินการก่อนเลย การเริ่มต้นวางแผนการเงินควรเริ่มต้นแบบง่าย ๆ และทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการสำรวจเป้าหมายของตนเอง ว่าอะไรบ้างคือเป้าหมายในชีวิตของคุณ ทั้งเป้าหมายทางการเงิน เป้าหมายแห่งความสำเร็จในชีวิตและเป้าหมายอื่น ๆ เพราะคุณต้องไม่ลืมว่าทุกสิ่งอย่างจำเป็นต้องใช้เงินทั้งสิ้น ดังนั้น เงินจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะหากการเงินไม่คล่องตัวและติดขัดอยู่ตลอดเวลา โอกาสที่เป้าหมายต่าง ๆ ในชีวิตของคุณจะล้มเหลวไม่เป็นท่าและไปไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้มีสูงมาก
หลังจากที่คุณกำหนดเป้าหมายของตนเองแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนในการสร้างแผนการเงิน ซึ่งการสร้างแผนการเงินที่ดีนั้น จำเป็นต้องสร้างและวางแผนให้ครอบคลุมทุกช่วงเวลาของชีวิต คือเริ่มต้นตั้งแต่วันที่คุณวางแผนการเงินไปจนกระทั่งถึงวันที่คุณเกษียณ ด้วยการกำหนดแผนการเงินทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาวเอาไว้ เพื่อให้พร้อมกับทุกการเปลี่ยนแปลงและทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ อย่างเช่น การแต่งงาน มีลูก การเป็นหนี้ ฯลฯ ดังนั้นในการวางแผนการเงินของคุณจึงควรมีแผนการเงินทั้งหมดนี้ ได้แก่
- แผนการเงินสร้างความมั่งคั่งและอิสระทางการเงิน
- แผนการเงินฉุกเฉินและเงินสำรอง
- แผนการเงินปกป้องความมั่งคั่ง
- แผนการเงินเพิ่มพูนความมั่งคั่ง
- แผนการเงินเพื่อการส่งมอบมรดก
โดยในแต่ละแผนการเงินเหล่านี้ ยังมีแผนการเงินย่อย ๆ อีกหลายแผนที่คุณต้องกำหนดขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมทุกช่วงเวลา อย่างเช่น ในแผนการเงินสร้างความมั่งคั่งและอิสระทางการเงิน ควรมีแผนเงินออม แผนใช้จ่ายเงิน และแผนหนี้สิน ซึ่งการวางแผนการเงินแต่ละแผนนั้นคุณควรวางแผนอย่างใจเย็น รอบคอบและทำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ควบคู่ไปด้วย อย่าวางแผนการเงินแบบเพ้อฝันและยากกินกว่าที่จะทำได้ อย่างเช่นมีเงินเดือน 20,000 บาท แต่ตั้งเป้าหมายในแผนเงินออมเอาไว้ว่าต้องเก็บเดือนละ 8,000 ซึ่งนั่นก็อาจมากเกินไปและทำให้การใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันติดขัดหรือไม่สะดวกเท่าที่ควรได้
จัดสรรการใช้จ่ายเงินอย่างเป็นระบบ
เมื่อเป้าหมายและแผนการเงินทั้งหมดของคุณถูกกำหนดขึ้นแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการจัดสรรการใช้จ่ายเงินอย่างเป็นระบบและทำให้ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ โดยในบางคนอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบทางการเงินใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เกิดระเบียบและวินัยที่ดีทางการเงิน ซึ่งนอกจากรูปแบบการเงินที่ต้องปรับเปลี่ยนแล้ว รูปแบบในการใช้จ่ายเงินที่มีความเสี่ยงทุกรูปแบบก็จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน
3.การวางแผนสู่ความมั่งคั่งและเป็นอิสระทางการเงินที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้
สำหรับการวางแผนสู่ความมั่งคั่งและเป็นอิสระทางการเงินนั้น แม้จะมีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบจนส่งผลให้การวางแผนการเงินและการปฏิบัติดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและเป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะไม่สามารถทำได้ ไม่สามารถเป็นเจ้าของความมั่งคั่งและอิสระทางการเงินได้ เพราะในความเป็นจริงแล้วเรื่องของเงิน ๆ ทอง ๆ ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราทุกคนต้องเข้าไปคลุกคลีทุกวันอยู่แล้ว ดังนั้น การก้าวสู่ความมั่งคั่งและอิสระทางการเงินจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ ขอเพียงให้ความสำคัญ เรียนรู้การวางแผนการเงินที่ดี รู้จักการจัดสรรเงินที่มีอยู่อย่างครอบคลุม ศึกษาทุกรูปแบบการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งและหลีกเลี่ยงทุกรูปแบบความเสี่ยงทางการเงิน โดยตั้งใจปฏิบัติตามแผนการเงินอย่างจริงจังและต่อเนื่องเท่านั้น
