หนุ่มสาวในเมืองใหญ่ คุยกันแต่เรื่องหุ้น เรื่องซื้อกองทุน และวางแผนการเงินแบบต่างๆ ซึ่งถือว่าดีแล้วที่สนใจเรื่องบริหารจัดการเงิน แล้วเด็กหนุ่มเด็กสาวต่างจังหวัดที่มีอาชีพเป็นของตนเองล่ะ พวกเขาจะมีการจัดการเงินจัดการความเสี่ยงอย่างไร แน่นอนว่าต้องมี เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยให้ครอบครัว เราจะเรียกแบบบ้านๆว่า กองกู้ กองกิจ และกองบุญ
ในต่างจังหวัด คนจะได้ยินชื่อกองทุนแบบต่างๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนกู้ยืมเพื่อการผลิต กองทุนสวัสดิการชุมชน กลุ่มออมทรัพย์แม่บ้าน กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นต้น กองทุนเหล่านี้จะมีกันอยู่ตามหมู่บ้าน ตำบล ที่ชาวบ้านจัดตั้งกันเอง และบางกองก็มีหน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุน กองทุนทั้งหลายเหล่านี้แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1 กองกู้
วัตถุประสงค์ก็มีไว้ให้สมาชิกมาขอกู้ จะนำไปซื้อเครื่องจักรเพื่อทำการผลิต ประกอบอาชีพต่างๆ อะไรก็ตามแต่ ก็จะมากู้กองทุนเหล่านี้ เช่น กองทุนหมู่บ้านที่มีอยู่ทั่วประเทศ หรือพวกกองทุนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร เพื่อการผลิต หรือกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ กองทุนเหล่านี้จะมีรูปแบบการจัดการกองทุน การปล่อยกู้โดยชุมชนเอง บางแห่งก็จะมีการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกด้วย เช่นให้ทุนเด็กที่เรียนดีในหมู่บ้าน มีสวัสดิการให้คนชรา จัดสวสัสดิการให้คนยากไร้เป็นต้น นับว่าสร้างความอุ่นใจให้ชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
2 กองกิจ
วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเมื่อสมาชิกได้เสียชีวิตลง รูปแบบคล้ายกับการออมทรัพย์ ชื่อกองทุนแบบนี้ก็เช่น กองทุนฌาปนกืจสงเคราะห์ ฌาปณกิจ อสม. หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นต้น รูปแบบก็คือสมาชิกจะส่งเงินให้กองทุนเพื่อเก็บออมไว้ ยามเมื่อมีการเสียชีวิตก็จะได้เงินก้อนนี้มาช่วยเหลือจุนเจือ บางกองก็มีหน่วยงานของรัฐจัดการและดูแล บางกองชาวบ้านก็จัดตั้งและบริหารกันเอง แต่ถ้าจะให้ดี ต้องเช็คด้วยว่ามีการจัดตั้งเป็ฯนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมาย
3 กองบุญ
เป็นกองทุนเพื่อสร้างสวัสดิการให้กับสมาชิกและชุมชน คล้ายกับประกันสังคมแต่แบบนี้ ชาวบ้านจะเรียกชื่อและบริหารจัดการกันเอง เช่น ถ้าใครคลอดลูกก็จะมีเงินทำขวัญลูก 500 บาท ใครเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล ก็จะได้เงินช่วยเหลือตืน 100 บาท บ้าง 200 บาทบ้างตามเงื่อนไขของกองทุน กองทุนแบบนี้ต่างกับกองทุนประกันชีวิตใหญ่ๆตรงที่ ขนาดกองทุนจะเล็กกว่ามาก เงินสมทบที่ส่งเข้ากองทุนก็น้อย เช่นปีละ 365 บาท ก็คือเก็บเงินไว้วันละ 1 บาท ก็จะได้สิทธิและสวัสดิการตามเงื่อนไข แม้จะมีมูลค่าเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี และจุนเจือชีวิตสำหรับคนในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี เรียกว่า เป็นกองทุนที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านมากที่สุด มีสวัสดิการตั้งแต่ เกิด เรียน แก่ เจ็บ ตาย นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
จะเห็นได้ว่า กองทุนแต่ละแบบก็ตอบสนองวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป หากเป็นหนุ่มสาว อยากมีทุนประกอบอาชีพ ไม่ต้องไปกู้ธนาคาร ลองปรึกษาที่กองทุนหมู่บ้านดู แน่นอนว่า คนกันเอง เห็นๆกันอยู่ในหมู่บ้าน หลักประกันไม่ต้อง หรือเงื่อนไขการกู้ต่างๆไม่มากมาย ไม่เป็นทางการ ก็เหมาะกับคนที่เริ่มต้นอะไรเล็กๆไปก่อน ที่สำคัญมากู้แล้วต้องนำมาชำระหนี้คืนด้วย เพราะถ้าเราไม่คืน กองทุนก็อยู่ไม่ได้ คนในกองทุนก็ไม่มีใครช่วยเหลือ ต้องไปหาแหล่งเงินดกู้อื่นที่ยุ่งยากกว่าและดอกเบี้ยกว่า หากใครมีพ่อแม่ที่แก่ชราก็สมัครกองทุนสวัสดิการ ยามเจ็บป่วย ก็จะได้มีเงินจากกองทุนมาช่วยเหลือจุนเจือ ซึ่งการส่งเงินสมทบไม่ได้มากมาย ใครๆก็ส่งได้ แต่ต้องยอมรับว่า สวัสดิการต่างๆก็ไม่ได้เลิศหรูเช่นกัน เพราะเป็นการทำกันโดยชาวบ้าน เพื่อชาวบ้านอย่างแท้จริง ไม่ได้หวังทำเพื่อความมั่งคั่งร่ำรวยอะไร จึงไม่ต้องเสนอสิ่งล่อตาล่อใจ หรือต้องให้จ่ายเบี้ยแพงๆ สรุปคือ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนใหญ่หรือกองทุนเล็กๆแบบชาวบ้าน การได้มีส่วนร่วมกับกองทุน เป็นสมาชิดกกองทุนนับเป็นสิ่งที่ดี ที่ช่วยให้เราจัดการเงินและจัดการความเสี่ยงได้มีประสิทธิภาพ เงินน้อยก็ทำอะไรเล็กๆ เงินมากก็ขยับขยายเข้าไปในวงเงินคุ้มครองและสวัสดิการที่ใหญ่ขึ้นได้ ขอเพียงให้มีการเริ่มต้นเข้าไปสมทบทุน เริ่มวงาแผนจัดการเงินก็ดีเยี่ยมแล้ว