เป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้ไปเสียแล้วกับการติดตามสถานการณ์ การเงินในทุกวันนี้ เพราะไม่ว่าจะทำอะไร ต่างต้องมีการศึกษาและวางแผนการล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเสียหาย หรือความผิดพลาดได้ ทุกวันนี้ก้อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่าเศรษฐกิจทุกวันนี้ยังไม่ลงตัว มีหลายๆ ปัจจัยที่เป็นผลทำให้มีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา มีขึ้น มีลง ดังนั้นก่อนการลงทุน หรือต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่าควรดูแนวโน้มการเงินในอนาคตล่วงหน้า 2 เดือนถึง 1 ปีดีที่สุดค่ะ เพื่อความปลอดภัย
วันนี้สาระที่ต้องรู้ที่ทางเราได้นำมาฝากเป็นเรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ย ที่บอกได้เลยว่าต้องไม่พลาดที่จะอ่าน หรือทำการศึกษาไว้ เพื่อจะได้ทราบว่าอีก 2 ปีข้างหน้านั้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แนวโน้มเป็นอย่างไร เพื่อการปรับตัวและการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง และเข้าใกล้ความจริงมากที่สุด
จากที่ได้ทราบว่าพอคร่าวๆ เรื่องการปรับขึ้นของดอกเบี้ย ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น ยังเป็นยังไม่มีการปรับขึ้น แต่มีสัญญาณที่ส่งมาแล้วว่าในอนาคตอีก 2 ปีข้างหน้านั้นจะมีการปรับขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้เกิดขึ้นมาจากปัจจัยของเศรษฐกิจ เกี่ยวกับความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายใน หรือปัจจัยภายนอก
สำหรับเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ และมีผลกระทบหลายฝ่ายมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดหนี้สิน หรือดอกเบี้ยที่บานปลาย ด้วยสาเหตุเหล่านี้ หลายๆ ธนาคารทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือเฟด ยังคงตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยคงที่ คืออยู่ในระดับ 0.25% – 0.5% อย่างที่ได้ประชุมในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากมีการปรับขึ้นจาก 0 – 0.25% ตั้งแต่ปลายปี 2551 แม้ว่าจะไม่มีการปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แต่มันก็ไม่ได้ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้นมาได้เลย เนื่องจากการจ้างงานก็ยังคงตัว ไม่มีการปรับ หรือเพิ่มการจ้างงาน ทำให้หลายมุมมองมองออกไปว่ายากที่จะมีการขึ้นอดอกเบี้ยในอนาคต 2-3 เดือนข้างหน้า
นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด ได้กล่าวเกี่ยวกับมุมมองการขึ้น หรือปรับเพิ่มดอกเบี้ยว่า สำหรับการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น หากจะมีการปรับขึ้นนั้นมันไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หากอัตราการจ้างงานมีความแข็งแกร่ง มีการปรับเพิ่มขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดเจนเป็นตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ทางเฟดเอง จะมีนโยบายปรับเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นมา สำหรับไมเคิล แก็ปเพน ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา จากบาร์เคลยส์ สันนิษฐานว่าเฟดอาจจะมีการปรับดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายนนี้ ภายใต้เงื่อนไขของการว่าการจ้างงาน อยู่ในอัตราเฉลี่ยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมอยู่ที่ 150,000-175,000 ตำแหน่ง และมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้เป็นอย่างมากเลยค่ะ
ไม่เพียงเท่านี้นะคะ นางเยลเลนยังระบุให้เห็นภาพขึ้นมาอย่างชัดเจนอีกว่า การทำประชามติของอังกฤษที่ผ่านมานั้น เพื่อเป็นการตัดสินใจว่าจะออกจากสหภาพยุโรป หรือที่เรารู้จักกันว่า อียู หรือไม่ ซึ่งปัจจัยหลักที่นำมาปรกอบการตัดสินใจเหล่านี้ อาจมีผลกระทบต่อการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
จากที่กล่าวมาในเบื้องต้น เฟดเองมองออกเลยว่า สัญญาณของความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะยาวนั้น ไม่สามารถคาดการณ์ได้อีกต่อไป เนื่องจากจะมีการปรับเพิ่มดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ จากเพียงครั้งเดียวในปีที่ผ่านมา และแนวโน้มที่เฟดมองเห็น หากเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ อาจมีการปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.9% ของปลายปีนี้ ถ้าจะมีการเปลี่ยนก็คงจะไม่แตกต่างจากที่เป็นมามากมายเท่าไหร่นัก
อย่างไรก็ตามในปี 2560 และ 2561 อัตราการปรับดอกเบี้ยจะเหลือเพียงแค่ 3 ครั้งต่อปี จากเดิมที่มีการปรับเพิ่ม 4 ครั้งต่อปี และแนวโน้มดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 2.4% ในปลายปี 2561 อาจสูงถึง 3% และ 3.3% เลยทีเดียว
จากการแถลงการณ์ที่เราได้รวบรวมมาเพื่อการศึกษาในข้างต้น พอที่จะเป็นแนวทางในการจัดการและการวางแผนได้ในระดับหนี้ แต่เฟดเองยังมีข้อวิตกกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดอาจจะเกิดขึ้นไม่น้อย เกี่ยวกับการอัตราการว่างงานที่ลดลง แต่มันไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนะคะ เพราะอัตราการจ้างงานก็จะเท่าเดิม ซึ่งตรงกันข้ามกับการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
เฟดยังกังวลเพิ่มไปอีกว่าอัตราการว่างงานที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้านั้น อาจอยู่ที่ตัวเลข 4.7% ไปจนถึงสิ้นปี และอาจลดลงเหลือ 4.6% ในปลายปี 2560 ในขณะที่ การเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการปรับลงเล็กน้อยจาก เหลือ 2% จากที่ตั้งเป้าเอาไว้ 2.2% สำหรับปี 2559 และเหลือ 2% จากเป้า 2.1% ในปี 2560
สำหรับมุมมองที่แตกต่างกันออกไปนั้น ดอกเบี้ยในเดือนกันยายนนี้ มีโอกาสที่จะสูงกว่าในเดือนที่ผ่านๆ มา เนื่องจากการจ้างงานและเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว และอัตราการจ้างงานมีความแข็งแกร่ง