ในปัจจุบันผู้คนส่วนมากล้วนสนใจการลงทุนในกองทุนรวมกันมากขึ้น เพราะมักให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินในธนาคารแบบทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะกองทุนรวม 2 ประเภทที่ได้รับความนิยมมาก ซึ่งก็คือกองทุนรวม RMF และ LTF นั่นเอง ซึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้กองทุนทั้ง 2 ชนิดนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนั้นก็คือผลตอบแทนในการลดหย่อนภาษีนั่นเอง แต่การซื้อกองทุน RMF และ LTF นี้ก็ยังแอบแฝงไว้ด้วยความเสี่ยงในการลงทุน เพราะกองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้ก็มีมากมายหลายกองทุน และกองทุนแต่ละกองทุนนั้นก็ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันไปอีกด้วย โดยในแต่ละปีก็ยังมีกองทุนใหม่ ๆ ที่น่าสนใจให้ผู้ที่สนใจได้เลือกซื้อกันอีกด้วย
ดังนั้นการเลือกซื้อกองทุน LTF หรือ RMF ที่ให้ผลดีก็นับว่ามีความท้าทายต่อผู้ซื้อเป็นอย่างมาก ซึ่งในที่นี้จะขอสรุปคร่าว ๆ สัก 6 กองทุนดังนี้
-
KMSRMF
โดยผลประกอบการในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาสูงถึง 30.55% คิดเป็นค่าเฉลี่ยตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่ 29.69% ต่อปี เน้นการลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็กที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี มีสภาพคล่องทางการเงิน และมีแนวโน้มว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่โดยเป็นการคาดการณ์ในระยะยาว จึงเป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจอยากสร้างความมั่นคงในวัยเกษียณด้วยการลงทุนในหุ้น หรือผู้ที่ต้องการและหวังผลตอบแทนที่ดี และพร้อมรับความเสี่ยงในระดับที่สูง
(ที่มาของข้อมูล http://www.kasikornasset.com/Pages/kmsrmf.html วันที่ 30 ธ.ค. 59)
-
K20SLTF
กองทุนที่มีผลประกอบการในรอบปีที่ผ่านมาสูงถึง 18.36% คิดเป็นค่าเฉลี่ยตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่82% ต่อปี เน้นการลงทุนในหุ้นที่คัดสรรมาเป็นอย่างดีแล้วจำนวนไม่เกิน 20 บริษัท โดยจะคัดเลือกเฉพาะหุ้นที่มีความโดดเด่นด้านศักยภาพที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างโอกาสที่ดีในการรับผลตอบแทนที่ดีจากพอร์ตลงทุน ทั้งยังเป็นกองทุน LTF ที่มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ลงทุนจำนวนไม่เกิน 2 ครั้งต่อปีอีกด้วย โดยภาพรวมของผลประกอบการในกองทุนนี้ถือว่ามากกว่าเกณฑ์มาตรฐานมาตลอด 3 ปีอีกด้วย
(ที่มาของของข้อมูล http://www.kasikornasset.com/Pages/k20sltf.html วันที่ 30 ธ.ค. 59)
-
BBASICRMF
กองทุนที่มีผลประกอบการในรอบปีที่ผ่านมาสูงถึง 42% คิดเป็นค่าเฉลี่ยตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่ 6.80% ต่อปี จุดเด่นของกองทุนนี้ก็คือการลงทุนในหลักทรัพย์จากในหรือต่างประเทศ โดยเน้นลงทุนในกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจด้านปัจจัย 4 ทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ซึ่งมักเป็นหลักทรัพย์หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีโดยมีราคาต่ำกว่า Intrinsic Value หรือหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจสูง โดยกองทุนนี้จะเน้นลงทุนใน 3 กลุ่มธุรกิจใหญ่ ๆ คือเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าประเภทอุปโภคบริโภค อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ร่วมกับ 2 หมวดธุรกิจบริการคืองานด้านพาณิชย์และการแพทย์ โดยมีการลงทุนในหลักทรัพย์ตามที่ได้ดังกล่าวมาในข้างต้นนี้ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน
