ใครที่กำลังสงสัยว่าทำไมเดี๋ยวนี้ใครๆก็พูดถึงการลงทุนกัน โดยเฉพาะคนยุคใหม่ที่นิยมลงทุนในด้านต่างๆมากยิ่งขึ้นนั่นเอง แต่สำหรับที่ยังสงสัยว่าการลงทุนคืออะไร วีนนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนด้านต่างๆมาฝากกัน
การลงทุนคืออะไร การลงทุนคือการนำเงินที่เราได้เก็บสะสมนั้นไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยใช้การลงทุนต่างๆเช่น การลงทุนพันธบัตรรัฐบาล หรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะมี ความเสี่ยงที่สูงมากขึ้น
เหตุผลที่ทำไมเราต้องมีการลงทุน
โดยปกติทั่วไปนั้นแต่ละบุคคลจะมีการจัดสรรรายได้ที่เราได้มาในแต่ละเดือนนั้นแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ เพื่อใช้ในชีวิตก็คือ รายจ่ายเพื่อในชีวิตประจำวัน และ รายจ่ายเพื่อการออม รายจ่ายส่วนแรกนั้นเป็นการใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของบุคคลที่ตัวเราเองนั้นไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งที่บุคคลทำได้คือการจัดสรรรายได้ให้เหมาะสมเพียงพอต่อการดำเนินชีวิต และมีเหลือเพียงพอที่จะเป็นเงินออมไว้ใช้ในยามจำเป็นในภายภาคหน้านั่นเอง ซึ่งการลงทุนคือการทำอย่างไรให้เงินที่เราออมอยู่นั้นสามารถที่จะเพิ่มพูนขึ้นมาได้และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าของ การลงทุนคือการนำเอาทรัพย์สินที่บุคคลนั้นมีอยู่ ที่สะสมไว้ ที่กันไว้ เก็บไว้ ไปดำเนินการในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมานั้นช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งบุคคลยอมรับได้นั้นเอง การลงทุนนั้นแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
- การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีตัวตนและสามารถเห็นประโยชน์จากการใช้ได้อย่างชัดเจน
- การลงทุนในสินทรัพย์โดยที่ไม่เห็นประโยชน์การใช้ได้โดยชัดเจน
ซึ่งส่วนใหญ่การลงทุนที่เป็นที่นิยมนั้นมักจะเป็นการลงทุนด้านการเงิน เช่นการลงทุนตราสารหนี้ การลงทุนกองทุนต่างๆของภาครัฐ หรือแม้กระทั่งการลงทุนในหุ้นนั่นเอง
การลงทุนทางการเงิน คือ การลงทุนที่ผู้ลงทุนนั้นนำเงินที่มีอยู่ไปซื้อหลักทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต ตามเงื่อนไขของหลักทรัพย์ที่เราเลือกที่จะลงทุน ซึ่งผลรายได้หรือผลตอบแทนที่ได้มานั้นขึ้นอยู่กับสภาวะการของหลักทรัพย์ที่เราลงทุน ซึ่งแต่ละหลักทรัพย์จะมีความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกันไปซึ่ง วัตถุประสงค์ของการลงทุนทางการเงิน ส่วนใหญ่บุคคลจะได้รับผลตอบแทนของการลงทุนนั้นๆในรูปแบบของดอกเบี้ย เงินปันผล กำ ไรจากการซื้อขายหุ้น และสิทธิพิเศษอื่น ๆ
ทำอย่างไรเราถึงจะสามารถมีเงินในการนำมาลงทุน
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเงินที่จะนำมาลงทุนนั้นต้องเป็นเงินที่กันแยกออกจากค่าใช้จ่ายที่เรามีอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราเรียกกันว่าเงินออม การจะมีเงินออมเพื่อการลงทุนมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการรายได้ของแต่ละบุคคล
- การรู้จักควบคุมและทำงบประมาณ เราจะสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตของเงินที่เรากำหนดไว้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีการจัดการงบประมาณ เพื่อแยกเงินที่ไว้สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆเงินที่ใช้กันไว้สำหรับการออม นั้นจะสามารถทำให้คุณออมเงินได้จริงๆ เพราะฉะนั้นจึงควรควบคุมและทำงบประมาณให้ดี เพื่อจะได้จัดสรรเงินได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
- ใช้การออมโดยวิธีบังคับ หากคุณเป็นคนที่ไม่ไว้ใจตัวเองในการออม วิธีการบังคับตัวเองให้อดออมนั้นจะสามารถทำให้คุณมีเงินออมมากขึ้น วิธีบังคับนั้นเป็นอย่างไร วิธีบังคับก็คือการหักเงินผ่านบัญชีอัตโนมัติ หรือการหักเงินสะสมเข้ากองทุนสะสม หรือเงินสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานไว้ เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้ก็เหมาะกับคนที่ขาดวินัยในตัวเองเป็นอย่างมาก เพราะไม่สามารถออมด้วยตัวเองได้ จึงต้องใช้วิธีบังคับนั่นเอง
- เว้นรายจ่ายไม่จำเป็นเสียบ้าง อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถส่วนบุคคลที่จะสามารถตัดค่าใช้จ่ายรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกจากชีวิตได้อย่างไร ค่าใช้จ่ายที่ถูกคิดเหมาว่าไม่จำเป็น เช่น ค่าชอปปิ้ง ค่าดูหนัง ค่าท่องเที่ยวซึ่งเราต้องใช้วิจารณญาณในส่วนบุคคลว่าต้องการตัดรายจ่ายอันไหนทิ้งไปบ้างและการใช้ชีวิตของเราจะยังโอเคกับมันหรือไม่เป็นต้น เพื่อให้เราได้ลดร่ายจ่ายเพิ่มเงินออมมากขึ้นนั่นเอง
- การหารายได้พิเศษ หากเราเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีงานประจำทำอยู่แล้วและมีอาชีพเสริมที่ทำให้เรานั้นสามารถมีรายได้เพิ่มแล้วล่ะก็ การแยกเก็บเงินรายได้เสริมนั้นไว้เพื่อเก็บไว้เป็นเงินออมโดยที่เราไม่เอาเงินนั้นมารวมกับเงินรายรับประจำ กันไว้สำหรับการลงทุนการออมต่างๆ ก็จะทำให้เรานั้นมีเงินออมที่มากและรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่วิธีนี้จำเป็นจะต้องอาศัยวินัยในตัวเองและการจัดการเงินออมที่ค่อนข้างเป็นระเบียบวินัยนั่นเอง
เมื่อเรามีเงินออมแล้ว คราวนี้เราก็จะสามารถเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับเราได้ มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่นิยมเงินออมที่มีความเสี่ยงน้อยและต้องการความมั่นคงในการลงทุนค่อนข้างสูงก็จะลงทุนในพวกกองทุนตราสารหนี้ การทุน LTF และ RMS ต่างๆที่ส่วนใหญ่จะมาจากสถาบันการเงินและมีความเสี่ยงมากน้อยให้เลือก บางคนก็เลือกลงทุนกับการประกันชีวิตด้วยการออมเงิน แต่สำหรับบางคนก็เลือกที่จะนำเงินไปลงทุนกับการซื้อขายหุ้น ซึ่งมีความเสี่ยงสูง แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคลซึ่งทุกกองทุนมีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้นนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม : เลือกลงทุนแบบไหนดี ให้เหมาะสมกับตนเอง