หลายคนก็ฝันอยากจะมีบ้าน มีรถ อยากจะปลดหนี้ แต่ทำยังไง รายรับกับรายจ่ายก็มักจะสวนทางกันอยู่เสมอหรือเปล่าคะ หรือรู้สึกว่าเงินที่เราใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้นไม่พอ จนต้องไปหยิบยืมเงินจากคนอื่น ๆ หรือต้องดึงเงินจากส่วนอื่น ๆ ที่เราตั้งใจจะเก็บสำรองเอาไว้หรือเปล่า จริง ๆ แล้วการออมเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงแค่เราต้องรู้จักประมาณค่าใช้จ่ายหรือบริหารจัดการใช้จ่ายเงินในแต่ละเดือนอย่างเหมาะสมให้ลงตัวกับชีวิตของเรามากกว่า ซึ่งเราขอแนะนำวิธีการแบ่งสัดส่วนเงินง่าย ๆ เป็นเคล็ดลับที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ รับรองว่าในแต่ละเดือน คุณจะต้องใช้จ่ายอย่างเพียงพอแน่นอน
สูตรที่ 1 : เงินเดือน – ค่าใช้จ่าย = เงินออม
วิธีแบ่งสัดส่วนเงินแบบแรกง่าย ๆ เลยก็คือ นำเงินเดือนหรือรายรับที่เราได้รับทั้งหมดในแต่ละเดือน หักจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือน ซึ่งเงินที่เหลือก็จะเป็นเงินออมของเรานั่นเอง
ตัวอย่าง นางสาวออมใจได้รับเงินเดือน 15,000 บาท มีค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน ดังนี้
ดังนั้น ออมใจจะมีเงินเหลือเพื่อการออมเงินเท่ากับ 15,000 – 6,620 = 8,380 บาท นั่นเอง แต่วิธีนี้เงินออมจะมากหรือน้อยนั้น จะขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละเดือนคุณจะมีรายจ่ายมากหรือน้อยแค่ไหนนั่นเอง ซึ่งวิธีนี้ถ้าหากคุณอยากมีเงินเหลือออมเยอะ ๆ ก็ต้องใช้วิธีประหยัดค่าใช้จ่ายในแต่ละวันนั่นเอง
สูตรที่ 2 : เงินเดือน – เงินออม = เงินที่ใช้จ่ายได้ในแต่ละเดือน
วิธีนี้จะเคร่งครัดการออมเงินมากกว่าวิธีแรก โดยเราจะแบ่งสัดส่วนเงินออมในแต่ละเดือนไว้จำนวนเท่า ๆ กันทุกเดือน และหักจากเงินเดือนหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เราได้รับ ซึ่งเงินที่เหลือจากการออมจะเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเรานั่นเอง
ตัวอย่าง นายรวยล้นฟ้าได้รับเงินเดือน 8,000 บาท รวยล้นฟ้าจะออมเงินโดยหักเงินออมที่จำนวน 1,500 บาท ทุกเดือน ดังนั้น รวยล้นฟ้าจะมีเงินเหลือใช้จ่ายเท่ากับ 8,000 – 1,500 = 6,500 บาท นั่นเอง
ซึ่งวิธีนี้จะมีประโยชน์ช่วยให้เรารู้ว่าในอนาคตเราจะมีเงินเก็บที่แน่นอนจำนวนเท่าไหร่ เช่น ออมเงิน 1,500 บาทต่อเดือน ภายใน 1 ปี เราจะมีเงินเก็บทั้งหมด 1,500 x 12 เดือน = 18,000 บาท นั่นเอง
สูตรที่ 3 : เงินเดือน – 20 % ของเงินออม = ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน
วิธีนี้จะคล้ายกับวิธีที่ 2 แต่ต่างกันที่วิธีนี้เราจะหักเปอร์เซ็นต์รายรับทั้งหมดของเงินออมแทน ซึ่งอาจจะไม่เท่ากันในแต่ละเดือนหากว่าคุณมีรายรับที่ไม่เท่ากัน ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เรามีเงินออมที่ชัดเจนขึ้นอีกด้วย
ตัวอย่าง นางเหรียญทองมีรายรับ 15,000 บาท 20 % ของเงินออมที่เราจะหักจากรายรับก็คือ
15,000 x 20/100 = 3,000 บาท
ซึ่งเมื่อเอาเงินเดือนหักจากเงินออมแล้ว นางเหรียญทองจะมีเงินเหลือพอเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน คือ 15,000 – 3,000 = 12,000 บาท ซึ่งหากเดือนหน้านางเหรียญทองมีรายรับมากกว่านี้ก็จะมีเงินออมที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ตัวอย่างเช่น
สูตรที่ 4 : เงินออม 20% รายจ่ายจำเป็น 45% รายจ่ายในชีวิตประจำวัน 35%
วิธีนี้จะทำให้เราวางแผนการออมเงินและการใช้ชีวิตในแต่ละเดือนได้อย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น โดยใช้วิธีหักเปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายในแต่ละส่วนอย่างชัดเจน ซึ่งวิธีจะทำให้เรารู้ว่าในแต่ละเดือนเราจะต้องมีเงินใช้จำนวนเท่าไหร่ และยังเป็นวิธีที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีรายจ่ายจำเป็นที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนอีกด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายจำเป็นอย่างเช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์ ค่าเช่าห้อง เป็นต้น
ตัวอย่าง นางสาวช่อเงินได้รับเงินเดือน 30,000 บาท ช่อเงินจะต้องแบ่งสัดส่วนเงิน ดังนี้
- เงินออม 20% ของเงินเดือน = 30,000 x 20/100 = 6,000 บาท
- รายจ่ายจำเป็น 45% ของเงินเดือน = 30,000 x 45/100 = 13,500 บาท
- รายจ่ายในชีวิตประจำวัน 35% ของเงินเดือน = 30,000 x 35/100 = 10,500 บาท
นอกจากนี้ ข้อดีของวิธีนี้คือ ช่วยให้เราวางแผนการใช้เงินอย่างเป็นสัดส่วนที่ทำให้เรารู้ว่าเรามีกำลังทรัพย์มากพอจะใช้จ่ายในส่วนนั้น ๆ หรือไม่ เช่น เราอยากมีรถ 1 คัน หากแบ่งเปอร์เซ็นต์ตามนี้แล้วนั้น เราจะสามารถผ่อนค่างวดรถได้หรือไม่ หากไม่ได้เราอาจจะต้องเพิ่มรายรับของเราให้มากขึ้นเพื่อให้เราบรรลุเป้าหมาย โดยที่เราไม่จำเป็นต้องดึงเงินออมมาใช้จ่ายแต่อย่างใด