การเรียนสายอาชีพ หรือ ระดับอาชีวะศึกษาถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญของเด็กๆหลายคน ยิ่งตอนนี้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคอาเซียนอย่างเต็มตัว ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี กลุ่มหนึ่งที่ถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญในการเคลื่อนย้ายนั่นก็คือ กลุ่มช่างที่มีความเฉพาะด้านต่างๆ รวมถึงภาครัฐก็สนับสนุนให้คนหันมาเรียนอาชีวะกันมากขึ้นด้วย แต่การเรียนอาชีวะเดี๋ยวนี้ต้องเตรียมจ่ายเงินอะไรบ้าง
การเรียนสายอาชีพ กำลังเป็นที่ต้องการ
การเรียนสายอาชีพต้องถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก สำหรับพ่อแม่ที่ต้องการจะสร้างอาชีพและรายได้ในอนาคตให้กับลูก เพราะสายอาชีพนี้ กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมากทั้งในตอนนี้และในอนาคตอันใกล้ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ของทางภาครัฐในการส่งเสริมให้เรียน
ค่าใช้จ่ายในการเรียนสายอาชีพ
การเรียนสายอาชีพนั้น โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มต้นที่ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) 3 ปี ต่อด้วย ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) อีก 2 ปี แต่ใครจะเรียนแค่ปวช. แล้วเข้าสู่โลกของการทำงานเลยก็ได้เหมือนกัน โดยค่าใช้จ่ายในการเรียนปวช. นี่ต้องบอกว่าไม่แพงเลย เทอมหนึ่งค่าเล่าเรียน อย่างแพงที่สุดที่สำรวจมาได้ก็คือ 5,000 บาท (อาจจะมีราคาสูงกว่านี้ ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เรียน และสถาบันที่เปิดสอน) ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายที่เรายกมาเป็นค่าเล่าเรียนของการเรียนแต่ละชั้นปี ตั้งแต่ ปวช.1-3 และ ปวส. 1-2
ต่อปวส. กับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น
หากเราเรียนจบวุฒิ ปวช. แล้วก็อาจจะเอาวุฒินี้ไปสมัครงานได้เลย แต่หากเราต้องการให้ลูกหลานเรามีทักษะที่มากขึ้น การเรียนต่อเนื่องในระดับ ปวส. ถือว่าดีทีเดียว เพราะจะได้มีความรู้ทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติในเชิงลึกมากขึ้น ประสบการณ์มากขึ้นด้วย แต่ค่าใช้จ่ายก็มากขึ้นตามไปด้วย ขึ้นอยู่กับสาขา สถาบันที่เรียน ช่วงเวลาที่เรียนภาคปกติหรือภาคพิเศษ(ราคาจะสูงกว่าเพราะเรียนตอนค่ำหรือเสาร์ อาทิตย์ การเข้าศึกษาต่อด้วยถ้าเรียนต่อเนื่องมาจากปวช.ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าการสมัครด้วยวุฒิ ม.6 ยกตัวอย่างเช่น วุฒิ ปวส. สาขาไฟฟ้าควบคุม
ปวส. 1 ภาคปกติ
จากราคาเรตนี้ ถ้าเลือกเรียนภาคพิเศษ ค่าใช้จ่ายโดยรวมจะขยับขึ้นไปอีกอยู่ที่ประมาณ 11,000 บาท
ปวส. 2 ภาคปกติก็จะมีค่าใช้จ่ายเหมือนปี 1 แต่เพิ่มค่าใช้จ่ายอื่นเข้าไปอีก สรุปตกเทอมละ 6,635 บาทเท่ากัน(ทั้งปวช. และ ม.6) สรุปค่าใช้จ่ายช่วงปวส.ทั้ง 4 เทอมดังนี้
6,550 + 6,550 + 6,635 + 6,635 = 26,370 บาท สำหรับปวช. ส่วน ม.6 ก็เพิ่มไปอีก 4,000 บาทก็ประมาณ 30,000 บาท
สรุปตั้งแต่เรียน ปวช.ไปจนถึงปวส. ต้องเสียค่าเทอมทั้งหมด 16,270 + 26,370 = 42,640 บาท ปัดเป็นตัวเลขกลมๆก็ได้ประมาณ 50,000 บาท อันนี้ไม่รวมค่าเสื้อผ้าเครื่องอุปกรณ์การเรียน และค่าใช้จ่ายประจำวันนะ ซึ่งหากพ่อแม่อยากให้ลูกเรียนอาชีวะก็ต้องเตรียมตัวเก็บเงินใส่กระปุกได้แล้ว
ลูกเรียนอาชีวะ เก็บไว้เท่าไรถึงจะพอ
จากที่เราลองคำนวณมาให้แล้ว หากรวมตั้งแต่ค่าเล่าเรียน ค่าเสื้อผ้า และค่าใช้จ่ายประจำวัน กว่าจะเรียนปวช. ไปจนจบปวส.ก็ประมาณ 5 ปี ลองทำเป็นตัวเลขกลมๆได้
- ค่าเล่าเรียนทั้งหมด 50,000 บาท
- ค่าเสื้อผ้า(5 ปีทุกชุด) 5,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายประจำวัน 200,000 บาท (ใช้สูตรคิดว่า ให้วันละ 200 บาท ไปโรงเรียน 10 เดือน ปิดเทอม 2 เดือน ไปโรงเรียนเดือนละ 20 วัน)
รวมทั้งหมด 255,000 บาท
จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะมาหนักไปที่ค่าใช้จ่ายประจำวัน แต่เชื่อว่าระดับอาชีวะ เรตนี้นะแต่อาจจะให้น้อยกว่านี้ก็ได้
พ่อแม่เก็บเงินเท่าไรอย่างไรดี
สำหรับเงินก้อนประมาณ 200,000 บาทนั้น หากเราเริ่มเก็บแต่เนิ่นๆน่าจะพอเลย เราคิดคำนวณมาให้เลือกแล้ว
- แผน A เงิน 255,000 บาท เก็บเงิน 7 ปี ตกเดือนละ 3,100 บาท
- แผน B เงิน 255,000 บาท เก็บเงิน 5 ปี ตกเดือนละ 4,250 บาท
หากใครเลือกแผนไหนก็สามารถแบ่งหน้าที่กันเก็บได้เลยระหว่างพ่อกับแม่ ว่าจะเริ่มเก็บคนละเท่าไร แต่เชื่อว่าถ้าตั้งใจเก็บจริงๆน่าจะทำได้แน่นอน ถ้าเป็นแผน A ก็คนละ 1,600 บาท เท่านั้นเอง
แต่การเรียนอาชีวะ นอกจากค่าเทอมจะไม่แพงมากแล้ว หากเราเลือกเรียนสาขาที่ตลาดต้องการแรงงาน อาจจะมีสิทธิ์ขอทุนการศึกษาทั้งแบบให้เปล่า หรือแบบมีภาระผูกผัน หรืออาจจะเข้าระบบกองทุนกู้ยืมก็ได้ มีทางเลือกเยอะแยะมาก แต่อย่างไรก็ดี พ่อแม่ก็ควรจะต้องมีทุนสำรองไว้ก่อน รู้อย่างนี้แล้วก็เริ่มเก็บเงินได้เลย