ในปัจจุบันถือได้ว่าธุรกิจประกันภัยต่างๆ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนสนใจในเรื่องการเพิ่มและซื้อสวัสดิการต่างๆให้กับตัวเองและคนในครอบครัว ซึ่งประกันก็มีหลากหลายชนิด หลากหลายประเภท แต่ที่ได้รับความสนใจและความนิยมมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นประกันสุขภาพนั่นเอง กระแสข่าวของประกันมีทั้งดีและไม่ดี ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีกระแสข่าวกลโกงโฆษณาของบริษัทประกันภัย การร้องเรียนของประชาชนในการถูกเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทประกันภัย เป็นปัญหาที่มีกันอยู่เสมอ ทั้งกรณีโฆษณาชักจูงเกินจริง ไม่คุ้มครองตามที่ตกลงไว้ มีการจ่ายเงินประกันล่าช้า โดยเฉพาะกระแสการโฆษณา “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ” เรื่องต่างๆเหล่านี้จึงเป็นปัญหา เป็นข้อร้องเรียนที่ค้างคาใจคนที่ซื้อประกันไปแล้วและคนที่ยังไม่ได้ซื้อประกัน วันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆของประกันมาฝากกันค่ะ
ประกันภัยแบ่งอย่างไร
จริงแล้วประกันภัยนั้นมีการแบ่งประกันภัยนั้นมีการแบ่งอยู่ 2 ประเภท คือ ประกันความเสี่ยงกับประกันแบบสะสมทรัพย์ ทั้งสองอันนี้แตกต่างกันอย่างไร
1.ประกันความเสี่ยง คือ การประกันเงินคุ้มครองเหตุฉุกเฉินไม่คาดคิด หากไม่มีการเกิดภัยใดๆในช่วงเวลาที่ระบุในกรมธรรม์ ค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปก็จะเป็นรายได้ของบริษัท อย่างเช่น ประกันภัยรถ ประกันอัคคีภัย ประกันชีวิต และประกันสุขภาพ เป็นต้น
2.ประกันแบบสะสมทรัพย์ คือประกันที่จ่ายเงินไว้เป็นเงินสะสม คล้ายกับการฝากเงินโดยจะมีการคืนเงินบวกกับผลตอบแทนหลังครบกำหนดระยะเวลาตามกรมธรรม์ ซึ่งบริษัทประกันจำนำเงินที่เราจ่ายนี้ไปลงทุนเมื่อครบระยะเวลาก็จะคิดเงินปันผลให้กับสมาชิกตามระยะเวลา แต่การประกันในลักษณะนี้ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าประกันแบบความเสี่ยงมาก ซึ่งกว่าจะได้เงินสะสมก็ต้องต้องรอระยะเวลาหลายปีเช่น ส่งครบ 10 ปี 20ปี เป็นต้น
ด้วยข้อเด่นข้อด้อยของทั้ง 2 ประกันนี้ ทำให้บริษัทประกันเพิ่มเงื่อนไขอีกแบบหนึ่งคือการรวมประกันสองแบบไว้ด้วยกัน เช่น การรวมประกันชีวิตแบบเสี่ยงเข้ากับประกันแบบสะสมทรัพย์เพื่อให้มีการสะสมทรัพย์และได้รับการคุ้มครองอื่นๆด้วยเช่นอุบัติเหตุ หรือสุขภาพเป็นต้น ซึ่งผู้ซื้อประกันต้องจ่ายเพิ่มในประกันที่นำเอามารวม
แล้วส่วนใหญ่ประกันมักจะเกิดปัญหาตอนไหน
ส่วนใหญ่แล้วกรณีที่เกิดเป็นปัญหาข้อร้องเรียนของประกันมีหลายกรณี เริ่มแรกคือการโฆษณาเกินจริง หรือ บอกรายละเอียดข้อมูลกับผู้ซื้อประกันไม่ครบถ้วนนั่นเอง เช่น ประกันของผู้สูงอายุที่ในปัจจุบันมักจะโฆษณาว่าไม่ถามปัญหาสุขภาพซักคำ หรือประกันภัยผู้สูงอายุที่นำเสนอกรมธรรม์แบบวงเงินเอาประกันอุบัติเหตุที่ดูเหมือนวงเงินผลตอบแทนสูง แต่ในความเป็นจริงนั้นผู้สูงอายุมีอัตราเสียชีวิตจากอุบัติเหตุต่ำมาก ในขณะที่กรณีเสียชีวิตจากเจ็บป่วยก็อาจให้ผลตอบแทนต่ำกว่าหรืออาจให้ผลตอบแทนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เงื่อนไขเชิงเทคนิคแบบนี้ทำให้ผู้เอาประกันเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาฮอทฮิตนั้นคือปัญหาการร้องเรียนว่าตัวแทนขายประกันไม่ชี้แจงเงื่อนไขและค่าเบี้ยกรณีต่างๆ ให้ครบถ้วนหรือมีการโฆษณาเกินจริง พอมีปัญหาเกิดขึ้นก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครพูดจริงใครพูดเท็จ ดังนั้น ประชาชนผู้ที่จะเอาประกันจึงควรบันทึกรายละเอียดข้อมูลตัวแทนและเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ที่ตกลงกันไว้อย่างละเอียดและให้ตัวแทนลงนามไว้เป็นหลักฐาน เลือกตัวแทนที่ไว้ใจได้จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มากทีเดียว
หากเกิดเรื่องหรือมีกรณีร้องเรียนเกิดขึ้นต้องทำอย่างไร
บริษัทจะยึดถือสัญญาตามกรมธรรม์เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อได้รับกรมธรรม์ควรตรวจสอบรายละเอียดต่างอย่างละเอียด โดยเฉพาะกรมธรรม์ที่มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะเช่นกรมธรรม์ของประกันสุขภาพเป็น หากมีข้อสงสัยในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยสอบถามสายด่วนประกันภัย 1186 เพื่อให้คำแนะนำได้
ข้อควรระวังในการทำประกัน
การกรองรายละเอียดต่างๆแทนกัน นั้นสามารถทำได้ก็จริง แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะข้อมูลทางสุขภาพ หรือหากทำผู้เอากรมธรรม์ต้องตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลให้ถูกต้อง และอย่าลืมตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดข้อมูลสุขภาพที่แนบมาท้ายกรมธรรม์ด้วย โดยต้องคิดอยู่เสมอว่าข้อมูลที่ถูกต้องอาจทำให้เบี้ยประกันแพงขึ้นแต่ก็ดีกว่าส่งเบี้ยฟรีโดยไม่ได้รับผลตอบแทนอะไรเลย
หากเกิดปัญหาขึ้นมาต้องทำอย่างไร
หากมีปัญหาต่างๆ ข้อมูลที่ต้องการทราบ ผู้เอาประกันสามารถร้องเรียนสอบถามได้ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ได้ที่หมายเลข 1186 หรือที่สำนักงาน คปภ. ตรงข้ามศาลอาญารัชดา หรือที่สำนักงาน คปภ. เขตทั้ง 12 แห่ง ทั่วประเทศ คปภ. เป็นองค์กรที่กำกับดูแลและช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงและจัดการไกล่เกลี่ยกับบริษัทประกันที่มีปัญหา เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้ผู้เอาประกัน
อ่านเพิ่มเติม : อุทาหรณ์ซื้อประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ผ่านธนาคาร
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการทำประกันภัยไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการศึกษาข้อมูลและความละเอียดในการเซ็น ศึกษา เอกสาร เงื่อนไขต่างที่มีในกรมธรรม์ เพื่อรักษาสิทธิที่พึงได้จากการทำประกัน นอกจากนี้หากมีกรณีข้อพิพาท ข้อร้องเรียน ก็ยังคงมีหน่วยงานของรัฐที่คอยดูแลผลประโยชน์คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนอีกด้วย ขณะในอีกแง่หนึ่งการทำประกันก็ถือเป็นการสร้างความมั่นคงอย่างหนึ่งให้กับชีวิต ทั้งเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตอย่างประกันแบบสะสม หรือหลักประกันทางสุขภาพอย่างประกันสุขภาพ ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรพิจารณาตัวแทนประกันที่เชื่อถือได้ หลีกเลี่ยงการนำเสนอขายประกันที่มีลักษณะเกินจริง และต้องตรวจสอบเอกสารสัญญาต่างๆ ให้ถูกต้องครบถ้วน หากมีข้อสงสัยใดๆ อย่ารีรอให้สอบถามโดยทันที เพื่อความสบายใจของผู้เอาประกันและป้องกันการถูกโกง
อ้างอิง