ประกันสังคม เป็นการประกันความเป็นอยู่ของลูกจ้างและนายจ้างที่เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน หรือเนื้องาน หากคุณเป็นนายจ้างและปฏิบัติมิชอบกับลูกจ้าง โดยการบอกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุคุณก็ต้องเสียเงินค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง แต่หากลูกจ้างเป็นผู้ปฏิบัติมิชอบ อย่างขาดงาน หรือละทิ้งหน้าที่ไปเลยเป็นเวลา 3 วัน ทำให้งานเกิดความเสียหาย อย่างนี้นายจ้างอย่างคุณจะต้องทำอย่างไร
ในวันนี้ เราขออธิบายเกี่ยวกับ การบอกเลิกจ้าง ลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่ 3 วันโดยที่ไม่ติดต่อกับมาหายังนายจ้าง เป็นเหตุให้งานเสียหาย เมื่อคุณเป็นนายจ้างคุณจะต้องทำอย่างไร เมื่อต้องการบอกเลิกจ้าง
ตามกฎหมาย
ได้บอกไว้ว่า การละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งก็มีคดีหนึ่งที่เกี่ยวกับลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ นายจ้างเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆ บทสรุปจะเป็นอย่างไร ลองมาดูตามรายละเอียดด้างล่างนี้เลยค่ะ
โจทก์ (ลูกจ้าง)
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2550 จำเลยจ้างให้เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ทำหน้าที่ต้นเรือ ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 21,750 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกสิ้นเดือน ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิด และบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย โจทก์ทำงานกับจำเลยครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ่ายอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 65,250 บาท และมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 55 วัน เป็นเงิน 39,875 บาท แต่จำเลยไม่ยอมจ่าย
นอกจากนี้จำเลยยังค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 จำนวน 3,625 บาท ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 39,875 บาท ค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 3,625 บาทและค่าชดเชยจำนวน 65,250 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราตามฟ้องนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลย (นายจ้าง)
ทางจำเลยได้ให้การว่า จำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับจ้าง ขุด ลอกร่องน้ำ ซึ่งได้จ้างโจทก์ เป็นพนักงานของจำเลยในตำแหน่งต้นเรือ ทำหน้าที่อยู่บนเรือของจำเลย ได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท หากในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ควบคุมเรือขุดลอกร่องน้ำ โจทก์จะได้รับเบี้ยเลี้ยงจากการขุดร่องน้ำเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552 จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์กระทำผิดข้อบังคับ การทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง กล่าวคือ เมื่อประมาณต้นเดือนมกราคม 2551 จำเลยทำสัญญาจ้างเหมาขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำปัตตานี จังหวัดปัตตานี จำเลยมอบหมายให้ทำหน้าที่ปฏิบัติงานขุดลอกร่องน้ำ ซึ่งบนเรือดังกล่าว จะมีนายเรือ โจทก์ที่ทำหน้าที่ต้นเรือ ได้ปฏิบัติงานเสร็จตามสัญญาว่าจ้าง และเรือได้จอดทอดสมออยู่ในทะเล ซึ่งตามกฎระเบียบของการเดินเรือ ขณะที่เรือจอดทอดสมอในทะเล จะต้องมีนายเรือและต้นเรือ หรือนายเรือ หรือต้นเรือ คนใดคนหนึ่งประจำการอยู่บนเรือ เพื่อควบคุมเรืออยู่ตลอดเวลา แม้จะเป็นการจอดทอดสมออยู่ก็ตาม เพื่อมิให้เรือเกิดความเสียหาย หรือเกิดอันตรายใด ๆ กับลูกเรือ นายเรือ หรือต้นเรือจึงจำเป็นต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่บนเรือตลอดเวลา ระหว่างวันที่ 18 มกราคม ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นช่วงวันพักของนายเรือ ซึ่งโจทก์ทราบ เนื่องจากจำเลยได้ทำตารางวันพัก ให้กับพนักงานทุกคนได้รับทราบล่วงหน้าว่า ตำแหน่งใดบนเรือ จะได้พักช่วงระยะเวลาใด
แต่ปรากฎว่าช่วงเวลาพักของนายเรือ โจทก์ต้องปฏิบัติหน้าที่แทนนายเรือ ตลอดเวลาที่นายเรือไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ แต่โจทก์ก็ได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาติดต่อกัน 4 วัน เพื่อขึ้นฝั่งไปดื่มสุราจนเมาไม่ได้สติตลอดระยะเวลาที่ละทิ้งหน้าที่ต้นเรือ การละทิ้งหน้าที่ของโจทก์เป็นเวลาติดต่อกันกว่า 3 วัน โดยมิได้มีเหตุอันควรและมิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อน จึงถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับการทำงาน และถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรง สำหรับธุรกิจเดินเรือ ซึ่งระหว่างที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ อาจจะเกิดเหตุอันตรายใด ๆ กับเรือได้ และเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ก็จะไม่มีผู้สามารถที่จะสั่งการบนเรือได้ ความเสียหายทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นกับจำเลยอาจจะเป็นเงินกว่า 100 ล้านบาท การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่ง และทิ้งหน้าที่อันสำคัญของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรก การเลิกจ้างโจทก์จึงสามารถกระทำได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยมิจำต้องจ่างค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ ต่อมาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552 จำเลยแจ้งผลการสอบข้อเท็จจริง พร้อมทั้งมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์วันเดียวกัน และโจทก์รับทราบ สำหรับค่าจ้างของโจทย์ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 จำนวน 3,625 บาท จำเลยได้จ่ายให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
ทั้งนี้ หากแต่ทางโจทก์ไม่ยอม ขออุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ซึ่งผลสรุปก็คือทางศาลไม่รับวินิจฉัยคดีดังกล่าว ตามกฎหมายแล้วได้ระบุเอาไว้ว่า ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทรธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรค หนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์
บทสรุป ทางโจทก์ จะไม่ได้รับค่าชดเชยแต่อย่างใด เมื่อกระทำผิดข้อบังคับ โดยการละทิ้งหน้าที่เกินกว่า 3 วันทำการ อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นลูกจ้างก็ควรระมัดระวัง และปฏิบัติให้ตรงตามข้อบังคับ หากคุณกระทำความผิดข้อบังคับ ก็จะเป็นเหมือนกับคดีข้างต้น ซึ่งทั้งตกงาน และไม่ได้ค่าชดเชยใด ๆ เลยนั่นเอง
(อ้างอิงข้อมูล : คำพิพากษาฎีกาที่ 2159/57)