เปลี่ยนเงินออมสู่ความมั่งคั่งและความเป็นอิสระทางการเงิน
ในส่วนของการเปลี่ยนเงินออมสู่ความมั่งคั่งและความเป็นอิสระทางการเงินนั้น อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วว่า การออมเงินไม่ได้มีความมั่งคงสูงอย่างที่ทุกคนเข้าใจและอาจมีความเสี่ยงสูงมากกว่าการลงทุนเสียด้วยซ้ำ ส่งผลให้หลายคนเลือกที่จะมองหาโอกาสในการลงทุนเพื่อสร้างผลกำไรมากกว่าการปล่อยให้เงินออมอยู่นิ่ง ๆ แล้วค่าเงินลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา ซึ่งการลงทุนทุกประเภทจำเป็นต้องศึกษารูปแบบในการการลงทุน เพื่อทำความเข้าใจวิธีการลงทุน การสร้างผลกำไรและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะการศึกษารูปแบบในการลงทุนอย่างละเอียดนอกจากจะส่งผลดีต่อการลงทุนและโอกาสในการทำกำไรแล้ว ยังส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดกับตนเอง กับความสามารถทางการเงินและจำนวนเงินในการลงทุนอีกด้วย ช่วยให้การลงทุนนั้นมีความเสี่ยงลดลง สามารถสร้างความมั่งคั่งและอิสระทางการเงินได้อย่างแท้จริง
4.เลือกรูปแบบการลงทุนอย่างไรให้เหมาะสมกับตนเองและแผนการเงินที่วางไว้
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การเลือกรูปแบบในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดกับตนเองส่งผลดีทั้งในส่วนของการบริหารจัดการและลดความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการศึกษารูปแบบในการลงทุนทุกรูปแบบอย่างเข้าใจนั้น ถือเป็นหัวใจสำคัญและทุกคนไม่ควรมองข้ามหากเลือกที่จะสร้างความมั่งคั่งทางการเงินด้วยการลงทุน
5.เคล็ดลับลงทุนให้ประสบความสำเร็จ เปลี่ยนความเสี่ยงให้เป็นกำไรที่มั่งคั่ง
เคล็ดลับในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จนั้น มีหลายปัจจัยที่จำเป็นต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะในเรื่องของรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุดต่อโอกาสในการสร้างผลกำไรที่ดี ซึ่งสิ่งเดียวที่ปิดกั้นการเปลี่ยนเงินออมให้เป็นกำไรและความมั่งคั่ง คือการกลัวความเสี่ยง กลัวว่าลงทุนแล้วเงินจะสูญและอีกสารพัดความกลัวที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับคำแนะนำให้ลงทุนสร้างความมั่งคั่ง
อย่ากลัวการลงทุน เพราะการลงทุนไม่ยากอย่างที่คิด
เพราะถึงแม้ว่าการลงทุนทุกรูปแบบจะมีความเสี่ยง แต่การเรียนรู้การบริหารการเงินบนความเสี่ยงเพื่อสร้างผลกำไรนั้นเป็นเรื่องที่เราทุกคนสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังได้ ขอเพียงให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินที่ดี มีโอกาสเป็นไปได้ แล้วเลือกรูปแบบในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดกับตนเอง ด้วยการเริ่มต้นลงทุนโดยใช้เงินจำนวนไม่มาก เพื่อให้ทราบรูปแบบของการลงทุน ซึ่งการลงทุนด้วยเงินจำนวนไม่มากนั้น นอกจากจะช่วยลดความกลัวของเราแล้ว ยังช่วยให้เราได้เรียนรู้รูปแบบในการลงทุนนั้น ๆ และเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงมากกว่าการศึกษาเพียงย่างเดียวแล้วคิดว่ารูปแบบในการลงทุนนี้น่าจะเหมาะสมกับตนเองที่สุด และนี่คืออีกหนึ่งสาเหตุที่สำให้หลายคนลงทุนแล้วไม่ประสบความสำเร็จและเสี่ยงขาดทุนสูงมากนั่นเอง