ใครหลายคนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ การออมเงินกับประกันสังคม ว่าในทุกเดือนที่ทางบริษัทได้หักเราไปนั้น นำเงินส่วนนั้นของเราไปใช้ทำอะไรบ้าง ทำไมถึงต้องหักทุกเดือนเพื่อเข้าประกันสังคมด้วย และอีกคำถามที่เมื่อยามชราภาพ เกษียณออกจากงานแล้ว คุณจะได้รับเงินคืนอย่างไร ได้เท่าไร หรือสามารถขอได้เวลาไหน วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอคืนเงินออมประกันสังคม ในยามเกษียณ ว่าทางประกันสังคมเขาคิดอย่างไร และคุณจะได้เท่าไร ลองดูรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้เลยค่ะ
หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข (กรณีบำนาญชราภาพ)
- คุณต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือน จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
สิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ
- เมื่อคุณจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ
- กรณีคุณจ่ายเงินสมทบ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตรา 5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน
ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ
- กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
- กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพ ถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือน ที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
- ผู้ประกันตน หรือทายาผู้มีสิทธิ จะต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อ และนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) หรือคุณสามารถยื่นขอรับทางไปรษณีย์ โดยคุณจำเป็นต้องเตรียมหลักฐานให้ครบถ้วน
- เมื่อคุณยื่นเอกสารครบแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบหลักฐานและพิจารณา
- สำนักงานประกันสังคมจะส่งหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้กับคุณภายหลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้น และทำการสั่งจ่ายตามจำนวนเงินที่คำนวณเรียบร้อยแล้ว
คุณสามารถเลือกให้ทางสำนักงานประกันสังคม จ่ายเป็นเงินสด หรือเช็ค โดยที่คุณมารับด้วยตัวเอง หรือจะมอบอำนาจให้กับบุคคลอื่นมารับแทนก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ เงินบำนาญชราภาพทางประกันสังคมจะจ่ายให้คุณเป็นรายเดือน และเงินบำเหน็จชราภาพทางประกันสังคมจะจ่ายให้คุณเพียงครั้งเดียว
ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน)
- กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน คุณจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับ จำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ
ยกตัวอย่าง ผู้ประกันตนมีอายุ 55 ปี (เงินเดือน 15,000 บาท หักประกันสังคม 2% เท่ากับ 300 บาท) และสิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน ประโยชน์ทดแทนที่คุณจะได้ก็เท่ากับ 300 x 10 = 3,000 บาท
- กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตน และนายจ้างนำส่งพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
ยกตัวอย่าง ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี สิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2558 เจ้าหน้าที่วินิจฉัยในวันเดียวกัน โดยมีรายการนำส่งเงินสมทบ กรณีชราภาพของผู้ประกันตนดังนี้
วิธีการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทน
หมายเหตุ : 11/12 หมายถึง ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบมาแค่ 11 เดือนภายใน 1 ปี
สรุปยอด คุณจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับ (29,600 + 3,395.27 = 32,995.27) เท่ากับว่า คุณได้รับผลตอบแทนทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 32,995.27 บาท
ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบ)
- กรณีชราภาพ จ่ายมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือนครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ยกตัวอย่าง 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 13,000 บาท
วิธีการคำนวณ : 13,000 x 20 / 100 = 2,600
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 2,600 บาท ไปจนตลอดชีวิต (การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ การนำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย มารวมกัน แล้วหารด้วย 60) คุณจะได้ค่าจ้างเฉลี่ย = ผลรวมของค่าจ้าง 60 เดือน จำนวนเดือน (60 เดือน)
- กรณีที่จ่ายเงิน สมทบเกิน 180 เดือนให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีก อัตรา 5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน เช่น จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 193 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 21.5% ของค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ยกตัวอย่าง หากคุณทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละเท่าใด และหากเสียชีวิตภายใน 5 ปี จะได้รับเงินหรือไม่อย่างไร
- ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ
= 15ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%
= 5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (ปรับเพิ่ม 1.5% x 5 ปี) = 7.5%
รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี = 20% + 7.5% เท่ากับ 27.5%
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน (15,000 x 27.5%) เท่ากับ 4,125 บาท ต่อเดือนจนตลอดชีวิต
- กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ เสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่า ของเงินบำนาญรายเดือน
วิธีการคำนวณ : 4,125 บาท x 10 เท่า ทายาทจะได้รับบำเหน็จเป็นเงิน 41,250 บาท
ดังนั้น คุณจะเห็นได้ว่าการที่คุณจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคม นั้นมิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่าง การทำงานมากมายแล้ว เมื่อคุณถึงวัยเกษียณก็ยังได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากประกันสังคมเพิ่มเติมอีก
หมายเหตุ : ข้อมูลการคำนวณเงินบำเหน็จ และเงินบำนาญข้างต้นเรานำมาจาก สำนักงานประกันสังคมโดยตรงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2559