บริษัทในปัจจุบัน มีแหล่งเงินทุนมาจาก 2 ทางหลักด้วยกัน นั่นก็คือ ทางด้าน “หนี้สิน (Liabilities) และเงินทุนจากหุ้นส่วน หรือส่วนของเจ้าของ (Shareholder’s equity) โดยทั้งสองอย่างนี้ ประกอบไปด้วย โครงสร้างทางการเงิน (Financial Structure) สำหรับส่วนของหนี้สินเราสามารถจำแนกออกมาได้ 2 ประเภทด้วยกัน คือ หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) และหนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-Current Liabilities)
หนี้สินหมุนเวียน
เป็นหนี้สินที่มีการกำหนดชำระภายในหนึ่งปี นับจากวันที่ในงบดุล (Balance Sheet) หรือหนี้สินที่บริษัทคาดว่าจะเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาของการดำเนินงานปกติ อย่างเช่น เจ้าหนี้การค้า เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ตั๋วเงินจ่าย เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่มีกำหนดชำระภายใน 1 ปี
หนี้สินไม่หมุนเวียน
เป็นหนี้สินที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเมื่อคุณซื้อสินค้าเข้ามาในบริษัท แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินออกไป เพียงเท่านั้น หนี้สินก็เกิดขึ้นกับ บัญชีของคุณแล้ว หนี้สินแบบนี้มีกำหนดชำระคืนเกิน 1 ปีขึ้นไป นับจากวันที่ในงบดุล โดยทั่วไปแล้วหนี้สินประเภทนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการลงทุนในธุรกิจระยะยาว เพราะจะถูกกู้มาเพื่อใช้ในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อขยายฐานกิจการ อย่างเช่น ขยายสาขา เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วหนี้สินจำพวกนี้มักจะอยู่ในลักษณะของเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งมีกำหนดชำระเงินต้นนานกว่า 1 ปี
สามารถจำแนกหนี้สินได้โดย
การที่คุณนำทรัพย์สินหมุนเวียน (Current Asset) ที่มีทั้งหมด มาหารด้วยหนี้สินหมุนเวียนทั้งหมด ซึ่งทางการเงินเรียกว่า “อัตราส่วนสภาพคล่อง” หรือ “อัตราส่วนหมุนเวียน” หากผลที่ได้สูง นั่นหมายความว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายเงินมาก แต่ถ้าผลที่ได้ต่ำ นั่นหมายความว่า บริษัทขาดสภาพคล่อง อาจจะต้องมีการหาเงินเร่งด่วนมาเพื่อชดใช้หนี้สินที่ถึงกำหนดต้องชำระใน 1 ปี
แต่หลายคนอาจจะมองว่า การมีหนี้สินไม่ใช่เรื่องดี ในทางบัญชี หรือทางการเงินมองว่า การมีหนี้สินเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว เมื่อคุณซื้อสินค้าเข้ามาในบริษัท แต่ทางบริษัทไม่สามารถจ่ายเงินออกไปในเวลานั้นได้ เพียงเท่านี้ ก็ถือว่าคุณเป็นหนี้แล้ว การมองหนี้ของนักวิเคราะห์การเงินส่วนใหญ่มองว่าการมีหนี้สิน จำนวนหนึ่งไว้ในบริษัท เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ในการดำเนินงานระยะยาวของบริษัท เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น
ดังนั้น คุณจึงอาจกล่าวได้ว่า ทั้งโครงสร้างทางการเงินนั้น ล้วนแต่มีต้นทุน เพราะนักลงทุนย่อมต้องการผลตอบแทนจากเงินลงทุนที่ได้มา ถ้าเป็นเงินกู้ ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับการกู้เงินก็คือ “ดอกเบี้ย (Interest)” เราเรียกกันว่า “ต้นทุนของหนี้สิน” หรือ “ต้นทุนเงินกู้” ในทางกลับกันเมื่อคุณต้องการให้นักลงทุนมาซื้อหุ้นในบริษัท ค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนที่จะดึงดูดให้นักลงทุนมาซื้อ ก็คือ “เงินปันผล (Dividend)” ซึ่งเราสามารถเรียกอีกชื่อว่า “ต้นทุนส่วนเจ้าของ” เมื่อทั้งสองส่วนมารวมกันจึงกลายเป็น “ต้นทุนทางการเงิน (Cost of Capital)” นั่นเอง
ทั้ง “ต้นทุนของหนี้สิน” และ “ต้นทุนส่วนของเจ้าของ” เป็นค่าใช้จ่ายที่ทางบริษัทจำเป็นต้องจ่ายทั้งในรูปของดอกเบี้ย และเงินปันผล เพื่อเป็นต้นทุนในการได้มาซึ่งเงินทุน
ความต่างระหว่างดอกเบี้ย กับ เงินปันผล
ยกตัวอย่างเช่นนอกจากนี้ การจ่ายเงินปันผลเป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน และเงินปันผลเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายไม่มีสิ้นสุด มองอีกด้านหนึ่งก็คือ ต้องจ่ายไปเรื่อย ๆ และถึงแม้จะนำอัตราดอกเบี้ย หรืออัตราเงินเฟ้อมาคิดลดแล้วก็ตาม ก็ยังทำให้ต้นทุนส่วนของเจ้าของนั้น สูงกว่าต้นทุนหนี้สิน
เงินกู้ 1,000,000 บาท ดอกเบี้ย 10% ครบกำหนดชำระใน 2 ปี นั่นหมายถึงคุณต้องจ่ายดอกเบี้ยเพียง 200,000 บาท และหากบริษัทขายหุ้นออกไป 1,000,000 บาท และจ่ายเงินปันผลปีละ 5% ผ่านไปเพียงแค่ 4 ปี บริษัทต้องจ่ายเงินไป 200,000 บาท นี่ยังไม่นับรวมถึงปีถัดไป ซึ่งต้องจ่ายอย่างไม่จบสิ้น เพื่อรักษาเงินของนักงทุนเอาไว้
คุณจะเห็นได้ว่า ทำไมบริษัทจึงจำเป็นต้องรักษาสมดุลของต้นทุนทางการเงิน ไม่ให้มีหนี้สินมากเกินไป เพราะจะเกิดอาการที่เรียกว่า “ขาดสภาพคล่อง” ได้ แต่คุณก็ไม่ควรมีส่วนของเจ้าของเพียงอย่างเดียว เพราะในระยะยาว ต้นทุนส่วนของเจ้าของจะมีอัตราที่สูงกว่า ต้นทุนหนี้สินอย่างมาก ดังนั้น บริษัทจึงควรรักษาระดับของทั้งสองอย่างให้ดี
อย่างไรก็ตาม การเป็นหนี้ ก็มีทั้งดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสถานการณ์ ไม่ว่าอย่างไร การที่คุณรู้จักบริหารหนี้ให้ดี สามารถปรับเปลี่ยนหมุนเวียน ให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มมากขึ้นได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตของคุณ ทั้งนี้ บริษัทจึงต้องมีหนี้ไว้ในบางส่วน เพื่อรักษาสมดุลให้กับสภาพคล่องทางการเงินภายในบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณเนื้อหาจาก http://incquity.com/articles/money-talk/why-you-should-be-debt