ชีวิตที่ดำเนินไม่โดยไม่มีเป้าหมายนั้น ถือเป็นการดำเนินชีวิตที่เสี่ยงอย่างมาก หรือแม้ว่าเราจะมีการวางแผนในการใช้ชีวิตแต่ละวันเป็นขั้นเป็นตอนอย่างรอบคอบดีแล้ว แต่อันตรายหรือความเจ็บป่วยก็จะมาเยี่ยมเยือนโดยที่เราไม่รู้เลยว่าจะมาเมื่อไหร่หรือเวลาใด เช่น ภรรยาต้องเข้ารับการผ่าตัด คุณแม่ป่วย รถยนต์ชนได้รับบาดเจ็บ ขโมยขึ้น นํ้าท่วมบ้าน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องใช้เงินดูแลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากสิ่งที่กล่าวข้างต้นหากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับคุณ คุณได้มีแผนการเพื่อรองรับกับเหตุการณ์เหล่านี้ดีพร้อมแล้วหรือยัง และการวางแผนป้องกันที่ดีที่สุดคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการวางแผนทำ ประกัน แม้ว่าคุณจะบอกว่าไม่จำเป็นหรอก มีเงินเก็บเยอะ แต่ในความเป็นจริงความคิดเช่นนี้ก็เสี่ยงเช่นกัน เพราะการทำ ประกัน ซึ่งจะเป็นเสมือนตัวช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยที่ผู้เอาประกันจะได้รับค่าชดเชยค่าเสียหายจากบริษัทที่เราได้ทำประกัน ทั้งนี้ ประโยชน์ของการทำประกันนอกจากจะได้รัการชดเชยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์แล้วนั้น จะยังจะสามารถช่วยให้ผู้ที่อยู่ข้างหลัง หรือครอบครัว ได้รับค่าชดเชยในกรณีที่ผู้นำครอบครัวสูญเสียชีวิตหรือพิการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และยังคงเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน หากคุณเกิดเจ็บป่วยและต้องเข้ารักษาในสถานพยาบาล ทางบริษัทประกันก็จะคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและชดเชยรายได้ในกรณีที่ต้องหยุดงานเป็นระยะเวลานาน นอกเหนือจากการทำประกันในรูปแบบของบุคคลตัวไปแล้ว สถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำประกันสำหรับลูกจ้างในบริษัทหรือโรงงาน เช่นหากเกิดเหตุอัคคีภัยหรือเกิดความสูญเสียต่ออาคารสำนำนักงาน ก็จะได้รับเงินค่าชดเชยตามวงเงินของกรมธรรม์ และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุในขณะปฎิบัติหน้าที่ก็จะได้รับค่าชดเชยและการดูแล
นอกเหนือจากการคุ้มครองทางร่างกายและตัวอาคารแล้วนั้น ประกัน ก็ยังมีประโยชน์ที่ช่วยสร้างความมั่นคงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากว่าบริษัทประกันจะเป็นผู้ที่นำเงินจากดอกเบี้ยประกันไปลงทุนในเศรษฐกิจอีกต่อหนึ่งให้มีความเติบโตมากขึ้นในฐานเศรษฐกิจ
เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทประกันมีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกัน ผู้ที่ต้องการจะทำประกันสามารถเลือกซื้อประกันตามความต้องการและเหมาะสมกับตัวเองได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือขั้นตอนและวิธีการเลือกซื้อ ประกัน อย่างไรให้ตรงกับความเหมาะสมของตนเอง
- ถามตัวเองว่าตอนนี้ตนเองอยู่ในสถานะที่มีความเสี่ยงด้านใดมากที่สุด เช่น หากคุณเป็นคนที่เดินทางบ่อยครั้ง อาจจะทำประกันที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุการเดินทาง หรือคุณเป็นบุคคลที่มีสุขภาพร่างกายที่ไม่ค่อยดีนัก มักจะป่วยบ่อยๆเวลาอากาศเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะเลือกซื้อประกันสุขภาพ นอกเหนือจากนั้นหากคุณประกอบธุรกิจ ก็อาจจะเลือกซื้อประกันสินเชื่อทางการค้าเป็นต้น
- เปรียบเทียบเบี้ยประกัน เนื่องจากแต่ละบริษัทประกันจะมีผลิตภัณฑ์ประกันที่เหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเงื่อนไขความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยที่แตกต่าง ผู้ที่ต้องการจะทำการซื้อประกันควรเลือกซื้อประกันที่มีเงื่อนไขเหมาะสมกับความต้องการของตนเองมากที่สุด รวมถึงเงื่อนไขต่างๆที่สามารถตอบโจทย์คุณได้ การเปรียบเทียบควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการซื้อประกันไม่ได้ซื้อครั้งเดียวแล้วจบ แต่มีระยะเวลาที่นานสำหรับความคุ้มครอง และผู้ซื้อประกัน ต้องนำส่งเบี้ยประกันทุกปีตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- เลือกซื้อประกันที่คุณสามารถชำระค่าเบี้ยประกันได้ตลอดระยะเวลาของสัญญากรมธรรม์ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ที่จะต้องสำรวจความพร้อมของตนเอง เพราะการซื้อกรมธรรม์จะต้องทำการส่งเบี้ยประกันแบบหลายเดือน ทุกครึ่งปี หรือทุกปี เป็นต้น ผู้ที่จะซื้อประกันก็ต้องทำการตรวจสอบศักยภาพของตนเองด้วยว่าสามารถที่จะแบกภาระส่งเบี้ยประกันได้จนครบสัญญาหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องส่งเบี้ยประกัน คุณมีเงินที่จำนส่งเบี้ยประกันหรือไม่ สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน
- นอกเหนือจากการเลือกประเภทประกันให้เหมาะสมกับตนเองแล้วนั้น ในกรณีที่ผู้ทำประกันได้ซื้อไว้แล้ว ก็ควรมั่นตรวจสอบและอ่านรายละเอียดประกันที่มีอยู่ เพื่อรักษาความคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่คุ้มครอง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงเบื้องต้นของประกันที่ต้องการให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการทำประกัน อย่าเบ้ปากเวลาที่มีคนมาขายประกันกับคุณ เพราะวันหนึ่งคุณอาจจะต้องใช้ แต่คุณกลับไม่มีประกันที่จะคุ้มครองคุณหรือช่วยเหลือค่าใช้จ่ายแทนคุณ อย่ามองข้ามประกันแม้ว่าคุณจะมีการวางแผนในชีวิตเป็นระเบียบดีแล้ว เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้แบบไม่ทันตั้งตัว