(ที่มาของข้อมูล http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/Documents/Site%20Documents/Mutual%20Funds/2015/BBASICRMF_SumProspectus.pdf วันที่ 30 ม.ค. 60)
-
PHATRA LTFD
กองทุนที่มีผลประกอบการในรอบปีที่ผ่านมาสูงถึง 46% คิดเป็นค่าเฉลี่ยตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่ 12.37% ต่อปี เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน หรือตราสารทุนต่าง ๆ ที่มูลค่าไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนในแต่ละรอบบัญชี กองทุนนี้ไม่มีนโยบายการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งตราสารหนี้ที่มีลักษณะการซื้อขายในรูปแบบสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง กองทุนอาจมีการกู้ยืมเงินหรือทำธุรกรรมขายโดยมีสัญญาซื้อคืนชัดเจน ซึ่งกองทุนนี้เป็นกองทุนรวมภายใต้การดูแลของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจการเงินของเกียรตินาคินภัทร อยู่ภายใต้การควบคุมและบริหารของบริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน)
(ที่มาของข้อมูล http://www.phatraasset.com/FundDetail วันที่ 30 ธ.ค. 59)
-
THDRMF
กองทุนที่มีผลประกอบการในรอบปีที่ผ่านมาสูงถึง 53% คิดเป็นค่าเฉลี่ยตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่ 20.95% ต่อปี โดยจะพิจารณาลงทุนในหุ้นถูกจัดอันดับในดัชนีของ SET High Dividend 30 Index เป็นหลัก โดยจำนวนหลักทรัพย์เฉลี่ยที่ลงทุนในรอบปี บัญชีไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนอื่น ๆ อาจลงทุนในตราสารทางการเงิน ตราสารหนี้อื่น ๆ ตลอดจนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น ๆ อีกด้วย
(ที่มาของข้อมูล https://www.tiscoasset.com/th/historicalnavs/init.action?navData.fundCode=THDRMF วันที่ 10 ก.พ. 60)
-
KFLTFEQ
กองทุนที่มีผลประกอบการในรอบปีที่ผ่านมาสูงถึง 95% คิดเป็นค่าเฉลี่ยตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่ 8.86% ต่อปี โดยมีนโยบายในการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในประเทศ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของสินทรัพย์กองทุน ส่วนที่เหลือจะนำไปลงทุนในตราสารหนี้ของภาครัฐ สถาบันทางการเงินต่าง ๆ บริษัทเอกชน หรือเงินฝากประเภทต่าง ๆ
(ที่มาของข้อมูล https://www.krungsriasset.com/th/FundDetail.html?fund=KFLTFEQ วันที่ 28 ก.พ. 60)
อ่านเพิ่มเติม : LTF/RMF ซื้ออย่างไรดี งานนี้มีคำตอบ
แม้ว่ากองทุน RMF และ LTF จะให้ผลตอบแทนที่ดีตั้งแต่เริ่มลงทุน เพราะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่เพื่อผลตอบแทนที่คุ้มค่าและได้ประโยชน์สูงที่สุดนั้น ผู้ลงทุนจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ของกองทุนที่สนใจให้ครบถ้วน ทั้งนโยบายในการลงทุน ระยะเวลาตั้งแต่เปิดกองทุนนั้นเป็นอย่างไร ผลตอบแทนหรือผลประกอบการในรอบที่ผ่าน ๆ มา ระดับความเสี่ยง นโยบายการจ่ายเงินปันผล รวมทั้งรายละเอียดของบริษัทที่กองทุนได้ลงทุนไป สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นรายละเอียดที่ต้องอ่านและศึกษาอย่างถี่ถ้วน สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสิทธิประโยชน์และผลกำไรที่ผู้ลงทุนจะได้รับ เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง เมื่อสนใจกองทุนใดก็ควรศึกษารายละเอียดในหนังสือชี้ชวนให้ดีก่อนตัดสินใจ และพิจารณาด้วยว่าตนเองมีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงในระดับที่กองทุนได้ระบุเอาไว้หรือไม่อีกด้วย