การวางแผนการเงิน ถือเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยให้การดำเนินชีวิตของเราให้สามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนในเรื่องของการฝากเงินในธนาคารเป็นประจำ การหาซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งการทำประกันชีวิต แต่มีอีกหนึ่งสิ่งที่คุณไม่ได้ใส่ใจ นั้นคือ ทุกการวางแผนย่อมต้องมี เป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันไป การมีเป้าหมายว่าคุณต้องการใช้เงินทำอะไรบ้าง หรือจะหาเงินออมเพิ่มได้อย่างไร หากคุณมีเป้าหมายก็สามารถช่วยให้ความฝันของคุณเป็นจริงได้อย่างแน่นอน
การวางแผนทางการเงิน ก็คือ การกำหนดเป้าหมาย หรือกำหนดสิ่งที่คุณต้องการก่อนอันดับแรก ซึ่งเป้าหมายนั้นอาจจะมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละคน บางคนอาจตั้งเป้าหมายว่า ในอนาคตต้องการซื้อบ้าน ซื้อรถใหม่ หรือต้องการเงินสักก้อนไว้ใช้ในการท่องเที่ยวพักผ่อน กับครอบครัว ไม่ว่าความฝันของคุณจะเป็นเช่นไร การตั้งเป้าหมายก็เพียงคุณเลือกสิ่งที่คุณต้องการและอยากได้มากที่สุด เป็นหลักของเป้าหมาย แล้วดำเนินขั้นตอนในการวางแผนทางการเงินขั้นต่อไปได้เลย
ขั้นตอนการวางแผนทางการเงิน
-
ตั้งเป้าหมาย
เป้าหมาย จะทำให้คุณเห็นถึงความต้องการของตัวเองอย่างชัดเจนขึ้น เป็นส่วนช่วยให้คุณสามารถคาดคะเนระยะเวลาที่คุณต้องการเก็บออม ลงทุน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ยังเป็นตัวกำหนดให้คุณรู้จักคิดคำนวณล่วงหน้า เกี่ยวกับการใช้เงิน หากคุณใช้เงินส่วนนี้ไปแล้ว อาจจะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายที่คุณวางไว้หรือไม่ ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้คุณมีวินัยในการเก็บออกมากขึ้น
นอกจากนี้ เราสามารถจำแนกเป้าหมายออกเป็น 2 แบบได้ดังนี้
- เป้าหมายระยะสั้น เป็นเพียงการวางแผนแบบสั้น ๆ ไม่เกิน 1 ปี เพราะหากคุณวางแผนเฉพาะระยะยาวเพียงอย่างเดียว อาจจะทำให้คุณเกิดอาการท้อ หรือยอมแพ้ ไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าต่อได้ ระยะเวลาที่นานเป็นตัวการที่ทำให้ใครหลายคนไม่สามารถไปถึงยังเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ ดังนั้น การตั้งเป้าหมายระยะสั้น ก็เหมือนกับการให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ กับความพยายามของตนเอง เป้าหมายระยะสั้น ก็คือ การไปท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ การเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้า ซื้อโทรศัพท์มือถือ หรือ การซื้อเครื่องประดับที่มีมูลค่า (อย่างทองคำ) เพียงเท่านี้ ก็ถือว่าคุณสามารถทำเป้าหมายในระยะสั้นสำเร็จแล้ว
- เป้าหมายระยะยาว ก็คือการที่คุณวางแผนทางการเงิน สำหรับสิ่งที่คุณต้องการในอนาคต อาจจะมีระยะเวลานานประมาณ 5 – 10 ปี หรือ 20 ปี ข้างหน้า เป้าหมายระยะยาวถือเป็นเป้าหมายหลักในการวางแผนทางการเงิน เนื่องจากความต้องการเหล่านั้น ต้องใช้เงินจำนวนมาก ถ้าคุณต้องการความสุขมากเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องการเงินเยอะเท่านั้น ดังนั้น คุณจึงต้องวางแผนเก็บออม หรือการลงที่รัดกุมมากขึ้นนั่นเอง เป้าหมายในระยะยาว ก็อย่างเช่น ความต้องการที่จะซื้อบ้าน ซื้อรถ แต่งงาน หรือค่าเล่าเรียนของบุตร สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก หากคุณไม่วางเป้าหมายไว้ คุณอาจจะไม่มีแรงผลักดันให้ก้าวไปสู่เป้าหมายที่คุณต้องเอาไว้ได้
-
ทำความเข้าใจ และสำรวจความต้องการ
อันดับ คือการยอมรับตัวเอง การรู้จักนิสัยทางการเงินของตัวเอง เงื่อนไข ข้อจำกัด ความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน หากคุณทราบและทำความเข้าใจแล้ว คุณก็สามารถปรับใช้ในการวางแผนทางการเงินได้ อย่างเช่น การออม การเลือกการลงทุนให้มีความเหมาะสม ถ้าหากคุณมีพื้นฐานทางการเงินไม่แน่นอน แต่เลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง คุณจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถนำไปแก้ไข หรือปรับปรุงได้ ในส่วนนี้
