เรียกได้ว่าในปัจจุบันนี้ตามองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่จะมีการจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้พนักงานที่เป็นลูกจ้างได้มีเงินออมไว้ใช้หลังจากเกษียณอายุ หรือเมื่อออกจากงานไปแล้วหากมีเงินก้อนนี้ แม้จะไม่จะไม่มีรายได้จากทางอื่น และยังเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว ซึ่งลูกจ้างเองก็จะมีหน้าที่จ่ายเงินสะสม ส่วนนายจ้างจ่ายก็จะนำเงินสมทบที่ได้มาเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในจำนวนไม่น้อยกว่าที่ลูกจ้างที่จ่ายเงินสะสมแต่จะไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือน ซึ่งเงินก้อนนี้จะมีการบริหารโดยมืออาชีพเป็นการนำเงิน กองทุนไปทำการลงทุนในตราสารประเภทต่างๆ เพื่อนำไปสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม : ข้อควรรู้ เกี่ยวกับการคงเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้มาจากไหน??
เหล่ามนุษย์เงินเดือนคงทราบกันดีว่าเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการแบ่งออกเป็นเงินสะสม คือเงินในส่วนที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุน, เงินสมทบ คือส่วนที่นายจ้างจ่ายให้, ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ได้จากเงินสมทบ นั่นคือสิ่งที่งอกเงยจากที่ได้นำเงินไปทำการลงทุน ซึ่งต่างก็เป็นสิทธิของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และจะได้รับก็ต่อเมื่อสมาชิกของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งก็คือเมื่ออายุงานถึงเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งการมีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือได้ว่าเปรียบเสมือนการลงทุนที่คุณจะได้รับผลประโยชน์หลายทาง ซึ่งการที่คุณจ่ายเงินสะสมเข้าไปในเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยังมีนายจ้างที่จะต้องจัดการจ่ายเงินสมทบ เพื่อนำเม็ดเงินไปบริหารเพื่อที่จะทำให้เกิดผลตอบแทนเพิ่มขึ้น โดยเงินที่คุณจ่ายสะสมเข้าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกๆปี ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินบุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้อีกด้วยไม่เกินปีละ 300,000 บาทหรือสูงสุดไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง
วิธีจัดการกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เมื่อคุณจะต้องออกจากงานอาจจะเป็นเพราะวัยเกษียณอายุ หรือ ออกเพราะเหตุผลอื่นๆ คุณสามารถจัดการกับเงินกอง ทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วยการขอรับเงินกองทุนทั้งก้อนและถือได้ว่าเป็นการลาออกจากระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อีกด้วย แต่หากคุณยังไม่มีความจำเป็นที่จะรับเงินก้อนนี้ สามารถทำเรื่องขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนก็ได้เช่นกัน แต่ในกรณีที่คุณมีความต้องการที่จะรับเงินจากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งจำนวน นั่นคือคุณลาออกจากสมาชิกของเงิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเช่นกัน แต่ควรระวังด้วยว่าหากคุณได้ลาออกจากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยที่ยังไม่เข้าเงื่อนไขของการได้รับการยกเว้นภาษี คุณอาจจะเสียผลประโยชน์จากเงินสมทบที่จะได้รับแบบไม่เต็มจำนวน ส่วนเงินที่ได้รับจากกองทุนในส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสะสมหรือเงินสมทบ จะต้องถูกหักภาษีตามเงื่อนไขเรื่องสิทธิประ โยชน์ทางภาษีตามหลักของสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย
สิ่งที่ผู้ทำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอาจยังไม่ทราบ
เมื่อคุณลาออกจากการเป็นสมาชิกเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในแบบที่ยังไม่เข้าใจเงื่อนไข นอกจากจะถูกหักภาษีแล้วอย่าลืมตรวจสอบว่าเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ว่าจะเป็นเงินสมทบ, ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบ เข้าเงื่อนไขการได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ เพราะปกติเงินดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นภาษีก็ต่อเมื่อสมาชิกเงิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลาออกจากงานด้วยอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และจะต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือในกรณีที่มีการเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพเท่านั้น เพราะหากคุณไม่ได้เข้าเกณฑ์ดังกล่าว เงินกองทุนทั้ง 3 จำนวน อาจนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้บางส่วน กรณีที่คุณมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป แล้วลาออกจากงานแม้อายุอาจจะไม่ถึง 55 ปีก็ตาม โดยเป็นการหักค่าใช้จ่ายได้ 2 ส่วน ซึ่งส่วนที่เหลือหักค่าใช้จ่ายได้ครึ่งหนึ่ง และยังสามารถนำไปแยกยื่นภาษีได้โดยไม่ต้องนำไปรวมกับรายได้อื่นๆ เพื่อคำนวณภาษีอีก แต่หากคุณมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปีจะต้องนำเงินทั้ง 3 ส่วนไปรวมกับรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี ส่วนใครที่ไม่ประสงค์จะรับเงินก้อนนี้ และยังคงเก็บเงินไว้ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นการส่งเสริมให้คุณซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการออมอย่างต่อเนื่องโดยไม่ขาดช่วงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนงาน ทำให้มีการเปิดโอกาสให้กับคุณสามารถขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมต่อไปได้อีกตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประโยชน์จากการคงเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือจะทำให้อายุสมาชิกมีความต่อเนื่องหากมีการย้ายหรือเปลี่ยนงาน ยิ่งหากใครได้งานใหม่กับนายจ้างที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คุณสามารถขอให้โอนเงินจากกองทุนเดิมเพื่อไปเข้ากองทุนใหม่ได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรับเงินออกจากกองทุนภายในก่อนสิ้นระยะเวลา ซึ่งการคงเงิน ซึ่งจะช่วยให้คุณยังไม่ต้องมีภาระภาษี เพราะเงินที่ขอคงไว้ยังไม่ถือได้ว่าเป็นเงินได้ของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งข้อดีของการคงเงินไว้เพื่อสิทธิประโยชน์เพื่อลดหย่อนภาษีคือ สมาชิกที่ต้องการคงเงินต่อเพื่อรออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และจะต้องเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยเป็นไปตามเงื่อนไขของทางกรมสรรพากร ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีในส่วนของเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บางคนเมื่อออกจากงานเงินที่ได้รับจากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ได้อย่างแบบชิลๆ โดยไม่ต้องพึ่งลูกหลาน คนที่มีสิทธิ์แต่ไม่ยอมใช้สิทธิ์ก็เหมือนทิ้งโอกาสทองไปแบบน่าเสียดายจริงๆ