การขอสินเชื่อที่ดินเปล่า โดยเป็นที่ที่ยังไม่มีการก่อสร้างบ้านนั้นอาจดูว่าเป็นเรื่องยากสักหน่อย เพราะโดยปกติแล้วการขอสินเชื่อที่ดินเปล่า จากธนาคารนั้นผู้ขอสินเชื่อจะต้องขอกู้ซื้อพร้อมกับมีการปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงนั้นด้วย แต่การขอสินเชื่อที่ดินเปล่า ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถทำไม่ได้เลย เนื่องจากมีบางกรณีนั้นเราสามารถยื่นขอสินเชื่อที่ดินเปล่า ได้ ซึ่งสำหรับผู้ที่กำลังมองหาและอยากได้ที่ดินเปล่าไว้ครอบครองเป็นทรัพย์สิน ต้องมาติดตามดูกันว่ามีกรณีไหนบ้างที่จะขอสินเชื่อที่ดินเปล่าได้
การขอสินเชื่อที่ดินเปล่าเพื่อขยายพื้นที่บ้านเดิม ซึ่งกรณีนี้คือเราต้องการซื้อที่ดินเปล่าเพิ่ม เพื่อขยายที่อยู่อาศัยเดิมให้มีบริเวณกว้างขึ้น โดยที่ดินเปล่าที่จะขอสินเชื่อนั้นต้องมีพื้นที่ติดกับบ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ขอกู้ ยกตัวอย่าง เช่น การขอซื้อที่ดินเปล่าต่อจากเพื่อนบ้านซึ่งเป็นที่ดินที่มีเนื้อที่ดินติดกับบ้านเรา โดยกรณีนี้ผู้ขอกู้สามารถนำที่ดินแปลงดังกล่าวนั้นไปยื่นกู้ซื้อกับธนาคารได้เลย ทั้งนี้ทางธนาคารอาจจะมีการกำหนดเงื่อนไขสำหรับการกู้ ซึ่งอาจจะไม่ได้เหมือนกับการยื่นกู้ซื้อบ้านในกรณีปกติทั่วไป เพราะการขอสินเชื่อที่ดินเปล่านั้นจะกู้ได้วงเงินน้อยกว่าการขอสินเชื่อบ้าน และมีระยะเวลาการผ่อนที่สั้นกว่า เช่น ทางธนาคารอาจให้กู้ได้ไม่เกิน 70% ของราคาที่ได้จากการประเมินที่ดิน โดยมีระยะเวลาผ่อนสูงสุดไม่เกิน 10 ปี แต่หากใครที่มีแผนซื้อที่ดินเปล่าจากเพื่อนบ้านล่ะก็ ให้เตรียมเงินส่วนต่างจากการกู้ธนาคารเพราะการซื้อที่ดินเปล่าจะได้ไม่เต็มจำนวน เงินส่วนต่างนี้ต้องจ่ายให้กับผู้ขายในวันที่มีการโอนที่ดิน
อ่านเพิ่มเติม : ข้อคิด ก่อน กู้ซื้อที่ดินเปล่า
การซื้อที่ดินเปล่าจากลูกหนี้ของทางธนาคาร
ผู้ที่สนใจและต้องการขอสินเชื่อที่ดินเปล่า ที่เป็นหลักประกันของลูกหนี้ธนาคารก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยที่ดินเปล่าที่สามารถขอสินเชื่อที่ดินเปล่าได้นั้น มีดังนี้คือ การซื้อที่ดินเปล่าที่มีการประมูลเพื่อขายทอดตลาด โดยกรมบังคับคดี ซึ่งหากเป็นทรัพย์สินที่ติดจำนองอยู่กับธนาคาร ผู้ประมูลได้ก็สามารถยื่นกู้ขอสินเชื่อกับทางธนาคารนั้นได้เลย ซึ่งจะไม่ค่อยยุ่งยากสักเท่าไหร่ แต่ทั้งนี้การยื่นขอสินเชื่อไม่ว่ากรณีใด ก็ต้องคำนึงถึงความพร้อมของตนเองเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจากการหาเงินมาจ่ายสินเชื่อไม่ทันนั่นเอง
การซื้อที่ดินเปล่าที่เป็นทรัพย์สินรอการขายของทางธนาคาร
ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ทรัพย์สินที่รอการขายของธนาคารต่างๆ ที่สนใจได้เลย เพื่อที่จะเสนอราคาในการซื้อทรัพย์สิน และเมื่อธนาคารแจ้งผลว่าเราได้รับอนุมัติในการเสนอซื้อแล้ว ก็สามารถทำเรื่องเพื่อยื่นขอสินเชื่อที่ดินเปล่าดังกล่าวกับธนาคารได้เลย แต่ก็อย่างที่รู้กันดีว่า เมื่อยื่นขอสินเชื่อแล้ว ก็ต้องมั่นใจด้วยว่าจะสามารถปลดสินเชื่อได้ตามกำหนด และไม่เป้นปัญหาในภายหลัง
หลักประกันสำหรับการขอสินเชื่อที่ดินเปล่า
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้จะขอกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่าสงสัยว่าทางธนาคารมีการใช้หลักประกันใดจากลูกหนี้ที่ยื่นขอสินเชื่อที่ดินเปล่า โดยหลักประกันที่เป็นในส่วนของที่ดินเปล่าส่วนใหญ่นั้น จะมาจากลูกหนี้ที่ขอสินเชื่อประเภทสินเชื่อธุรกิจ เพราะที่ดินเปล่านั้นถึงแม้จะไม่สามารถขอกู้ซื้อได้ แต่ที่ดินเปล่าสามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันสำหรับการขอสินเชื่อทางธุรกิจได้ อาทิเช่น วงเงินที่เบิกเกินบัญชี หรือที่เรียกว่า O/D ดังนั้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป ถ้าเกิดว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ ณ ขณะนั้นได้เลย ก็จะมีการนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ตามขั้นตอน ตั้งแต่ตกลงการเจรจาเพื่อแก้ไขหนี้หรืออาจจะปรับโครงสร้างหนี้ ในที่สุดก็จะเป็นการยึดหลักทรัพย์ เพื่อนำไปประมูลขายทอดตลาดโดยกรมบังคับคดีต่อไป เพื่อขายหลักประกันที่มีและนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้
ถึงอย่างไรก็ตามแต่ แม้การขอสินเชื่อที่ดินเปล่าจะไม่ได้ระยะเวลาผ่อนยาวนานเหมือนกับการขอสินเชื่อบ้าน เช่นอาจจะผ่อนสินเชื่อที่ดินได้ไม่เกิน 10 ปี กรณีนี้จะทำให้ยอดผ่อนต่อเดือนนั้นค่อนข้างที่จะสูงกว่าการผ่อนสินเชื่อบ้านแบบปกติ โดยหากว่าใครที่กำลังคิดวางแผนที่จะกู้ซื้อที่ดินเปล่านั้น ก็ไม่ควรที่จะไปก่อหนี้เพิ่ม หรือต้องลดภาระหนี้ที่ผ่อนอยู่ให้หมด หรือน้อยลงก่อนเพื่อที่จะมีความสามารถในการชำระหนี้ก้อนใหม่ โดยปกตินั้นผู้กู้ควรมีภาระหนี้ผ่อนรวมทั้งหมดต่อเดือนต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ เพราะหากมีภาระหนี้ที่มากเกินไปก็อาจส่งผลต่อการใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพราะบางเดือนอาจมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล หรือเราอาจเจ็บป่วยทำให้ไม่มีรายได้เข้ามา ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็จะเป็นปัญหาในการผ่อนชำระ ซึ่งหากการผ่อนชำระรายเดือนที่มากเกินไปก็จะทำให้ผู้ผ่อนรู้สึกท้อและเกิดความเครียดกับภาระหนี้ที่มี