“ต่อ พ.ร.บ. รถทุกปีมีประโยชน์หรือไม่ ?” หากคุณมีคำถามนี้ และกำลังสับสน ลองอ่านบทความนี้ เพราะเรามีคำตอบให้คุณ รับรองว่าอ่านไม่กี่นาทีรู้จัก พ.ร.บ. รถครบถ้วนราวกับเป็นกูรู !!
สำหรับ พ.ร.บ. หรือชื่อเต็มว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” บางครั้งจะถูกเรียกว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือประกันภัย พ.ร.บ. ชื่อบอกชัดเจนว่า ช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัย หมายความว่า ช่วยดูแลกรณีผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร เกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บ และเสียชีวิตนั้นเอง
ว่าแต่ว่า พ.ร.บ. มีประโยชน์อย่างไร อธิบายอีกครั้ง พ.ร.บ. เป็นประกันภาคบังคับพื้นฐานที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งคนขับ คนซ้อน (ผู้โดยสาร) รวมทั้งคู่กรณี ซึ่งจะคุ้มครองทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของ พ.ร.บ. สามารถแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
-
ความคุ้มครองแบบไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
พ.ร.บ. จะช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บตามจริงภายใต้วงเงินคุ้มครอง 30,000 บาท/คน หรือในกรณีที่เสียชีวิต พิการ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท/คน หากถามว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะต้องขอความคุ้มครองอย่างไร ?
เริ่มจากนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง สำหรับรถยนต์หรือจักรยานยนต์ที่มีประกันภัยภาคสมัครใจต้องโทรแจ้งเคลมกับเจ้าหน้าที่เพื่อบอกเหตุการ เมื่อพาคนเจ็บเดินทางไปโรงพยาบาล พ.ร.บ.จะช่วยคุ้มครองค่ารักษาเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยจ่ายตามจริง โดยโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะมีแผนกดูแลการแจ้งเคลมพ.ร.บ. สามารถแจ้งเคลมพ.ร.บ.ตามทะเบียนรถมอไซค์ หรือรถยนต์ของคุณ ซึ่งเราจะต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อเคลมค่ารักษาภายใน 180 วันนับจากวันเกิดเหตุ หรือประมาณ 6 เดือน หากสงสัยหรือสับสนลองโทรถามบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สายด่วน 1791 หรือโทร 02-1009191
2. ความคุ้มครองหลักจากรอพิสูจน์เสร็จแล้ว
อย่าเพิ่งสับสนหรือสงสัย ทบทวนอีกครั้ง !! อย่างที่เล่าเมื่อสักครู่ว่า พ.ร.บ.จะช่วยดูแลค่ารักษาเบื้องต้นอยู่ที่ 30,000 บาท/คน และจ่ายหากผู้ขับหรือผู้โดยสาร เสียชีวิตหรือพิการอยู่ที่ 35,000 บาท/คน เช่น ตาบอด, หูหนวก, เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด, สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์, เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว, เสียอวัยวะอื่นใด, จิตพิการอย่างติดตัว และทุพพลภาพอย่างถาวร
ทว่า พ.ร.บ. ยังช่วยคุ้มครองเพิ่ม หากพิสูจน์ได้ว่า อุบัติเหตุครั้งนี้เราเป็นฝ่ายถูกต้อง ! ซึ่งจะช่วยจ่ายค่าเสียหายส่วนเกินตามจริง
ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ ช่วยค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ ยังคงจ่ายตามจริงเช่นเคย ในวงเงินคุ้มครองเพิ่มสูงสุด 80,000 บาท พ.ร.บ. ยังพ่วงด้วยการดูแลหากเป็นเราฝ่ายถูกในอุบัติเหตุครั้งนี้จะได้รับค่าทำศพ 300,000 บาท และพ.ร.บ.ยังมีประโยชน์คือช่วยชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ ตามนี้
- นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท
อย่างไรก็ดี นี้เป็นประโยชน์เบื้องต้นของประกันภัยภาคบังคับของพ.ร.บ.รถยนต์และพ.ร.บ.จักรยานยนต์นั้นเอง นอกจากนี้ พ.ร.บ. ยังช่วยค่าชดเชยรายวัน 200 บาท กรณีฝ่ายถูกต้องรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท จะได้รับเงินชดเชยจาก พ.ร.บ.รวมกันไม่เกิน 20 วัน
ย้ำอีกทีว่า หากพิสูจน์พบคุณเป็นฝ่ายผิดจะได้รับความคุ้มครอง เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้นนะ
เอกสารที่เบิกเคลมความคุ้มครอง พ.ร.บ.
สำหรับหลักฐานที่ต้องใช้เบิกเคลม พ.ร.บ. เบื้องต้นกับ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด มีดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนรถ
- สำเนาทะเบียนบ้านทั้งของฝ่ายที่ถูกและผิด
- หน้าตาราง พ.ร.บ. รถยนต์และรถจักรยานยนต์
- บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เอกสารเพิ่มเติมกรณีบาดเจ็บ
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
- ใบรับรองแพทย์
กรณีเสียชีวิต
- สำเนามรณบัตร
- สำเนาบัตรประชาชนของทายาทในกรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ถ้ามี)
หลังจากยื่นเบิกเคลมแล้วเสร็จ เราจะได้รับเงินชดเชยภายใน 7 วันทำการล่ะ เป็นอย่างไร เข้าใจประโยชน์ของพ.ร.บ. มากขึ้นใช่ไหม ? สรุปกันอีกทีว่า พ.ร.บ.เป็นความคุ้มครองที่ช่วยซ่อม (รักษา) คนบาดเจ็บนั้นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก Frank.co.th