-
กำหนดระยะเวลา และเป้าหมายที่แน่นอน
ความชัดเจนในเรื่องของเป้าหมาย คุณก็จะสามารถกำหนดระยะเวลาในการเก็บออมเงินได้ การกำหนดเป้าหมายนั้น คุณต้องกำหนดจากความเป็นจริง ไม่ใช่ว่ากำหนดจากความคิดของคุณเอง อย่างเช่น ภายใน 3 ปี คุณจะมีบ้าน อย่างนี้ หากคุณมีเงินเก็บเพียงปีละ 24,000 บาทเท่านั้น เมื่อคคุณกำหนดไว้เพียง 3 ปี ก็มีเงินเพียง 72,000 บาท ซึ่งในความเป็นจริงไม่เพียงพอต่อราคาบ้านที่คุณต้องการซื้อ การกำหนดเป้าหมายแบบนี้ จึงไม่สามารถเป็นไปได้ จะทำให้เป้าหมายของคุณล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น การกำหนดเป้าหมาย และระยะเวลาที่ดีนั้น ต้องคำนึงถึง ว่าคุณต้องการอะไร อยากจะเป็นอยู่อย่างไร และคุณจะต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ ให้คุณลองเขียนรายการเหล่านี้ ออกมาดู โดยเป้าหมายที่เป็นไปได้ ให้มีความสมเหตุสมผลกัน คุณจึงจะไปถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้ อย่างเช่น หากคุณต้องการไปเที่ยวต่างประเทศ ต้องการใช้เงินประมาณ 100,000 บาท คุณต้องตั้งเป้าหมายว่า ใน 2 ปีนี้คุณจะบริหารเงินให้ได้มากกว่า 100,000 บาทโดยการเก็บเงินเดือนละ 5,000 บาท แต่ถ้าต้องการไปภายใน 1 ปี ก็อาจจะหาวิธีการลงทุน เพื่อเพิ่มผลกำไรให้มากขึ้นนั่นเอง
-
กำหนดสัดส่วน เพื่อใช้เงินอย่างเหมาะสม
เมื่อคุณมีเป้าหมาย คุณก็สามารถมองเห็นตัวเลขที่ต้องการเก็บออม แล้วคุณจะหาเงินจำนวนนั้นมาได้อย่างไร โดยพื้นฐานแล้ว สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือการจัดสัดส่วนรายรับ และรายจ่ายให้เหมาะสม โดยค่าใช้จ่ายอาจจะแบ่งเป็น “ค่าใช้จ่ายประจำ” อย่างเช่น อาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าห้องพัก เป็นต้น และอีกอย่างหนึ่งคือ “ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย” อย่างเช่น เสื้อผ้า ท่องเที่ยว อย่างนี้ ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น คุณสามารถตัดค่าใช้จ่ายเหล่านั้นออกได้เลย เมื่อคุณมีรายรับเข้ามา ก็ควรจะกันเงินไว้ใช้จ่ายประจำก่อน ส่วนรายจ่ายอื่น ๆ คุณก็สามารถเก็บออมไว้ใช้จ่ายทีหลังก็สามารถทำได้
-
ลงมือ และปรับแผน
การวางแผนทางการเงินที่ดี เพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถให้คุณไปถึงเป้าหมายได้ถ้าคุณไม่ลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้ คุณก็ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่คุณต้องการได้ แต่ถ้ามีการวางแผนการเงินที่ดี พร้อมกับลงมือทำก็จะทำให้คุณสามารถก้าวไปสู่เป้าหมายได้ และสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมก็จะทำให้คุณสามารถทำตามแผนที่คุณวางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการลงมือทำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการประสบความสำเร็จตามแผนที่คุณวางเอาไว้
-
สิ่งที่คุณต้องคำนึกถึงในการวางแผนเงิน มีดังนี้
การใช้จ่ายเงิน คุณต้องรู้ว่าควรจัดสรรเงินสำหรับการใช้จ่ายอย่างไร
การลงทุน เป็นเครื่องมือที่ทำให้เงินของคุณเพิ่มขึ้น การลงทุนที่ดีคุณควรศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อให้คุณได้รับผลตอบแทนสูงสุด
การเก็บออม เป็นพื้นฐานของความร่ำรวย เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า “ออมก่อน รวยกว่า” นั่นเอง
การบริหารหนี้ หากคุณต้องการก่อหนี้ ควรพิจารณาว่าหนี้ก้อนนี้จะทำให้คุณรวยในอนาคตหรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่ คุณก็ควรเลือกเป็นหนี้อย่างนี้ เพื่อให้คุณมีเงินออมเพิ่มมากขึ้น
บัตรเครดิต เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากบัตรเครดิตเป็นเพียงเครื่องมือทางการเงิน ที่ถือว่าเป็นการสร้างหนี้อย่างหนึ่ง โดยไม่จำเป็น หากคุณมีบัตรเครดิตหลายใบ จะทำให้คุณไม่สามารถออมเงินได้ตามแผนที่คุณวางไว้ได้
ภาษี คุณต้องมีการวางแผนทางภาษีให้ดี จะช่วยให้คุณสามารถประหยัดเงินค่าภาษีได้มาก และไม่ต้องกลัวปัญหาที่จะตามจากกรมสรรพากรอีกด้วย